Author Topic: เกาไม่ถูกที่คัน? มะกันลงดาบ "เว็บเถื่อน"  (Read 1273 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai



     ทางการสหรัฐฯแสดงท่าทีล้างบาง"เว็บเถื่อน"ที่เกี่ยวข้องกับการโหลดไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ทุกประเภทอย่างจริงจัง ล่าสุดประกาศยึดโดเมนเนมมากกว่า 77 เว็บไซต์แบบสายฟ้าฟาดโดยไม่มีการเตือนเจ้าของเว็บ หวังฆ่าตัดตอนต้นตอแชร์ไฟล์เถื่อนละเมิดลิขสิทธิ์ให้หมดสิ้นจากสหรัฐฯ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อมาตรการนี้มีโอกาสน้อยที่จะบังคับใช้กับเว็บไซต์เถื่อนในไทย ย้ำสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการ"เกาไม่ถูกที่คัน"เนื่องจากหากโดเมนเนมถูกปิดไป เว็บไซต์เถื่อนเหล่านี้ก็สามารถย้ายไปเปิดชื่อโดเมนเนมอื่นได้อยู่ดี
       
       สำนักงานศุลกากรและตรวจคนเข้าเมือง สังกัดกระทรวงความมั่นคงภายในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นหน่วยงานที่ออกแถลงการณ์ปิดยึดโดเมนเนมมากกว่า 77 เว็บไซต์เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา คาดว่าตัวเลขนี้จะขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากสำนักงานสหรัฐฯระบุว่ามีแผนเข้ายึดโดเมนที่เกี่ยวข้องกับการแชร์ไฟล์ผิดกฎหมายทุกประเภท รวมถึงเว็บไซต์จำหน่ายสินค้าผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่องนับจากนี้
       
       สิ่งหนึ่งที่ถูกพูดถึงอย่างมากในความเคลื่อนไหวครั้งนี้ คือการใช้วิธีเข้ายึดโดเมนเนมโดยไม่มีการแจ้งเตือนให้เจ้าของเว็บไซต์ได้รู้ตัวก่อน จุดนี้เป็นเพราะร่างกฎหมายใหม่ของสหรัฐฯที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการยึดโดเมนเนมโดยไม่จำเป็นต้องขอหมายศาลใดๆ และไม่ต้องรอให้มีเจ้าทุกข์ดำเนินการฟ้องร้องเพื่อขอให้ศาลสั่งปิดเว็บไซต์
       
       ร่างกฎหมายนี้เป็นไปตามมติของวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่ได้แสดงความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่ารัฐบาลมีสิทธิ์เข้ายึดโดเมนเนมของเว็บที่สร้างมาบนจุดประสงค์เผยแพร่ไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์เพียงอย่างเดียว โดยไม่สามารถแสดงวัตถุประสงค์ เพื่อการค้าอย่างถูกกฎหมายได้ แน่นอนว่าเป้าหมายคือการตัดไม้ข่มนามเว็บไซต์ตระกูล"บิตทอร์เรนต์" ซึ่งเป็นขบวนการดาวน์โหลดไฟล์ผิดกฏหมายที่มีอยู่ทั่วมุมโลก หลายฝ่ายเชื่อว่าเพราะแรงกดดันจากนานาอุตสาหกรรมอเมริกัน ทั้งอุตสาหกรรมการผลิตเกม การผลิตรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และดนตรี ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากเว็บไซต์เถื่อนเหล่านี้ ทำให้ร่างกฎหมายนี้สามารถผ่านมติได้อย่างราบรื่น
       
       ข้อมูลเบื้องต้นพบว่าการสั่งยึดโดเมนเนมเว็บไซต์เถื่อนในสหรัฐฯครั้งนี้มีผลในระดับ ICANN เป็นการสั่งปิดที่มีผลกับเว็บไซต์ที่มีนามสกุล .com .net และ .us ทั้งหมดเป็นการกระทำที่ไม่เข้าข่ายการละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคลของชาวอเมริกัน เนื่องจากสหรัฐฯมีกฎหมายต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ Combating Online Infringements and Counterfeits Act (COICA) และกฎหมายลิขสิทธิ์ดิจิตอล Digital Millenium Coptyright Act (DMCA) คุ้มครองอยู่
       
