Author Topic: "กล้าเปลี่ยนแปลง" เคล็ดลับฝ่าวิกฤตจาก ไอบีเอ็ม  (Read 1460 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

ขณะที่บริษัททั่วโลกต่างแถลงผลประกอบการปีที่ผ่านมาไม่เป็นดังใจหวัง แต่บิ๊กบลูแห่งวงการไอที "ไอบีเอ็ม" กลับสวนกระแส ผลประกอบการไตรมาส 4 ยังเป็นบวก ส่งผลให้รายได้สุทธิทั้งปีเพิ่มขึ้นเป็น 10.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ

หลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า ไอบีเอ็มทำได้อย่างไร ?

"ธันวา เลาหศิริวงศ์" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย เล่าให้ฟังว่า สิ่งที่ไอบีเอ็มทำในช่วงหลายปีมานี้คือ "การเปลี่ยนแปลง" ส่งผลให้ตัวเลขในอดีตที่เคยขาดทุนจาก 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ กลายเป็นผลประกอบการบวกและมีกำไรที่ดี

ประเด็นสำคัญอยู่ที่การเปลี่ยนโมเดลธุรกิจใหม่ จากเดิมที่เน้นธุรกิจฮาร์ดแวร์แล้วไม่ประสบความสำเร็จต้องขายทิ้ง เปลี่ยนเป็นบริษัทด้านซอฟต์แวร์และเซอร์วิสแทน พร้อมกับลำดับภาพให้ฟังว่า สินค้าไอทีแบ่งเป็น 2 ประเภท

ประเภทแรก เป็นกลุ่มคอมโมดิตี้ที่การตัดสินใจของลูกค้าดูราคาเป็นหลัก คุณค่าเป็นรอง ประเภทถัดมาเป็นกลุ่มสินค้า high value ที่ลูกค้าให้ความสำคัญกับการบริการ และมูลค่าเพิ่มของการนำไอทีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไอบีเอ็มโฟกัส และเป็นเทรนด์ของเทคโนโลยีในอนาคต

"ไอบีเอ็ม" จึงตัดสินใจตัดธุรกิจพีซี พรินเตอร์ และเน็ตเวิร์กออกไป ควบรวมกิจการใหม่ๆ ตามแนวทางธุรกิจใหม่ ส่งผลให้ยังแข็งแกร่งได้มาถึงทุกวันนี้

"ตอนนี้ยากที่จะคาดการณ์การเติบโตของทุกอุตสาหกรรม แต่เชื่อว่าหากองค์กรใดไม่เปลี่ยนแปลงจะอยู่ในธุรกิจลำบาก ทุกอุตสาหกรรมมีผู้ชนะและผู้แพ้ การลดค่าใช้จ่ายไม่ใช่ลดทุกประเภท แต่ต้องลดในพื้นที่ที่จำเป็น"

เอ็มดียักษ์สีฟ้าประจำประเทศไทยอ้างถึงผลการสำรวจความคิดเห็นของซีอีโอใน ปี 2551 พบว่า 85% ของผู้ตอบแบบ สอบถามให้ความเห็นว่า บริษัทต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สามารถอยู่ได้ในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วได้ เพราะปัจจุบัน เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าอดีต

1 ในหนทางที่จะช่วยฝ่าวิกฤตจากผลการศึกษาของ IBM Institute for Business Value พบว่า ในปีที่ผ่านมามีบางบริษัทในตลาดหุ้นที่มีผลประกอบการที่ดี แม้จะเจอกับมรสุมเศรษฐกิจ โดยบริษัทที่ประสบความสำเร็จ มีคุณสมบัติคือ "โฟกัสที่คุณค่าทางธุรกิจ หาโอกาสทางธุรกิจ และรวดเร็ว"

คุณค่าทางธุรกิจ เช่น การเสนอสินค้าตรงความต้องการของลูกค้า, การเปลี่ยนจากการโฟกัสที่ต้นทุนคงที่ เป็นการมองต้นทุนผันแปรรับมือกับดีมานด์ที่ไม่แน่นอน

การหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เช่น บริษัทไปรษณีย์ไทยเพิ่มธุรกิจอร่อยทั่วไทย หรือเพิ่มจุดบริการไปรษณีย์ตามสถานที่ ท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและเปิดตลาดทางธุรกิจใหม่

เคล็ดลับข้อสุดท้ายคือการลงมือปฏิบัติอย่างรวดเร็ว หลังจากหาคุณค่าและโอกาสได้แล้ว ถ้ามัวชักช้าคนอื่นอาจแย่งชิงไปได้

"ภาพรวมอุตสาหกรรมไอทีในไทย ยังมีสัดส่วนต่อประชากรในประเทศค่อนข้างต่ำยังมีช่องว่างที่จะเติบโตได้อยู่ ไทยเป็น 1 ใน 150 ประเทศ ในตลาดที่ยังมีการเติบโต มีการใช้จ่ายด้านไอทีให้ไอบีเอ็มใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์"

ไอบีเอ็มจึงให้ความสำคัญ และคาดหวังกับการเติบโตของประเทศในกลุ่มนี้ แทนที่อิ่มตัวแล้วอย่างสหรัฐ, ยุโรป และญี่ปุ่น

หากประเมินสภาวะตลาดไอทีในปัจจุบัน ทุกภาคธุรกิจยังใช้ไอทีเพื่อทำธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ส่วนใหญ่ยังมีการรักษาการลงทุนต่อเนื่อง ไม่ปรับลดแต่อย่างใด โดยเฉพาะกลุ่มสถาบันการเงินที่ยังต้องขยายสาขา รวมถึงค้าปลีก ดังนั้นโดยเฉลี่ย อุตสาหกรรมไอทีจึงโตมากกว่าจีดีพี

ที่สำคัญบิ๊กบอสไอบีเอ็มยังมองว่าคนไทยยังมีเงินในกระเป๋าเพื่อจับจ่ายใช้สอยอยู่

"ปัจจัยทางเศรษฐกิจทำให้ผู้เล่นในตลาดน้อยลง ปัจจุบันพบว่าลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการพาร์ตเนอร์ที่จะอยู่ในตลาดได้อีก 5-10 ปี เพราะการเปลี่ยนแปลงไอทีแต่ละครั้งต้องใช้เวลาตัดสินใจ จึงเป็นโอกาสของแบรนด์ที่มีความเข้มแข็งในตลาด"

กลยุทธ์ของไอบีเอ็มคือพัฒนาทักษะของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการบริการและการออกไปพบปะลูกค้ามากขึ้น ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่ลูกค้าต้องการคำแนะนำ ยิ่งต้องเข้าไปสร้างความใกล้ชิดเพื่อหาวิธีช่วยตอบสนองความต้องการของลูกค้า

แต่สิ่งที่ต้องการให้ภาครัฐช่วยผลักดันคือโครงการ 3 จี ต้องการให้เกิดอย่างรวดเร็ว และการสนับสนุนการใช้ไอซีทีจากภาครัฐและเอกชน เพราะการใช้ไอซีทีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นการช่วยลด และเพิ่มการบริหารจัดการและการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงอบรมบุคลากรเพื่อส่งออก แรงงานไปยังตลาดไอทีในอนาคต



 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
2142 Views
Last post February 13, 2009, 08:34:35 PM
by Webmaster
0 Replies
7296 Views
Last post February 14, 2009, 12:00:18 AM
by Webmaster
0 Replies
10370 Views
Last post February 18, 2009, 02:09:48 PM
by Webmaster
0 Replies
6060 Views
Last post February 18, 2009, 02:11:17 PM
by Webmaster
0 Replies
2924 Views
Last post February 18, 2009, 02:12:37 PM
by Webmaster
0 Replies
3206 Views
Last post February 18, 2009, 02:13:21 PM
by Webmaster
0 Replies
5374 Views
Last post February 18, 2009, 02:19:07 PM
by Webmaster
0 Replies
2881 Views
Last post February 18, 2009, 05:56:49 PM
by Webmaster
0 Replies
1695 Views
Last post February 18, 2009, 06:02:23 PM
by Webmaster
0 Replies
3265 Views
Last post February 21, 2009, 09:50:39 AM
by Nick