Author Topic: ฉลอง 20 ปีหัวพิมพ์ ไมโคร ปิเอโซ Epson เปิดตัว “WorkForce”  (Read 1356 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai






เอปสันเผยความภูมิใจในการพัฒนาหัวพิมพ์ ไมโคร ปิเอโซ มากว่า 20 ปี สามารถสร้างความแตกต่างและเพิ่มความโดดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์ พร้อมเปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ “WorkForce” ประกอบด้วยพรินเตอร์เชิงธุรกิจขนาดเล็ก พรินเตอร์อิงค์แท็งก์ และพรินเตอร์เพื่อการพิมพ์ผ้ารุ่นใหม่ นำเสนอความคุ้มค่าลงสู่ตลาด เผยจะยังคงใช้เทคโนโลยีนี้ในการพัฒนานวัตกรรมการพิมพ์ต่อไป และไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่ใช้งานทางด้านหมึกพิมพ์เท่านั้นแต่จะมุ่งไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมไปถึงการเปิดตลาดใหม่ทั้งเชิงพาณิชย์และเชิงอุตสาหกรรมอีกด้วย

นายโคอิจิ เอนโด ผู้อำนวยการบริหาร เอปสันเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หนึ่งในวิศวกรผู้คิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีหัวพิมพ์ ไมโคร ปิเอโซ กล่าวว่า เอปสันมีการพัฒนาเทคโนโลยีหัวพิมพ์ ไมโคร ปิเอโซ มากว่า 20 ปี และได้นำมาใช้กับเครื่องพรินเตอร์ทุกขนาดตั้งแต่ใหญ่สุดไปจนถึงเล็กสุด ไม่ว่าจะเป็นพรินเตอร์พิมพ์ภาพส่วนบุคคลขนาดเล็ก ไปจนถึงเครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ ที่ใช้ในระดับอุตสาหกรรม โดยจุดเด่นของ อิงค์เจ็ท พรินเตอร์ไมโคร ปิเอโซ ทำให้คุณภาพงานพิมพ์และความแม่นยำได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น อันเนื่องจากความสามารถในการฉีดพ่นหยดหมึกได้หลายขนาด ประหยัดพลังงานและทำให้สามารถใช้งานร่วมกับหมึกและกระดาษพิมพ์ได้หลากหลายขึ้น

       
       และที่สำคัญคือการนำหัวพิมพ์ใส่ไว้ในพรินเตอร์ แทนที่จะเป็นหมึกพิมพ์ ซึ่งช่วยให้สามารถจำหน่ายหมึกพิมพ์ได้ในราคาที่ถูกลง รวมทั้งหาซื้อและรีไซเคิลได้ง่ายกว่า ด้วยคุณสมบัติข้อนี้ยังทำให้ เอปสันสร้างสรรค์พรินเตอร์อิงค์แท็งก์ของตัวเองขึ้นมา โดยเครื่องพิมพ์ในกลุ่มแท็งก์นี้เอปสันตั้งใจจะเจาะกลุ่มโซโห และเอสเอ็มอี รวมไปถึงโฟกัสผู้บริโภคที่เน้นต้นทุนต่อแผ่นที่ถูกจริงๆโดยปัจจุบันเอปสันมีแท็งก์แท้ทั้งหมด 9 รุ่น
“ครบรอบ 20 ปีของเทคโนโลยีไมโคร ปิเอโซ เอปสันได้เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ “WorkForce” ซึ่งมีทั้งพรินเตอร์เชิงธุรกิจขนาดเล็ก พรินเตอร์อิงค์แท็งก์ และพรินเตอร์เพื่อการพิมพ์ผ้ารุ่นใหม่ โดยพรินเตอร์เหล่านี้มาพร้อมคุณสมบัติที่ดี ซึ่งเป็นผลจากการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ ทั้งยังเป็นเครื่องยืนยันถึงความก้าวหน้าและพัฒนาการของเทคโนโลยี ไมโคร ปิเอโซอีกด้วย”
       
       นายโคอิจิ กล่าวว่า นับจากนี้ไป เอปสันจะยังคงเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำเสนอต่อลูกค้าในทุกตลาด โดยมีหัวพิมพ์ไมโครปิเอโซเป็นเทคโนโลยีหัวใจสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการพิมพ์และคุณภาพงานที่ดีขึ้น ในขณะที่ค่าพิมพ์ต่อแผ่นและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมลดลงการต่อยอดของการพิมพ์ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งเทคโนโลยีของเอปสันยังสามารถจัดการกับของเหลวอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำหมึกอย่างเดียวอีกต่อไป และในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี ไมโคร ปิเอโซ ให้ใช้งานได้ในหลายอุตสาหกรรม

นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เพื่อเป็นการต่อยอดเทคโนโลยีการพิมพ์ดังกล่าว เอปสันได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่อีกหลายรุ่น อาทิ เอปสัน L550 คือพรินเตอร์ระบบอิงค์แท็งก์เครื่องแรกของเอปสัน ที่รวมเอาแฟ็กซ์ การเชื่อมต่อแบบอีเทอร์เน็ต และถาดป้อนกระดาษอัตโนมัติเข้าไว้ด้วยกัน สามารถรองรับงานพิมพ์ได้สูงถึง 30,000 แผ่น รองรับงานพิมพ์จำนวนมากช่วยให้สามารถพิมพ์งานจำนวนมากด้วยต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่นต่ำ โดยหมึกพิมพ์ชุดเริ่มต้นสีดำขนาดขวดละ 70 ml พิมพ์งานขาวดำได้ถึง 4,000 แผ่น ในขณะที่เซ็ตหมึกพิมพ์สี 3 ขวด ขนาดขวดละ 70 ml สามารถพิมพ์งานสีได้ถึง 6,500 แผ่นหรือหากเทียบราคาเพียง 6 สตางค์ต่องานพิมพ์ขาวดำ 1 แผ่น และ 11 สตางค์ต่องานพิมพ์สี 1 แผ่น

