Author Topic: เมื่อค่ายพรินเตอร์ฮึดสู้ "หมึกแทงก์"  (Read 1083 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ลักษณะหมึกพิมพ์ลอกเลียนแบบที่ถูกเรียกว่า"หมึกแทงก์"


Epson-L100 เครื่องพิมพ์หมึกแทงก์ราคาประหยัดของแท้จากโรงงานเอปสัน


บรรยากาศการเปิดตัว Epson-L100


HP Deskjet Ink Advantage K209 เครื่องพิมพ์หมึกราคาประหยัดพิเศษจากเอชพี


สาวเอชพีกับแคมเปญล่าสุด หมึกแท้ราคา 320 บาท

'อิงก์เจ็ตพรินเตอร์' ปัจจุบันมีกำลังซื้อรวมในแต่ละปีประมาณ 1.4 ล้านเครื่อง แต่ด้วยกลไกทางการตลาดส่งผลให้ราคาเครื่องพรินเตอร์ถูกลงเรื่อยๆ ถูกชนิดที่เรียกว่าซื้อชุดหมึกเติมยังแพงกว่าซื้อเครื่องใหม่ จึงเป็นโอกาสทองของหมึกเทียมหรือที่เรียกกันว่าหมึกแทงก์ ออกมาวางขายกันเต็มตลาดเมืองไทยหลายสิบปี เป็นหนามยอกอกหมึกแท้ตลอดมา ด้วยเหตุผลเดียวที่ทำให้ทุกคนที่ใช้อิงก์เจ็ตพรินเตอร์ตัดสินใจซื้อหมึกแทงก์คือ 'ราคา' ที่ถูกกว่าหมึกแท้ 20-30%
       
       กระแสความนิยมหมึกที่มีราคาถูกกว่า แพร่กระจายเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ส่งผลให้พรินเตอร์แบรนด์ดังซึ่งส่วนหนึ่งของรายได้หลักได้มาจากการขายหมึกพิมพ์ นิ่งเฉยอยู่ไม่ได้ ต้องอัดกลยุทธ์และกิจกรรมเพื่อตอบโต้ตลาดหมึกแทงก์
       
       พี่ใหญ่ในตลาดอย่าง เอชพีและเอปสันออกมาโปรโมทเรื่องคุณภาพของภาพและเอกสารที่ได้จากหมึกแท้ เจตนารมณ์ก็เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจถึงสิ่งที่ได้จากการใช้หมึกแท้ด้วยการ 'ปรับราคา' หมึกแท้ที่เคยถูกมองว่าแพงลงมา ซึ่งก็ได้ผลสำหรับตลาดกรุงเทพฯ คนเริ่มหันมาซื้อหมึกแท้มากขึ้น แต่ในต่างจังหวัดสถานการณ์ยังคงเหมือนเดิม
       
       เมื่อตลาดเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตในต่างจังหวัดถูกครอบครองด้วยหมึกแทงก์เกือบ 90% ทำให้แบรนด์ผู้ผลิตเริ่มหาทางออกให้กับค่านิยมที่ผิดพลาด
       
       สุวรรณ ศรีรพีพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไฟร์คอมแอนด์เน็ตเวิร์ก ผู้แทนจำหน่ายพรินเตอร์รายใหญ่ในจังหวัดพิษณุโลกและภาคเหนือตอนล่าง ให้ข้อมูลถึงค่านิยมที่ผิดของเหล่าผู้ใช้หมึกแทงก์ที่ติดตั้งกันเองว่าการที่ผู้บริโภคมองผิวเผินว่าติดแทงก์จะประหยัดเงินค่าหมึก ทำให้ใช้พิมพ์งานได้เป็นจำนวนมากนั้น เป็นการสร้างค่านิยมในการใช้งานที่ฟุ่มเฟือยแก่ผู้บริโภค
       
       'พฤติกรรมของผู้ใช้งานหมึกแทงก์เปลี่ยนไป ต้องมีการใช้งานทุกสัปดาห์ ก่อให้เกิดการพิมพ์จำนวนมาก สิ้นเปลืองทรัพยากร เนื่องจากเห็นว่าราคาต่อแผ่นถูก แต่แท้จริงแล้วถ้าใช้งานพิมพ์เฉพาะที่ต้องการ พรินเตอร์ที่ใช้หมึกแท้จะมีอายุการใช้งานนานกว่า เพราะหัวพิมพ์จะไม่อุดตันแม้ไม่ได้ใช้เป็นเวลานาน'
       
       ปัญหาที่เกิดจากการใช้พรินเตอร์ที่ต่อหมึกแทงก์ จะมีอายุการใช้งานค่อนข้างสั้น จากปัญหาน้ำหมึกขาด น้ำหมึกไม่ไหลต่อเนื่อง ทำให้ต้องยกเครื่องกลับมาให้ร้านซ่อม ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการเดินทาง รวมถึงทางผู้ขายก็ต้องให้บริการหลังการขายมากขึ้น
       
       'โดยเฉลี่ยแล้ว หลังจากซื้อเครื่องพรินเตอร์ที่ต่อหมึกแทงก์ภายใน 1 เดือน จะมีปัญหาเกี่ยวกับหัวหมึกพิมพ์ ทำให้ต้องมาส่งซ่อม โดยปัญหาจะเกิดขึ้นในช่วงที่น้ำหมึกแท้ที่อยู่ในตลับหมดลง และเริ่มใช้งานหมึกในแทงก์'
       
       ข้อเสียของพรินเตอร์ที่ต่อหมึกแทงก์คือจำเป็นต้องมีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง ไม่เช่นนั้นแล้วหัวพิมพ์จะเกิดการอุดตัน จากคุณภาพของน้ำหมึกที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่เหมาะกับกลุ่มผู้ใช้งานที่ใช้พิมพ์น้อย อาทิตย์ละครั้ง แต่ถ้าต้องใช้งานพิมพ์จำนวนมากแน่นอนว่า พรินเตอร์ที่ต่อหมึกแทงก์ยังมีค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ต่ำกว่าแน่นอน
       
       'ถ้าต้องการซื้อพรินเตอร์ เพื่อพิมพ์เอกสาร 100-200 แผ่นต่อสัปดาห์ต่อเนื่อง โอเคซื้อหมึกแทงก์ไปได้เลย แต่ถ้าต้องการซื้อพรินเตอร์เพื่อพิมพ์เอกสารเล็กน้อย ไม่ต่อเนื่อง นานๆ ใช้ที ไม่ต้องไม่ใช้หมึกแทงก์ให้เปลืองค่าใช้จ่ายหรอก'
       
       ด้วยเหตุผลดังกล่าว ร้านค้าที่ขายพรินเตอร์จึงต้องพยายามให้ข้อมูลถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นระหว่างพรินเตอร์ทั้งในแบบที่ใช้หมึกแทงก์และหมึกแท้ เพื่อประกอบการตัดสินใจ ไม่เช่นนั้นร้านค้าก็จะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายแฝงในการบริการหลังการขาย เมื่อหักจากส่วนแบ่งแล้วถือว่าขาดทุนด้วยซ้ำไป
       
       กฤษณ์ กิตติทัตต์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายตลาดคอนซูเมอร์ กลุ่มธุรกิจภาพและการพิมพ์ บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) หรือ เอชพี มองไปในทิศทางเดียวกันว่า พฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภค ที่เมื่อซื้อเครื่องพิมพ์หมึกแทงก์ จะทำให้เกิดการพิมพ์ที่สิ้นเปลือง จากเหตุผลที่คิดว่าปริมาณค่าใช้จ่ายต่อแผ่นถูก ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงเอกสารบางอย่างไม่จำเป็นต้องพิมพ์
       
       'ลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของเอชพี คือ ภาคการศึกษาในต่างจังหวัด เพราะมีความจำเป็นต้องใช้งานพิมพ์ควบคู่กันไปทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงอาจารย์ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่มีรายได้ค่อนข้างจำกัด และที่ผ่านมา หลังจากเอชพีออก HP Deskjet Ink Advantage ก็มีอัตราการเติบโตในตลาดต่างจังหวัดสูงถึง 120%'
       
