Author Topic: ข้อเท็จจริงที่ถูกเมินแก้สัญญามือถือ  (Read 1191 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai



     เอไอเอสยื่นหนังสือ 'จุติ' แจงประเด็นการแก้สัญญาพรีเพด ทั้งรัฐและประชาชนได้ประโยชน์ทุกฝ่าย ชี้หากไม่แก้พรีเพด ทีโอทีอาจสูญรายได้กว่า 1.38 หมื่นล้านบาทและอาจไม่ได้ทรัพย์สินโครงข่ายมากถึงระดับ 1.7 แสนล้านบาทและประชาชนไม่ได้ใช้ค่าบริการเฉลี่ยนาทีละไม่ถึง 1 บาท วอนเห็นใจคำตัดสินกก.ม.22 โยงผลของคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ซึ่งผูกพันเฉพาะคู่ความเท่านั้นซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทแต่อย่างใด
       
       แหล่งข่าวจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่าเมื่อวันที่ 7 ม.ค.ที่ผ่านมานายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส(เอไอเอส) ได้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมและความเห็นเกี่ยวกับการแก้สัญญาครั้งที่ 6 ไปยังนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.ไอซีที เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาก่อนนำเรื่องเสนอเข้าครม.โดยที่การแก้ไขสัญญาครั้งที่ 6 เป็นการปรับลดส่วนแบ่งรายได้ในระบบพรีเพด โดยไอซีทีเตรียมที่จะให้ทีโอทีฟ้องเรียกค่าเสียหายจำนวน 66,541 ล้านบาท
       
       ทั้งนี้ข้อมูลที่เอไอเอสนำส่งรมว.ไอซีที ต้องการชี้แจงว่าการแก้สัญญาทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ร่วมกันโดยเฉพาะรัฐและประชาชน โดยในส่วนประชาชนผู้ใช้บริการได้รับจากการแก้สัญญาครั้งที่ 6 คือ1. อัตราค่าบริการถูกลง เนื่องจากทีโอที ได้อนุมัติปรับเปลี่ยนค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (AC) ให้แก่ดีแทค จากอัตรา 200 บาท ต่อเลขหมายเป็น 18% ของราคาหน้าบัตรไปก่อน หลังจากนั้นทีโอทีจึงได้อนุมัติปรับลดส่วนแบ่งรายได้ของบริการพรีเพดให้แก่เอไอเอส เพื่อความเป็นธรรมและสามารถแข่งขันได้ ซึ่งทำให้จากอัตราค่าบริการเดิมที่คิดนาทีละ 12 บาท 6 บาท และ 5.50 บาท ตามพื้นที่การใช้บริการ เหลือนาทีละ 8 บาท และ 5 บาท
       
       และนับจากนั้นเป็นต้นมาอัตราค่าบริการต่อนาทีโดยเฉลี่ยของบริการพรีเพดก็ได้เริ่มปรับลดลงเป็นอันมากจากเดิมเฉลี่ยนาทีละประมาณ 5 บาท เหลือไม่ถึง 1 บาทในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลมาจากต้นทุนค่าส่วนแบ่งรายได้ปรับลดลงเป็นผลทำให้ประชาชนประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้โทรศัพท์มือถือต่อเดือนเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่เอไอเอสปฏิบัติ ตามการแก้สัญญาครั้งที่ 6 เพื่อประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการด้วยการลดค่าบริการในปีที่ 11-ปีที่ 15 ของปีดำเนินการในอัตราเฉลี่ยโดยรวมของแต่ละปีไม่น้อยกว่า 5% ของค่าบริการที่ผู้ใช้บริการต้องชำระในปีที่ 11 และในอัตราเฉลี่ยโดยรวมของแต่ละปีไม่น้อยกว่า 10% ของค่าบริการที่ผู้ใช้บริการต้องชำระในปีที่ 11 สำหรับปีที่ 16-ปีที่ 25 ของปีดำเนินการ
       
       2. ประชาชนสามารถใช้โทรศัพท์มือถือได้อย่างทั่วถึง จากการลดค่าบริการทำให้จากเดิมในปี 2544 อัตราส่วนของผู้ใช้บริการของพรีเพดต่อจำนวนประชากรของไทยทั้งหมด (Penetration Rate) มี 5.08% เพิ่มสูงขึ้นถึง 98% ในปี 2553 หรือจาก 3.5 แสนคนในธ.ค.43 เป็น 27.6 ล้านคนในเดือนพ.ย. 53เฉพาะของเอไอเอส และมีแนวโน้มจะสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าพรีเพดเป็นบริการที่เข้าถึงประชากรได้อย่างทั่วถึง ในทุกภาคส่วนของประเทศ ช่วยกระจายความเจริญและยกระดับมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
       
       ส่วนผลประโยชน์ที่ทีโอทีได้รับกล่าวคือ 1.เมื่อประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ทั่วถึงมากขึ้น ทำให้เอไอเอสมีรายได้เพิ่มมากขึ้นและทีโอทีจะได้รับส่วนแบ่งรายได้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ในทางกลับกัน หากไม่มีการปรับลดส่วนแบ่งรายได้ตามการแก้สัญญาครั้งที่ 6 ทั้ง เอไอเอส และทีโอที ย่อมต้องสูญเสียรายได้เป็นเงินจำนวนมาก หากพิจารณาเฉพาะทีโอทีจะสูญเสียส่วนแบ่งรายได้เป็นเงินประมาณ 13,863 ล้านบาท
       
       2.จากการขยายตัวของผู้ใช้บริการ ทำให้เอไอเอส ต้องลงทุนสร้างโครงข่ายเป็นเงินจำนวนมหาศาล ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนสถานีฐาน มากกว่า 12,000 สถานีฐาน ครอบคลุมพื้นที่การใช้งานทั่วประเทศ อีกทั้งเอไอเอสได้ส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าวให้ทีโอที ตามสัญญามาโดยตลอดซึ่งภาพรวมในปี 2553 คิดเป็นมูลค่า 165,851 ล้านบาทและประมาณการจนถึงปี2556 ไม่ต่ำกว่า 174,351 ล้านบาท
       
       ทั้งนี้เอไอเอสมีความเห็นว่า ตัวเลขผลต่างหรือผลกระทบที่ได้มีการกล่าวอ้างในที่ประชุมคณะกรรมการมาตรา 22 นั้น เป็นตัวเลขที่ยังมิอาจคำนวณพิสูจน์ทราบตามหลักเศรษฐศาสตร์ได้ อีกทั้งไม่สามารถยืนยันได้ว่าหากคิดอัตราส่วนแบ่งรายได้ตามสัญญาฯ เดิมแล้ว รายได้ของ เอไอเอส จะมีจำนวนเท่ากับรายได้ในปัจจุบันหรือไม่
       
       อีกทั้งคณะกรรมการประสานงาน (เสียงข้างมาก) ได้โยงผลของคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ซึ่งผูกพันเฉพาะคู่ความเท่านั้นซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท แต่อย่างใด มากำหนดผลในการพิจารณาการดำเนินการตามสัญญาฯโดยไม่ได้พิจารณาตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งปัจจัยสำคัญในการแก้ไขสัญญาเป็นการทำหลังจากที่ทีโอทีได้แก้ไขให้แก่ผู้ได้รับสัมปทานภายใต้กสท ก่อน และเพื่อให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมในการแข่งขัน หลังจากนั้นจึงได้มีการแก้ไขสัญญาให้ เอไอเอส
       
       Company Related Link:
       ICT

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)