Author Topic: “อนุดิษฐ์”สั่งบอร์ดกสท สอบสัญญาเช่า FTTx แทนลงทุนเอง  (Read 1094 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      รมว.ไอซีที สั่งบอร์ด กสท ตรวจสอบ ภายหลังพนักงานร้องเรียนให้กรรมการใหญ่ชี้แจงสอบสัญญาการเช่าโครงข่ายพร้อมอุปกรณ์เพื่อให้บริการ FTTx มูลค่า 3,495 ล้านบาท แทนการลงทุนเองในสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งถือว่าขัดกับมติครม. แต่เรื่องยังเงียบ
       
       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า กระทรวงได้สั่งให้คณะกรรมการ(บอร์ด) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ไปตรวจสอบโครงการให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านสายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber to the x : FTTx) อย่างละเอียด ภายหลังเมื่อเดือน ก.ย.2554 พนักงานยื่นหนังสือให้นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ชี้แจงการเช่าโครงข่ายพร้อมอุปกรณ์ FTTx มูลค่า 3,495 ล้านบาทนั้น
       
       แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่า การลงนามในสัญญาเช่าดังกล่าว มีผลดีต่อกสทอย่างไร เหตุใดกสทจึงเลือกวิธีการเช่าแทนการลงทุนเอง เพราะกสทก็ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมครม.ของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ลงทุนโครงการ FTTx วงเงินลงทุน 6,000 ล้านบาท โดย กสท จะเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด ฉะนั้นการเช่าโครงข่ายพร้อมอุปกรณ์ จึงขัดกับมติครม.
       
       สำหรับการเช่าโครงข่ายพร้อมอุปกรณ์ของ กสท นั้น เกิดขึ้นเพื่อให้บริการในพื้นที่ภูมิภาค 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ชลบุรี ขอนแก่น ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา สงขลา อุดรธานี อุบาลราชธานี ภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี
       
       ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า บอร์ดกสท ได้อนุมัติหลักการให้ กสท เช่าโครงข่ายพร้อมอุปกรณ์เพื่อให้บริการ FTTx ในพื้นที่ 10 จังหวัด เมื่อวันที่ 24 ก.พ.2554 โดยให้นำร่องในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี เชียงใหม่ และนครราชสีมา แต่ปรากฏว่าในความเป็นจริง กสท ได้มีการลงนามในสัญญาเช่าโครงข่ายพร้อมอุปกรณ์ FTTx จำนวน 8 สัญญา คิดเป็นมูลค่าการเช่ารวม 3,495 ล้านบาท ไปก่อนแล้ว
       
       ขณะที่รายละเอียดของสัญญาดังกล่าวระบุว่า ในพื้นที่จ.ชลุบุรี กสท ลงนามในสัญญากับคอนซอเตียมเอ็มเอสที เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2553 ระยะเวลา 36 เดือน คิดเป็นค่าใช้จ่ายเดือนละ 18.44 ล้านบาท พื้นที่ระยอง กสท ลงนามกับเอ.แอล.ที.อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น เมื่อวันที่ 5 ม.ค.2554 ระยะเวลา 36 เดือน ค่าใช้จ่ายเดือนละ 14.44 ล้านบาท
       
       สำหรับพื้นที่นครราชสีมา กสท ลงนามกับบริษัท ไซแมท เทคโนโลยี เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2554 ระยะเวลา 60 เดือน คิดเป็นเงินเดือนละ 8.2 ล้านบาท พื้นที่เชียงใหม่ กสท ลงนามกับบริษัท ไซแมท เทคโนโลยี เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2554 ระยะเวลา 60 เดือน คิดเป็นค่าใช้จ่ายเดือนละ 6.9 ล้านบาท พื้นที่ขอนแก่น กสท ลงนามกับบริษัท อินเนอร์เทค คอร์ปอเรชั่น เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2554 ระยะเวลา 60 เดือน คิดเป็นเงินเดือนละ 6.9 ล้านบาท
       
       นอกจากนี้ในพื้นที่ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สงขลา กสทลงนามในสัญญากับบริษัท อินเนอร์เทค คอร์ปอเรชั่น เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.2554 ระยะเวลา 60 เดือน ค่าใช้จ่ายในพื้นที่ภูเก็ตเดือนละ 6.9 ล้านบาท ส่วนพื้นที่สุราษฎ์ธานี และสงขลา ค่าใช้จ่ายเดือนละ 4.6 ล้านบาท
       
       อย่างไรก็ตามการลงนามในสัญญาทั้ง 8 ฉบับนั้น ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า การลงนามสัญญานั้นไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมบอร์ดกสท โดยอ้างอิงว่าจากบอร์ดได้อนุมัติในหลักการแล้ว ฉะนั้นการดำเนินการจึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร การลงนามในสัญญาเป็นไปด้วยความเร่งรีบ เพราะระยะเวลาเพียง 1 เดือน ได้มีการลงนามในสัญญาถึง 6 ฉบับ อีกทั้งในสัญญา 6 ฉบับนั้น มีเอกชน 1 ราย ที่เป็นคู่สัญญากับกสท 4 สัญญา
       
       ดังนั้นทางตัวแทนพนักงาน กสท จึงขอให้ น.อ.อนุดิษฐ์ และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มาช่วยตรวจสอบเพื่อความโปร่งใสในโครงการให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านสายไฟเบอร์ออฟติกดังกล่าว
       
       Company Relate Link :
       กสท

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics