Author Topic: สบท. ชี้ กม. โทรคมถูกละเมิดเพียบ  (Read 1050 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      สบท.เผยกฎหมายโทรคมนาคมยังถูกละเมิดอีกเพียบ ล่าสุดพบสิทธิการระงับบริการชั่วคราวก็ไม่เป็นจริง ชี้ทางออกต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีตรวจสอบคุณภาพบริการ และสร้างช่องทางให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วม
       
       นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) กล่าวว่า ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.) เรื่องมาตรฐานสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 25 ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคในการระงับใช้บริการชั่วคราวได้ โดยแจ้งให้บริษัททราบล่วงหน้า 3 วัน โดยบริษัทจะกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำสุดหรือสูงสุดที่ยินยอมให้ระงับการใช้บริการชั่วคราว ที่สำคัญคือบริษัทไม่มีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ผู้บริโภคขอระงับบริการชั่วคราว เมื่อครบกำหนดการขอระงับใช้บริการ บริษัทต้องเปิดบริการให้ผู้บริโภคทันทีโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
       
       สิทธิในการระงับบริการชั่วคราวจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภคในกรณีที่มีความจำเป็นต้องระงับบริการชั่วคราว เช่น เดินทางไปต่างประเทศ หรือมีเหตุจำเป็นที่ทำให้ไม่สามารถใช้บริการได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทำให้สามารถเก็บเลขหมายของตนเองไว้ได้โดยไม่จำเป็นต้องยกเลิกบริการ
       
       ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลของ สบท. พบว่า ในทางปฏิบัติ มีเพียงผู้ให้บริการรายเดียวที่เปิดให้ผู้บริโภคสามารถระงับบริการชั่วคราวได้ 2 ปี โดยไม่คิดค่าบริการ 30 วันแรก หลังจากนั้นคิดค่ารักษาเลขหมายเดือนละ 60 บาท ขณะที่ผู้ให้บริการที่เหลือไม่ให้สิทธิผู้บริโภคในการระงับบริการชั่วคราวตามกฎหมาย หากมีการระงับบริการชั่วคราวต้องจ่ายค่าบริการตามปกติ หรือสมัครใช้โปรโมชันที่ราคาต่ำสุด หรือบางรายที่เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์บ้านและมีบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย ให้สิทธิในการระงับบริการชั่วคราวโทรศัพท์บ้านได้ แต่ต้องจ่ายค่ารักษาคู่สายโทรศัพท์ และกรณีสมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตไว้ด้วย ไม่สามารถระงับการใช้บริการชั่วคราวได้ ต้องยกเลิกบริการเท่านั้น
       
       อีกทั้งหากระงับบริการชั่วคราวโทรศัพท์บ้านจะไม่สามารถโทร.ออกหรือรับสายได้ ทำให้สัญญาณอินเทอร์เน็ตถูกตัดไปโดยอัตโนมัติ หากไม่ยกเลิกบริการ ก็จะต้องจ่ายค่าบริการรายเดือนให้กับการใช้บริการอินเทอร์เน็ตต่อไป
       
       'ข้อเท็จจริงผู้ให้บริการจะยึดผลกำไรเป็นหลักไม่ใช่กฎหมายเป็นหลัก ดังนั้นในแง่ของการปฏิบัติตามกฎหมายโทรคมนาคมจึงพบว่า มีหลายประเด็นที่ผู้ให้บริการไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ที่ชัดเจนก็คือ ระบบเติมเงินต้องไม่มีการกำหนดวันหมดอายุ หรือการต้องส่งอัตราค่าบริการให้ กทช. ดูก่อน 30 วัน แต่ส่วนใหญ่ก็ออกโฆษณาไปก่อนจึงส่งมาให้ตรวจสอบ หากฝ่ายกำกับดูแลไม่มีศักยภาพในการติดตาม ก็จะเป็นเหมือนเขียนกฎหมายให้เป็นกระดาษ ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาระบบติดตามตรวจสอบว่าผู้ให้บริการปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่'
       
       ทั้งนี้ ตามกฎหมายผู้ให้บริการจะต้องรายงานเรื่องร้องเรียนทุก 6 เดือน ซึ่งผลจากการรายงานพบว่า เรื่องร้องเรียนทั้งปีจากลูกค้า 10 กว่าล้านราย มีผู้ร้องเรียนแค่ 100 กว่าราย ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาระบบตรวจสอบการรายงานด้วย ตัวช่วยที่จะทำให้กฎหมายเป็นจริงมากขึ้นคือ 1.การลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อติดตามคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการ เช่น มีการบล็อกหรือปิดกั้นสัญญาณหรือไม่ โทร.เข้าโทร.ออกสำเร็จหรือไม่ 2.ต้องให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบ โดยเปิดช่องทางให้แจ้งเหตุว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมาย เพื่อให้ฝ่ายที่ถือกฎหมายดำเนินการต่อไป
       
       Company Related Link :
       สบท.


ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)