       จุดเด่นสำคัญของพรินเตอร์ในตระกูล Ink Advantage อยู่ตรงที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้หัวพิมพ์สามารถประหยัดน้ำหมึก แต่ให้คุณภาพสีเท่าเดิม รวมกับการออกหมึกราคาประหยัดที่ตลับละ 320 บาท โดยเฉลี่ยแล้วสามารถพิมพ์งานได้ประมาณ 600 แผ่นต่อการเปลี่ยนน้ำหมึก 1 รอบ
       
       ตรงจุดนี้ 'สุวรรณ' มองว่า เป็นทางเลือกที่มาช่วยเติมเต็มความต้องการของลูกค้า ที่ไม่ต้องการจำนวนการพิมพ์ต่อครั้งสูง รวมถึงไม่ต้องกังวลเรื่องท่อตัน เครื่องเสีย จนเกิดค่าใช้จ่ายแฝงขึ้นมา และเมื่อคิดเป็นจำนวนค่าใช้จ่ายต่อแผ่นถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง ไม่สูงจนเกินไป
       
       'ถ้ามองในแง่ของผู้ขาย ถ้าขายพรินเตอร์หมึกแทงก์ จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการให้บริการหลังการขายเรื่อยๆ จากประสบการณ์ในการขายที่ผ่านมา ถือว่าอยู่ในระดับขาดทุนด้วยซ้ำ เลยทำให้เปลี่ยนมาให้ความรู้ในการใช้งานแก่ผู้บริโภค ให้มีทางเลือกในการใช้งานเครื่องพิมพ์มากขึ้น'
       
       ****แทงก์ของแท้จากโรงงาน
       
       ด้าน ยรรยง มุนีมงคลทร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอปสัน ไทยแลนด์ เล่าถึงพฤติกรรมการใช้งานหมึกพิมพ์ให้ฟังว่าในตลาดประเทศกำลังพัฒนา มักจะใช้ 'ค่าใช้จ่ายต่อแผ่น' เป็นปัจจัยหลักในการเลือกซื้อพรินเตอร์ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีลงมือปรับแต่งเครื่องเองเพื่อให้เครื่องมีต้นทุนงานพิมพ์น้อยลง แต่ผลคือทำให้เครื่องเสียบ่อย โดยเฉพาะผู้ที่ซื้ออิงก์เจ็ตของเอปสันไปใช้งานแล้วทำการปรับแต่ง ทำให้มักมองว่า พรินเตอร์เอปสันคุณภาพไม่ดี
       
       'เราจึงตัดสินใจทำเอง โมดิฟายเครื่องให้เองทั้งบ่อหมึกและเทคโนโลยีภายในทั้งหมด แถมรับประกันให้ด้วย 1 ปี ราคาเริ่มต้นแค่ 5,290 บาท'
       
       หลังจากที่ลองทำตลาดแบบเงียบๆ กับร้านค้าบางรายมาตั้งแต่ต้นปี ถือว่าได้ผลตอบรับดีมาก ทำให้เอปสันตัดสินใจที่วางตลาดพรินเตอร์ที่ติดแทงก์โดยเอปสันเองมาตั้งแต่โรงงาน โดยเอปสันมีการทดสอบคุณภาพพรินเตอร์ทุกอย่างเหมือนพรินเตอร์รุ่นอื่นๆ เพียงแต่พรินเตอร์รุ่นที่มีแทงก์จากโรงงานนี้ไม่ได้เพียงแค่ติดแทงก์เท่านั้นจบแต่ทางเอปสันระบุว่าได้พัฒนากลไกการทำงานต่างๆ รวมถึงหมึกพิมพ์ใหม่หมด จึงหมดปัญหาที่เคยเจอในหมึกแทงก์ที่ส่วนใหญ่เป็นหมึกที่ผลิตจากเมืองจีนและในประเทศไทย
       
       แม้จะไม่มีผลสำรวจที่แน่ชัดว่าจำนวนพรินเตอร์ที่ต่อหมึกแทงก์ในไทยมีจำนวนเท่าใด แต่ยรรยงเชื่อว่าตลาดพรินเตอร์หมึกแทงก์น่าจะกินส่วนแบ่งตลาดครึ่งหนึ่งของตลาดอิงก์เจ็ตรวม
       
