Author Topic: "พรรณสิรี อมาตยกุล" ผู้หญิงแถวหน้า "บิ๊กบลู"  (Read 1564 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

สัมภาษณ์

"พรรณสิรี อมาตยกุล" อีกหนึ่งผู้บริหารหญิงของไอบีเอ็ม ทายาทของ "สมภพ อมาตยกุล" ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดคนไทยคนแรกของไอบีเอ็ม ประเทศไทย ชื่อของเธออาจไม่คุ้นหูเท่า "ศุภจี สุธรรมพันธุ์" หญิงแกร่งจากไอบีเอ็มที่ก้าวขึ้นถึงตำแหน่งผู้ช่วยซีอีโอใหญ่ของ ไอบีเอ็ม "แซม พลามมิซาโน"

แต่อาจเรียกว่าเส้นทางการเติบโตของ "พรรณสิรี อมาตยกุล" ไม่แตกต่างจาก "ศุภจี สุธรรมพันธุ์" เท่าไหร่นัก นับเป็น ลูกหม้อไอบีเอ็มที่มีการเติบโตในหน้าที่การงานอย่างรวดเร็ว หลังจากคลุกคลีดูแลกลุ่มลูกค้าไฟเนนซ์มากว่า 10 ปี จากนั้นก็ได้รับมอบหมายไปเป็นผู้ช่วยมือขวาของผู้จัดการทั่วไปอาเซียน เรียนรู้งานในระดับภูมิภาคประมาณ 1 ปี ก่อนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง sector service executive รับผิดชอบธุรกิจเซอร์วิสของภูมิภาคเอเชียใต้ประมาณ 1 ปี

จากนั้นก็ได้นั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอบีเอ็ม โซลูชั่นส์ ดิลิเวอรี่ จำกัด ดูแลธุรกิจเอาต์ซอร์ซ

และเมื่อ 1 มกราคม 2551 ก็มารับตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจทั่วไป บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ซึ่งทำงานประสานโดยตรงกับ "ศุภจี สุธรรมพันธุ์" ที่เวลานั้นก็เป็นรองประธานกลุ่มธุรกิจทั่วไป ประจำภูมิภาคอาเซียน

นอกจากนี้ "พรรณสิรี" ยังมีภารกิจเป็น IBM Thailand woman council leader ในการวางแผนพัฒนาศักยภาพของผู้หญิงไอบีเอ็มให้มีทักษะ ความรู้ความสามารถ พร้อมขึ้นสู่ระดับผู้บริหาร

ด้วยประสบการณ์และความสามารถ ทำให้หลายคนจับตามองว่า "พรรณสิรี อมาตยกุล" อาจจะเป็น "ศุภจี 2" คนต่อไป

"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสสัมภาษณ์อย่างใกล้ชิดในหลากหลายแง่มุมของผู้หญิงแถวหน้าแห่งยักษ์สีฟ้า

- วางแผนรับมือกับภาวะวิกฤตอย่างไร

ดูแลลูกค้าให้ดีที่สุด ในช่วงวิกฤตเช่นนี้ สิ่งสำคัญคือการใช้เวลาอยู่กับลูกค้ามากที่สุด สิ่งที่ผู้บริหารไอบีเอ็มให้ความสำคัญคือ What value yo- give to customer ไม่ใช่ดูตัวเลข ตอนนี้ลูกค้าต้องการความช่วยเหลือจากเรา เพราะเศรษฐกิจไม่ดี ช่วงนี้ทำอะไรให้ลูกค้าได้ก็จะทำให้มากที่สุด

- กลุ่มธุรกิจทั่วไปที่ดูแลครอบคลุมอะไรบ้าง

กลุ่มธุรกิจทั่วไป หรือเจเนอรัลบิสซิเนส (จีบี) ของไอบีเอ็ม จะครอบคลุมทั้งในส่วนของลูกค้าขนาดใหญ่และธุรกิจเอสเอ็มบี นอกเหนือจาก 3 เซ็กเตอร์หลัก คือ ไฟแนนซ์, เทเลคอม และ อินดัสเตรียล แอนด์ดิสทิบิวชั่น ซึ่งจะมีผู้บริหารดูแลโดยเฉพาะที่มีฐานลูกค้ารายใหญ่ประมาณ 50 ราย และส่วนที่เหลือทั้งหมดจะอยู่ในความดูแลของกลุˆมจีบี ซึ่งธุรกิจในเมืองไทยจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ประมาณ 1.1 หมื่นบริษัท และธุรกิจขนาดกลางและเล็กประมาณ 2 ล้านบริษัท ทำให้ขอบเขตการดูแลของกลุ่มจีบีค่อนข้างกว้าง

กลุ่มลูกค้ารายใหญ่และธุรกิจขนาดกลาง (mid market) จะมีแคแร็กเตอร์ที่แตกต่างกัน แต่ทุกคนมีความต้องการเหมือนกันในภาวะเช่นนี้ คือ ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน หรือไม่เพิ่มค่าใช้จ่าย แต่สามารถขยายธุรกิจได้ นั่นคือโจทย์ของไอบีเอ็ม เพราะลูกค้าไม่ได้หยุดการใช้จ่ายไอที แต่โฟกัสเรื่องแบบนี้

ขณะที่ลูกค้าขนาดใหญ่หลายคนมองว่าเป็นเวลากลับไปดูแลหลังบ้าน ลดต้นทุน และรอเวลาเมื่อเศรษฐกิจฟื้น

- ความท้าทายในการทำงานปีนี้

ปีนี้การทำธุรกิจยากขึ้น อย่างแรกคือ ทำให้ทีมมีพลังเต็มเปี่ยมเหมือนปีที่ผ่านมา เพราะทุกครั้งที่อ่านหนังสือพิมพ์จะเห็นข่าวไม่ดี จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะรู้สึกไม่ดี หรือไม่มั่นใจในตัวเอง ถ้าทีมยังมีพลังเต็มพันอย่างที่เคยมี เขาจะมีพลังออกไปช่วยลูกค้า ไปช่วยแก้ปัญหาลูกค้า ดังนั้นตอนนี้ที่โฟกัสมากคือรักษาให้ทีมยังเดินหน้าต่อไปได้

เพราะสภาพเศรษฐกิจปีที่ผ่านมาทำให้หลายบริษัทประสบปัญหา แต่ด้วยพลังของทีมปีที่ผ่านมากลุ่มจีบีของไอบีเอ็มยังสามารถ เติบโตก้าวกระโดดได้ เพราะนอกจากการรักษาฐานลูกค้าเดิมแล้ว บริษัทได้ลูกค้าใหม่เข้ามาด้วย อย่างกรณีของกลุ่มไมเนอร์

- กับบทบาทของ IBM Thailand woman council leader

ไอบีเอ็มมีนโยบายในการสนับสนุนให้ ผู้หญิงขึ้นมาเป็นผู้บริหารเพิ่มมากขึ้น ซึ่งตอนนี้ก็มีสัดส่วนผู้หญิงประมาณ 45% ก็เป็นไปตามนโยบายของบริษัทแม่ แต่พอผู้หญิงที่ก้าวสู่ระดับผู้บริหารก็จะยังมีความท้าทาย ดังนั้นจึงต้องวางโปรแกรมที่จะมาช่วยให้ ผู้หญิงสามารถก้าวขึ้นมาทำงานในระดับบริหารได้อย่างมีความสุข

เพราะวันนี้ไอบีเอ็มมองเรื่องโกลบอลอินทิเกรเต็ดเอ็นเตอร์ไพรส์ (จีไออี) คือการมองภาพไอบีเอ็มทั่วโลกเป็นหนึ่งเดียว และโครงสร้างการทำงานก็ไม่ได้แยกเป็นประเทศ ฝ่ายซัพพอร์ตไม่จำเป็นต้องมีเหมือนๆ กันทุกประเทศ อย่างงานด้านการทำฮิวแมนรีสอร์ตของไอบีเอ็มทั่วโลกก็จะอยู่ที่ฟิลิปปินส์ ฝ่ายบัญชีก็อยู่ที่มาเลเซีย ดังนั้นเรื่องของคนก็เปลี่ยนไป

ตอนนี้ไอบีเอ็มไม่ใช่บริษัทอเมริกัน แต่เป็นบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล อยู่ที่ไหนก็ได้ แต่เมื่อธุรกิจอยู่ที่ไหนก็ได้ คนอยู่ที่ไหนก็ต้องทำงานได้เช่นกัน เพราะมีคนเก่งอยู่ในประเทศเล็กๆ จำนวนมาก บริษัทแม่ก็มองว่าต้องให้โอกาสเท่าๆ กัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนสามารถที่จะเข้ามามีส่วนร่วม หรือเป็นหัวหน้าโปรเจ็กต์ได้ โดยไม่มีขอบเขตของประเทศมาขวางกั้น

แต่การทำงานของผู้หญิงจะ suffer มากกว่า ในการที่จะต้องรับผิดชอบบริหารงานข้ามชาติ ต้องเดินทางไปประเทศต่างๆ ดังนั้นเราก็ต้องวางแผน เตรียมพร้อม ต้องเรียนรู้ว่าต้องมีจุดแข็งอะไรบ้างในการขึ้นมาเป็นผู้บริหารระดับสูง