เอปสัน M100 และ M200 ซึ่งเป็นพรินเตอร์อิงค์แท็งก์ขาวดำ ถือเป็นตัวต่อยอดของเอปสัน L-series ซึ่งเป็นพรินเตอร์อิงค์แท็งก์สี โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มองค์กรได้มีทางเลือกที่ดีกว่าในการพิมพ์งานขาวดำ ที่คุณภาพเทียบเท่าเลเซอร์พรินเตอร์ในราคาใกล้เคียงกัน สามารถพิมพ์ด้วยความเร็วสูงเทียบเท่าเลเซอร์ที่ 15 ppm ซึ่งใกล้เคียงกับเลเซอร์พรินเตอร์ระดับล่าง ยิ่งกว่านั้นพรินเตอร์ทั้งสองรุ่น ยังสามารถพิมพ์งานในดราฟท์โหมดด้วยความเร็วถึง 34 ppm ซึ่งแม้แต่เลเซอร์พรินเตอร์ระดับล่างยังไม่สามารถทำได้
       
       “เอปสัน M-series รองรับงานพิมพ์ได้สูงถึง 8,000 แผ่น ด้วยเซ็ตหมึกพิมพ์ที่มีมาแต่แรก และ 6,000 แผ่น ต่อหมึกรีฟิลหนึ่งขวด ช่วยลดเวลาในการเติมหมึกซึ่งอาจทำให้การทำงานหยุดชะงักได้ นอกจากนี้พรินเตอร์ทั้งสองรุ่นยังทนทานสูง มีอายุการใช้งานยาวนาน ซึ่งประเมินว่าสามารถพิมพ์งานได้จนถึง 50,000 แผ่น และเอปสัน M-series ช่วยผู้ใช้ประหยัดค่าใช้จ่าย ด้วยต้นทุนไม่ถึง 12 สตางค์ต่อแผ่นซึ่งถูกกว่าถึง 90% เมื่อเปรียบเทียบกับหมึกพิมพ์แท้แบบเติมของเลเซอร์พรินเตอร์ และถูกกว่าหมึกเทียบเท่าที่จำหน่ายในท้องตลาดถึง 50%”

นายยรรยง กล่าวว่า เอปสันยังพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอ ด้วยพรินเตอร์ระบบ dye sublimation แบบป้อนม้วนกระดาษ (roll-feed) เพื่อการพิมพ์ผ้ารุ่นใหม่ จำนวนสองรุ่น ประกอบด้วย SureColor SC-F6070 หน้ากว้าง 44 นิ้ว และ SureColor SC-F7070 หน้ากว้าง 64 นิ้ว ขณะนี้เปิดตัวไปแล้วในยุโรป ตอบโจทย์ในตลาดใหม่อุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่เอปสันจะเข้าไป ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมเหล่านี้ได้รับความสะดวกสบาย เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างความเฉพาะให้กับผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งพรินเตอร์รุ่นใหม่ทั้งสองรุ่นคือส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่จะผลักดันพรินเตอร์ทั้งเชิงพาณิชย์และเชิงอุตสาหกรรมให้เจริญเติบโตต่อไป

สำหรับพรินเตอร์ SureColor F-Series นอกจากจะเป็นพรินเตอร์ระบบ dye sublimation เพื่อการพิมพ์ผ้าเครื่องแรกของเอปสันแล้ว ยังถือเป็นเครื่องแรกในตลาดที่ทุกส่วนประกอบ ไม่ว่าจะเป็นหมึกพิมพ์ หัวพิมพ์ ไปจนถึงโครงสร้างได้รับการออกแบบและผลิตโดยบริษัทเดียวกัน ผลลัพธ์คือได้พรินเตอร์ dye-sublimation ประสิทธิภาพสูง ออกแบบมาให้ทนทานและให้งานพิมพ์คุณภาพอุตสาหกรรม โดยมีความละเอียดสูงสุดถึง 1,440 x 720 dpi บนกระดาษสำหรับลอกลายลงผ้า โดยพรินเตอร์ SureColor F-Series รุ่นใหม่รองรับการใช้งานหลากหลายรูปแบบ อาทิ การพิมพ์งานป้ายผ้าคุณภาพสูงจากชุดกีฬา เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ และของแถมพรีเมียมต่างๆ เช่น แผ่นรองเมาส์ และแก้วเซรามิค
       
       ทั้งนี้นอกจากตัวเครื่องพิมพ์แล้วเอปสันยังได้นำเสนอหมึกพิมพ์ผ้ารุ่นใหม่ UltraChrome DS ซึ่งเป็นหมึก dye-sublimation สูตรพิเศษ ช่วยให้งานพิมพ์โดดเด่น สีสันสดใส สีดำเข้มข้น ให้รูปทรงคมชัด และการไล่สีที่กลมกลืน โดยเทคโนโลยีหมึกพิมพ์ใหม่ล่าสุดนี้ให้สีคงทน ไม่ซีดจางง่าย ทนต่อการซัก ทนต่อเหงื่อทั้งกรดและด่าง นอกจากนี้ หมึก UltraChrome DS ink ยังแห้งเร็ว และช่วยให้ผู้ใช้สามารถประหยัดต้นทุนในการเป็นเจ้าของ ด้วยเซ็ตหมึกพิมพ์แบบรีฟิลเติมหมึกได้รุ่นใหม่

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics