หน้าต่างเริ่มต้นติดตั้งแอปพลิเคชันปุ่ม Dislike ปลอม
ในเมื่อมีปุ่มถูกใจหรือ Like แล้ว แฟนเฟซบุ๊ก (Facebook) หลายคนต่างอยากให้มีปุ่ม "ไม่ถูกใจ" หรือ Dislike บนเฟซบุ๊กบ้าง ล่าสุดนักก่อกวนปิ๊งไอเดียสวมรอยหลอกล่อผู้ใช้เฟซบุ๊กด้วยการเปิดให้ดาวน์ โหลดแอปพลิเคชั่นปุ่ม Dislike ปลอม ซึ่งไม่สามารถทำงานได้จริงบนเฟซบุ๊ก
เฟซบุ๊กนั้นเป็นบริการเครือข่ายสังคมที่มียอดสมาชิกในประเทศไทยสูง เกิน 4 ล้านคน จากสมาชิกทั้งหมดมากกว่า 500 ล้านคนทั่วโลก จุดเด่นคือสมาชิกจะสามารถสื่อสารกับเพื่อนทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่มได้ในรูป เครือข่ายไม่รู้จบ คอนเทนต์ที่ถูกสื่อสารบนเฟซบุ๊กนั้นมีทั้งข้อความ ลิงก์เว็บไซต์ ภาพนิ่ง และวิดีโอซึ่งผู้ใช้สามารถกดให้คะแนนเพื่อแสดงจุดยืนว่าถูกใจหรือชื่นชอบคอน เทนต์นั้นๆด้วยการกดปุ่ม Like นำไปสู่วิถีการโฆษณาออนไลน์บนเฟซบุ๊กที่คึกคักอย่างยิ่งในประเทศไทยเนื่อง จากสมาชิกหลายคนมักคลิกไปชมคอนเทนต์ที่เพื่อนของตัวเองให้คะแนนไว้
สถานะ หรือ Status หลอกลวงที่เหยื่อซึ่งเผลอติดตั้งแอปพลิเคชั่น Dislike ปลอมไปจะถูกเปลี่ยนโดยอัตโนมัติ เพื่อล่อลวงเพื่อนต่อไปไม่รู้จบ
อย่างไรก็ตาม เฟซบุ๊กยังรีรอที่จะพัฒนาปุ่ม Dislike ซึ่งผู้ใช้จำนวนไม่น้อยมองว่าจำเป็นต่อการแสดงความเห็นในด้านลบ ความต้องการนี้เองที่ทำให้นักก่อกวนเห็นช่องโหว่ จนฝ่ายรักษาความปลอดภัยของเฟซบุ๊กต้องออกมาประกาศเตือนภัยล่อลวงปุ่ม Dislike อย่างเป็นทางการ หลังจากผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยของ Sophos Security นามว่า Graham Cluley ประกาศไว้บนเว็บล็อก และสำนักข่าว CNN นำมารายงาน
รายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายคนได้พบลิงก์ข้อความล่อลวงที่มีเนื้อความให้เพื่อนสมาชิก ร่วมดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปุ่ม Dislike เช่น Get the official DISLIKE button NOW! แล้วตามด้วยที่อยู่เว็บไซต์หรือ URL ต่อท้าย โดยจะขึ้นเป็นข้อความสถานะของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อติดตั้งปุ่ม Dislike ปลอมมาก่อน
ลิงก์ล่อลวงที่ขึ้นต้นด้วย Get the official DISLIKE button NOW! แล้วตามด้วยที่อยู่เว็บไซต์หรือ URL ต่อท้าย
หากคลิก เหยื่อจะพบเว็บไซต์ปลอมที่แสดงหน้าต่างเริ่มต้นติดตั้งแอปพลิเคชัน ซึ่งแทนที่จะได้รับปุ่ม Dislike เหยื่อจะได้รับแอปพลิเคชันเปลี่ยนข้อความสถานะอัตโนมัติ เพื่อล่อลวงกลุ่มเพื่อนต่อเนื่องบนเฟซบุ๊กแทน
นอกจากนี้ Cluley ระบุว่าก่อนการติดตั้ง เหยื่อจะถูกขอให้กรอกแบบสอบถามก่อน ซึ่งจุดนี้จะทำรายได้ให้กับนักก่อกวนผู้สร้างแผนลวงนี้ขึ้น
มีการขอให้เหยื่อตอบแบบสอบถามก่อนการติดตั้งด้วย
ต้องยอมรับว่าการติดตั้งแอปพลิเคชันปุ่ม Dislike นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากก่อนหน้านี้่ FaceMod บริษัทผู้สร้างโปรแกรมเสริมสำหรับผู้ใช้โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ Firefox เคยเปิดให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดโปรแกรมเสริมที่มีชื่อ
ว่า "Facemod - Facebook Dislike Button" เพื่อติดตั้งปุ่ม Dislike ไว้บนหน้าเฟซบุ๊ก จุดนี้ Cluley ระบุว่าโปรแกรมจาก FaceMod นั้นไม่ใช่การล่อลวง โดยแนะให้ผู้ที่สนใจดาวน์โหลดปุ่ม Dislike จากเว็บไซต์ Mozilla.org จะปลอดภัยกว่า พร้อมย้ำว่าไม่ได้มีส่วนได้เสียกับ FaceMod ใดๆ
ลักษณะปุ่ม Dislike ที่ไม่หลอกลวงของ FaceMod
แน่นอนว่าการล่อลวงที่เกิดขึ้นไม่ได้แสดงถึงพัฒนาการด้านการก่อความ เสียหาย แต่กลับสะท้อนถึงพัฒนาการของรูปแบบการล่อลวงที่เห็นได้ชัดเจนผ่านเครือข่าย สังคม ฉะนั้น ผู้ใช้ชาวเครือข่ายสังคมควรจะตระหนักรู้และระวังภัยล่อลวงที่แสนสมจริงนี้ อยู่ตลอดเวลา และอย่าหลงเชื่อง่ายๆหากจะคลิกติดตั้งโปรแกรมใดก็ตาม
ที่มา: manager.co.th