       แม้การสั่งปิดโดเมนเนมอย่างเด็ดขาด-ชัดเจน-รวดเร็ว จะแสดงถึงความแข็งแรงของกฎหมายซึ่งทำให้ผู้ประกอบการอเมริกันมีความมั่นใจมากขึ้น แต่นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษากฎหมาย บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายไพบูลย์ จำกัด ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่าเป็นการแก้ปัญหาดาวน์โหลดไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ที่ไม่ถูกทาง เนื่องจากหากโดเมนเนม .com ถูกปิดกั้น ผู้สร้างเว็บไซต์โหลดไฟล์ผิดกฎหมายก็สามารถใช้โดเมนเนมอื่นเช่น .info ฯลฯ แล้วจดทะเบียนจากพื้นที่ที่มีช่องว่างทางกฎหมายระหว่างประเทศก็ได้
       
       สำหรับการผ่านร่างกฏหมายที่ให้อำนาจรัฐในการสั่งยึดโดเมนเนมเว็บไซต์ผิดกฎหมายในประเทศไทย ไพบูลย์มองว่าหากทำได้ก็จะมีผลกับโดเมนเนม .th เท่านั้น ซึ่งไม่มีประโยชน์เพราะผู้สร้างเว็บไซต์เถื่อนในประเทศไทยจำนวนมากใช้โดเมนเนมจากต่างประเทศอยู่แล้ว และกฎหมายในประเทศไทยก็ยังไม่สามารถบังคับใช้ข้ามประเทศได้
       
       "ตอนนี้เขาแชร์ไฟล์ผิดกฏหมายกันแบบเพียร์ทูเพียร์ (การส่งข้อมูลระหว่างเครื่องต่อเครื่องโดยไม่ผ่านระบบโดเมนเนม) บางรายมีการสร้างระบบคลาวด์ขึ้นมาเพื่อแชร์ไฟล์ในกลุ่มตัวเอง การแก้ปัญญาที่ควรทำคือการสร้างกลุ่มชาวเน็ตที่จะมาควบคุมดูแลตัวเอง การกระจายตัวเพื่อสอดส่องสังคมออนไลน์จะทำได้เร็วและมีประสิทธิภาพ"
       
       อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าความเคลื่อนไหวนี้เป็นสัญญาณเริ่มต้นที่ดีสำหรับการล้างบางขบวนการแชร์ไฟล์ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะในสังคมนักพัฒนาแอปพลิเคชัน นักผลิตคอนเทนท์ดิจิตอลทั้งหลายซึ่งที่ผ่านมาถูกเบียดบังผลประโยชน์เพราะขบวนการแชร์ไฟล์ผิดกฎหมายเหล่านี้มาตลอด


ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
7450 Views
Last post February 14, 2009, 12:00:18 AM
by Webmaster
0 Replies
6167 Views
Last post March 03, 2009, 06:05:12 PM
by Reporter
0 Replies
5081 Views
Last post May 03, 2009, 05:52:53 PM
by IT
0 Replies
3863 Views
Last post August 28, 2009, 09:43:46 AM
by IT
0 Replies
7221 Views
Last post June 10, 2010, 02:08:06 PM
by Nick
0 Replies
5293 Views
Last post July 16, 2010, 10:18:47 PM
by Nick
0 Replies
4500 Views
Last post August 27, 2010, 04:28:08 PM
by Nick
0 Replies
6475 Views
Last post October 21, 2010, 05:59:35 PM
by Nick
0 Replies
6217 Views
Last post October 21, 2010, 10:23:15 PM
by Nick
0 Replies
8151 Views
Last post October 23, 2010, 12:51:34 PM
by Nick