- สิ่งที่จะสร้างให้ผู้หญิงก้าวขึ้นระดับบริหาร

ไอบีเอ็มจะมีโปรแกรมซัพพอร์ตตั้งแต่เด็กไปจนโต อย่างปีที่ผ่านมาบริษัทแม่ได้ซื้อคอร์สการเรียนรู้ชื่อ "taking the state" เพื่อสอนพนักงานหญิงในการขึ้นสู่เวทีการเป็นผู้นำ อันดับแรก คือต้องตัดสินใจก่อนว่าตัวเองต้องการเป็นผู้นำ และปลดล็อกวิธีคิดต่างๆ รวมถึงหลักสูตรวิธีการพูดในห้องประชุม การพรีเซนต์งานกับลูกค้า หรือวิธีการออกเสียง เพราะวัฒนธรรมไทยที่สอนให้ผู้หญิงอ่อนหวาน เสียงเบา ทำให้เวลาอยู่ในห้องประชุมไม่มีพาวเวอร์ ทำให้จูงใจคนฟังได้น้อยลง เป็นต้น นี่คือหลักสูตรพื้นฐานสำหรับพนักงานผู้หญิง

แต่ถ้าคนที่เตรียมขึ้นระดับบริหาร เช่น ต้องการเรียนรู้ว่างานระดับภูมิภาคต้องทำอะไรบ้าง ไอบีเอ็มก็จะมีโปรแกรมพี่เลี้ยง (เมนเตอร์) ที่จะมาดีไซน์ร่วมกันหาจุดอ่อนจุดแข็งคืออะไร ต้องพัฒนาทักษะอะไร

- วางเป้าหมายในการทำงานอย่างไร

อยู่ไอบีเอ็มต้องทำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับไอบีเอ็ม ไม่สนใจว่าคุณจะทำงานอยู่ตรงไหน แม้ว่าจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่ไม่ว่าอยู่ที่ไหน คือไอบีเอ็ม และลูกค้าต้องมาก่อนเป็นอันดับแรก อย่างที่มาดูธุรกิจเจเนอรัล บิสซิเนสก็เพราะต้องการให้เรามาช่วยวางโครงสร้าง ทำให้เจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด เมื่อเราทำได้แข็งแรง ต่อไปก็อาจจะไปที่อื่นๆ แทน อยู่ที่ไหนก็คือไอบีเอ็ม อย่างพอได้ไปเรียนรู้งานระดับภูมิภาค ก็ทำให้เห็นภาพที่กว้างขึ้น

- เคยฝันจะทำหน้าที่ในตำแหน่งเดียวกับคุณพ่อหรือไม่

ปัจจุบันไอบีเอ็มมีโครงสร้างการทำงานที่เปลี่ยนไปจากอดีต ถ้าถามว่าฝันไหม ไม่ยึดแบบนั้น เพราะเราสามารถเจริญเติบโตขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูงในไอบีเอ็มได้ในหลายๆ แนวทาง โดยไม่ต้องยึดติดกับคันทรีโพซิชั่น ในไอบีเอ็มมีโอกาสมาก

- มีโอกาสเติบโตในเส้นทางเดียวกับคุณ ศุภจี (สุธรรมพันธุ์)

ก็มีโอกาส เพราะโอกาสมีเสมอใน ไอบีเอ็ม แต่ไม่รู้มาเมื่อไหร่ ไอบีเอ็มมีโอกาสเยอะ คุณศุภจีได้เป็นผู้ช่วยคุณแซม ที่ผ่านมาตัวเองก็เคยเป็นผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไปอาเซียน เป็นการพัฒนาคล้ายๆ กัน แต่คุณศุภจีได้ไปมีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาที่สำนักงานใหญ่


ที่มา: matichon.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
7220 Views
Last post February 14, 2009, 12:00:18 AM
by Webmaster
0 Replies
3236 Views
Last post February 21, 2009, 09:50:39 AM
by Nick
0 Replies
3994 Views
Last post March 03, 2009, 06:03:22 PM
by Reporter
0 Replies
5963 Views
Last post March 03, 2009, 06:05:12 PM
by Reporter
0 Replies
2665 Views
Last post March 06, 2009, 11:17:31 PM
by Reporter
0 Replies
2564 Views
Last post March 10, 2009, 08:43:28 AM
by Reporter
0 Replies
1878 Views
Last post March 10, 2009, 10:03:22 AM
by Reporter
0 Replies
2160 Views
Last post March 13, 2009, 03:57:06 PM
by Reporter
0 Replies
2455 Views
Last post March 13, 2009, 05:36:43 PM
by Reporter
0 Replies
2463 Views
Last post March 23, 2009, 11:59:20 PM
by Reporter