Author Topic: "Connected Health" เข้าถึงการรักษาด้วยเทคโนโลยี  (Read 1905 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

การมีสุขภาพแข็งแรงเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่สุดที่มนุษย์ บนโลกต้องการ แต่การเข้าถึงแหล่งรักษายังต้องอาศัยการเดินทางจากบ้านไปโรงพยาบาล

จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถรักษาตัวเองได้ทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการ

คอนเซ็ปต์ใหม่ในวงการแพทย์ที่กำลังพูดถึงกันมากคือ "connected health" เป็นแนวคิดในการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระบบสุขภาพแบบครบวงจร โดยต่อเชื่อมทุกบริการที่เกี่ยวข้องกับการบริการสุขภาพ ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงผู้รับบริการเข้าไว้ด้วยกัน ตั้งแต่ผู้ป่วย แพทย์ สถาบันวิจัย หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง บริษัทประกัน เป็นต้น ผ่านความสามารถทางเทคโนโลยี

องค์ประกอบที่เป็นจิ๊กซอว์สำคัญเพื่อก้าวไปสู่ connected health ประกอบด้วย โรงพยาบาล สถานพยาบาลในชนบท หน่วยงานที่กำกับดูแล เช่น กระทรวงเพื่อควบคุมมาตรฐานระบบ หน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูล เช่น คลังข้อมูลฟิล์มเอกซเรย์จากส่วนกลางที่ทุกโรงพยาบาล เข้าถึงได้ หน่วยวิจัยค้นคว้า และส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินค่ารักษา เช่น บริษัทประกัน

หากแนวความคิด connected health ประสบความสำเร็จ ผู้ป่วยสามารถได้รับบริการทางการแพทย์ได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์ ผนวกกับเทคโนโลยี 3 จี จะยิ่งทำให้การพัฒนาของระบบดังกล่าวชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะการรับส่งข้อมูลการรักษาแบบวิดีโอหรือการแชร์ข้อมูลระหว่างกันจะสะดวก รวดเร็วขึ้น ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง และมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจทางการแพทย์ได้

วงการแพทย์ในอีก 5-10 ปีข้างหน้าผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเดินไปโรงพยาบาลอีกต่อไป และการรักษาวินิจฉัยโรคจะเข้าสู่ "ยุคเสมือนจริง"

โมเดลนี้ได้รับการประยุกต์ใช้แล้วใน ต่างประเทศ โดยเฉพาะอเมริกา และยุโรป โดยโรงพยาบาลหลายแห่งเริ่มปรับปรุง ระบบการทำงานภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายธุรการ ห้องพยาบาล ไปจนถึงห้องจ่ายยา และการบริการผู้ป่วยให้ข้อมูลเชื่อมโยงถึงกันผ่านเครือข่ายไอพี เป็นการอำนวยความสะดวกในการรักษา และลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน

เช่น โรงพยาบาล Arras ที่ฝรั่งเศส ใช้โทรศัพท์ไอพีและระบบการทำงานแบบไร้สายติดตั้งตามศูนย์ของโรงพยาบาล 18 แห่ง เพื่อให้แพทย์และเจ้าหน้าที่เรียกข้อมูล แก้ไขข้อมูลได้ ไม่ว่าอยู่ที่ใดผ่านอุปกรณ์พกพา พีดีเอ โน้ตบุ๊ก

บางประเทศให้แพทย์จากส่วนกลาง รักษาหรือให้คำปรึกษาผ่านเครือข่ายไปยังคนไข้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลได้ เช่น ไทยใช้ในหมู่เกาะพะงันซึ่งเดิมมีแต่สาธารณสุขและพยาบาลเท่านั้น ได้ติดตั้งระบบเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อรับการรักษาผ่านวิดีโอจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

สำหรับในประเทศไทย โรงพยาบาลสมิติเวชเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่ทุ่มทุนกว่า 500 ล้านบาท พัฒนาระบบทั้ง 3 สาขาสู่ connected health โดยเฟสแรกพัฒนา discharge process หรือการจัดการระบบภายในของแพทย์ และผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้ข้อมูลภายในเชื่อมถึงกัน ย่นเวลาการดำเนินการของคนไข้ตั้งแต่รู้ว่าออกจากโรงพยาบาลได้จาก 2 ชั่วโมง เหลือ 15 นาที เช่น การจ่ายยา การคิดค่าบริการ การติดต่อประกัน

มีบริการ "ล่าม" ผ่านระบบเครือข่าย ประจำอยู่ที่ส่วนกลางทำหน้าที่แปลภาษากับคนไข้ชาวต่างชาติที่ใช้บริการของโรงแรม

ขณะเดียวกันโรงพยาบาลได้พัฒนา เชื่อมโยงข้อมูลกับโรงพยาบาลในเครือและโรงพยาบาลพาร์ตเนอร์ต่างๆ ด้วย

"ซิสโก้" รับหน้าที่ประสานความร่วมมือและให้ความรู้กับหน่วยกลางต่างๆ ทั้งฝั่ง ภาครัฐและเอกชน เช่น สภากาชาด สถานีอนามัย เพื่อขยายการบริการทางการแพทย์ไปยังพื้นที่ที่ห่างไกล โดยปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่อยู่ในขั้นตอนการศึกษาข้อมูลและรอดูผลสำเร็จของโรงพยาบาลที่ลงทุนระบบแล้ว

"วัตสัน ถิระภัทรพงศ์" ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจพาณิชย์ ซิสโก้ ประเทศไทย กล่าวว่า โรงพยาบาลที่ลงทุนพัฒนาระบบนี้ยังมีไม่กี่แห่ง ทั้งอยู่ในช่วงรอดูความสำเร็จของโรงพยาบาลอื่น ฝั่งบริษัทประกันและโรงพยาบาลก็ยังไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลเข้า หากัน ทำให้การพัฒนาระบบ connected health อยู่ในขั้นเริ่มต้น รวมถึงหน่วยงานกลางที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลยังไม่มี

ซึ่งผู้ที่จะเข้ามาเป็นเจ้าภาพที่แท้จริงในระยะเริ่มต้นอาจเป็นโรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่ลงทุนระบบ เพราะเป็นผู้ปฏิบัติและเห็นทิศทางที่ชัดเจนมากกว่าหน่วยงานอื่น หากรอกระทรวงหรือหน่วยงานภาครัฐเป็นแกนนำอย่างเดียวผลลัพธ์อาจเกิดขึ้นได้ช้า

ที่มา: matichon.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
2051 Views
Last post April 30, 2009, 11:35:23 AM
by Reporter
0 Replies
2363 Views
Last post June 21, 2010, 03:16:39 PM
by Nick
0 Replies
2390 Views
Last post June 24, 2010, 06:22:38 PM
by Nick
0 Replies
2347 Views
Last post July 01, 2010, 04:36:42 PM
by Nick
0 Replies
5001 Views
Last post July 16, 2010, 10:18:47 PM
by Nick
0 Replies
3504 Views
Last post July 16, 2010, 11:39:34 PM
by Nick
0 Replies
3027 Views
Last post August 07, 2010, 10:11:27 AM
by Nick
0 Replies
3682 Views
Last post September 20, 2010, 04:42:48 PM
by Nick
0 Replies
2913 Views
Last post September 27, 2010, 11:54:18 PM
by Nick
0 Replies
2384 Views
Last post October 06, 2010, 12:35:37 AM
by Nick