       ยรรยงเชื่อว่าไม่เพียงตลาดอิงก์เจ็ตพรินเตอร์ที่จะขยายตัวเต็มที่ช่วงครึ่งปีหลัง แต่การเปลี่ยนรัฐบาลใหม่จะมีผลบวกต่อธุรกิจไอทีทั้งหมด เนื่องจากนโยบายให้ความสำคัญกับการสร้างประโยชน์จากไอที
       
       'ครึ่งปีหลังบวกต่อเนื่อง ทั้งการใช้ในบ้าน ธุรกิจ และการศึกษา น่าจะโตทั้งหมด เกิน 10%'
       
       ประเด็นนี้ 'สุวรรณ' ก็ให้ข้อมูลถึงผลิตภัณฑ์พรินเตอร์หมึกแทงก์ของเอปสันไว้ว่า เนื่องจากตัวเครื่องมีราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับเครื่องพิมพ์แบรนด์อื่น ที่มาโมดิฟายติดหมึกแทงก์ อย่างที่ร้านราคาต่ำสุดอยู่ที่ราว 2,290 บาทเท่านั้น การขยายตลาดของเอปสันจึงไม่ค่อยดีเท่าที่ควร
       
       'คุณภาพพรินเตอร์ติดแทงก์ของเอปสัน ต้องบอกว่าอยู่ในระดับดีเลย ทั้งวัสดุตัวเครื่อง การเดินสายน้ำหมึก และแทงก์หมึก รวมถึงคุณภาพน้ำหมึกที่เป็นของมาจากโรงงาน ทำให้ต้นทุนต่อเครื่องสูงตามไปด้วย ตลาดคอนซูเมอร์จึงยังไม่ค่อยเลือกใช้'
       
       สุวรรณ กล่าวต่อว่า ถ้าเอปสันยังคงตั้งราคาไว้ที่ระดับนี้ เชื่อว่าตลาดหลักของเอปสันสำหรับเครื่องพิมพ์หมึกแทงก์ น่าจะเป็นกลุ่มองค์กรธุรกิจขนาดกลางและย่อมมากกว่าคอนซูเมอร์ เนื่องจากมีกำลังซื้อ และมีการพิมพ์ค่อนข้างสูง แต่ในอนาคตถ้าเกิดการทำราคาลงมาเชื่อว่า เครื่องพิมพ์หมึกแทงก์จากโรงงานก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคทั่วไป
       
       ก็คงต้องเลือกกันว่าจะซื้ออิงก์เจ็ตพรินเตอร์ ประเภทไหน จะโมดิฟายต่อแทงก์เองเพื่อประหยัดค่าหมึก หรือจะซื้อของแท้จากโรงงานที่ต่อแทงก์มาให้ หรือ จะเลือกหมึกแท้หรือหมึกเทียบเท่า พฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคแท้จริงเท่านั้น จะเป็นคำตอบสุดท้ายที่ดีที่สุด
       
       Company Related Link :
       Epson
       HP

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
6232 Views
Last post October 21, 2010, 05:59:35 PM
by Nick
0 Replies
7872 Views
Last post October 23, 2010, 12:51:34 PM
by Nick
0 Replies
4422 Views
Last post January 11, 2011, 01:45:43 PM
by Nick
0 Replies
7605 Views
Last post January 13, 2011, 04:29:26 PM
by Nick
0 Replies
5301 Views
Last post February 27, 2011, 11:13:31 PM
by Nick
0 Replies
6761 Views
Last post March 11, 2011, 04:59:35 PM
by Nick
0 Replies
3158 Views
Last post April 16, 2011, 03:17:14 PM
by Nick
0 Replies
3169 Views
Last post May 03, 2011, 02:41:58 PM
by Nick
0 Replies
3534 Views
Last post July 03, 2011, 09:25:17 AM
by Nick
0 Replies
3396 Views
Last post July 08, 2011, 03:26:19 PM
by Nick