Author Topic: อาร์เอฟไอดีดัมพ์ราคา20-30% กลุ่มผู้ผลิตโหนกระแสซื้อใจลูกค้ายุคศก.ขาลง  (Read 1163 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai

อาร์เอฟไอดีดัมพ์ราคา20-30% กลุ่มผู้ผลิตโหนกระแสซื้อใจลูกค้ายุคศก.ขาลง แห่ใช้ของดีราคาถูกเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร 

"อาร์เอฟไอดี" รุ่งช่วงเศรษฐกิจทรุด "อินเตอร์แมค" เผยตลาดองค์กรแห่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมากขึ้น ส่งผลทั้งตลาดราคาลดลง 20-30% คาดมูลค่ารวมสูง 40-50 ล้านบาท เชื่อหากองค์กรในไทยมีระบบกลางที่ดี จะหันมาใช้เทคโนโลยีดังกล่าวมากกว่านี้

นางปิยรัตน์ ศรีวรานนท์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อินเตอร์เมค เทคโนโลยีส์ คอร์ปอเรชั่นฯ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ตลาดอาร์เอฟไอดี ((Radio-frequency identification: RFID) เป็นวิธีการในการเก็บข้อมูลหรือระบุข้อมูลแบบอัตโนมัติ โดยทำงานผ่านการรับสัญญาณจากแท็กเข้าสู่ตัวส่งสัญญาณ ผ่านทางคลื่นวิทยุ)ในประเทศไทยยังสามารถเติบโตไปได้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจขาลง ได้เริ่มมีผู้ประกอบการหลายรายหันมาปรับปรุงเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาร์เอฟไอดีสามารถเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานตรงนี้ได้ เนื่องจากอาร์เอฟไอดีเก็บข้อมูลเป็นระบบออนไลน์ทั้งหมด จึงสามารถช่วยเร่งกระบวนการทำงานให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการช่วยขยายซัพพลายเชนอีกด้วย


"เศรษฐกิจยิ่งไม่ดี คนยิ่งต้องสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กร ดังนั้นจึงมีผู้ประกอบการหลายรายเริ่มหันมาปรับประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งอาร์เอฟไอดีสามารถช่วยเหลือองค์กรเหล่านี้ได้"


สำหรับการลงทุนอาร์เอฟไอดีถึงแม้จะมีราคาแพง แต่ลูกค้าก็สามารถนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว อีกทั้งในปัจจุบันผู้ประกอบการยังสามารถลงทุนอาร์เอฟไอดีได้ถูกลงอีกด้วย เนื่องจากปี 2551 ที่ผ่านมาราคาอาร์เอฟไอดีโดยรวมลดลง 20-30% เพราะมีผู้ประกอบการเข้ามาใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตมีการตอบสนองความต้องการของตลาด อย่างไรก็ตามคาดว่าในปีนี้ราคาจะยังคงอยู่ในระดับเดิม เพราะตอนนี้ถือว่ายังเป็นราคาที่ลูกค้าสามารถตอบรับได้


สำหรับกลุ่มลูกค้าที่นิยมใช้อาร์เอฟไอดี ส่วนใหญ่เป็นโรงงานการผลิต รวมทั้งรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ ซึ่งอาจมีการใช้ในแวร์เฮาส์ และกระบวนการจัดการต่างๆ ในด้านการแข่งขันเริ่มมีผู้ประกอบการแบรนด์เข้ามาในตลาด มีทั้งแบรนด์ในเอเชียและยุโรป โดยขณะนี้มีผู้ประกอบการไม่เกิน 10 ราย ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอื่นๆ ถือว่าผู้ประกอบการในตลาดอาร์เอฟไอดียังมีไม่มากนัก อีกทั้งแนวโน้มตลาดยังคงสดใส และขนาดของตลาดมีแต่เพิ่มจำนวนมากขึ้น


นางปิยรัตน์กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการในไทย ยังคงใช้อาร์เอฟไอดีควบคู่กับบาร์โค้ด แต่ประสิทธิภาพการทำงานถือว่าแตกต่างกัน เช่น บาร์โค้ดที่ใช้แปะผลิตภัณฑ์จะต้องนำไปทิ้งเมื่อต้องการเปลี่ยนข้อมูล แต่อาร์เอฟไอดีสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดเวลา เป็นต้น อย่างไรก็ตามความพร้อมขององค์กร ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หลายองค์กรยังไม่สามารถนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีไปใช้ได้อย่างเต็มที่


"อุปสรรคในการทำตลาดอาร์เอฟไอดีในไทย คือ ความพร้อมขององค์กรกลาง เพื่อรองรับระบบอาร์เอฟไอดี คือถ้าระบบนิ่ง เขาก็สามารถนำอาร์เอฟไอดีมาต่อยอดการทำงานให้กับองค์กรอีกเป็นจำนวนมาก แต่ตอนนี้องค์กรโดยส่วนใหญ่ในไทยถือว่ายังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาระบบกลาง"


อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บริษัท มีจำนวนลูกค้าทั้งหมด 20 ราย โดยกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ อุตสาหกรรมการผลิต และในปีนี้บริษัท ตั้งเป้ามีรายได้เติบโตจากปีที่แล้ว 10%


อนึ่ง แท็กของอาร์เอฟไอดีโดยปกติจะมีขนาดเล็กซึ่งสามารถติดตั้งเข้ากับผลิตภัณฑ์สินค้า สัตว์ บุคคลได้ ซึ่งเมื่อตัวส่งสัญญาณส่งคลื่นวิทยุไป และพบเจอแท็กนี้ สัญญาณจะถูกส่งกลับพร้อมกับข้อมูลที่เก็บไว้ในแท็ก โดยตัวส่งสัญญาณนี้เองยังสามารถบันทึกข้อมูลลงในแท็กได้ ซึ่งระบบอาร์เอฟไอดีจะทำหน้าที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง บุคคล วัตถุ และกระบวนการต่างๆ


ดังนั้น อาร์เอฟไอดีจึงเป็นอุปกรณ์ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการจัดเก็บข้อมูล (data collection) การระบุหรือชี้เฉพาะ (identification) รวมถึงระบบการวิเคราะห์ (analysis systems) การนำระบบอาร์เอฟไอดี มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการทางธุรกิจจึงไม่เพียงแต่ช่วยประหยัดเวลาในการทำงานเท่านั้น หากแต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ กระบวนการทำงาน ทั้งในเรื่องของการลดความผิดพลาด การลดการสูญเสีย การลดต้นทุนการผลิต และการลดต้นทุนการบริหารจัดการ
 


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)