Author Topic: วิกฤตพ่นพิษธุรกิจไอที บริษัทข้ามชาติถอนทัพ  (Read 1802 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Webmaster

  • Nick Computer Services
  • Administrator
  • Full Member
  • *
  • Posts: 168
  • Karma: +999/-0
  • Gender: Male
  • Love Me Love My Services
    • Computer Service

จับตาวิกฤตเศรษฐกิจพ่นพิษบริษัทไอทีข้ามชาติต้องถอนทัพออกจากเมืองไทย ทั้งไอทีซีเคียวริตี้-เอสไอ-เกม-มือถือ วงในเผยสัญญาณชัดครึ่งปีหลังชี้ต้นทุนไม่คุ้มรายได้หวั่นลูกค้าถูกลอยแพ ขณะที่หน้ายังมีหน้าใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง "อีเอ" ประกาศปิดสาขาทั่วโลก 12 แห่ง หนึ่งในนั้นคือ ไทยดีเดย์ 28 ก.พ.นี้


นายนักรบ เนียมนามธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียวริตี้ ซิสเต็มส์ เอพี จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ผลกระทบจากปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลให้ขณะนี้เริ่มมีบริษัทไอทีที่เข้ามาเปิดตลาดในเมืองไทยต้องถอนทัพหรือปิดฉากธุรกิจในเมืองไทยไปบ้าง อย่างไรก็ตามต้องรอดูสถานการณ์ในช่วงครึ่งปีหลังว่าจะเป็นอย่างไร โดยปัจจุบันมีบริษัทผู้ให้บริการไอทีซีเคียวริตี้ในสหรัฐอเมริกาประมาณ 3 รายได้ปิดตัวลงเพราะไม่สามารถแบกต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นได้ แม้ว่าจะเป็นบริษัทที่ไม่ใหญ่มาก แต่แสดงให้เห็นว่าตลาดซีเคียวริตี้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้เช่นกัน

โดยหนึ่งในบริษัทที่ปิดทำการไปได้เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา แม้ไม่ได้เปิดสำนักงานในไทยโดยทำตลาดผ่านตัวแทนจำหน่ายซึ่งมีองค์กรในประเทศไทยเป็นลูกค้าอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งตัวแทนจำหน่ายจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบดูแลบริการหลังการขายต่อไป ไม่เช่นนั้นลูกค้าก็จะถูกลอยแพ

อย่างไรก็ตาม หากดูเฉพาะบริษัทด้าน ซีเคียวริตี้ที่มีสาขาในไทยนั้น หลักๆ ซึ่งแอ็กทีฟในตลาดมีไม่เกิน 6 บริษัท ส่วนบริษัทอื่นจะเข้ามาเป็นลักษณะโปรเจ็กต์มากกว่า และยังคงเข้ามาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะบริษัทสัญชาติเอเชีย เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน โดยบริษัททั้งหมดยังไม่มีแนวโน้มปิดตัวแต่อย่างไร และเร็วเกินไปที่จะคาดการณ์

"ตลาดไอทีซีเคียวริตี้ในไทยอยู่ในช่วงกำลังเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% หรือมีมูลค่าประมาณ 4 พันล้านบาท เพราะการลงทุนระบบซีเคียวริตี้ไม่ใช้เงินลงทุนมากเท่าการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานบวกกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์มีจำนวนมากขึ้น เทรนด์ของอีบิสซิเนสที่โตขึ้นทำให้ตลาดซีเคียวริตี้เติบโตและยังมีความต้องการ"

ทั้งนี้ การลงทุนระบบซีเคียวริตี้ขององค์กรต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตลดลง เพราะหลายบริษัทตัดงบประมาณการใช้จ่ายด้านไอที หรือไม่ต่อสัญญาการบำรุงรักษาระบบ ส่งผลให้บริษัทเอ็นฟอร์ซต้องหาตลาดใหม่ทดแทนคือภาครัฐซึ่งปีนี้คาดว่ารัฐบาลจะมีเมกะโปรเจ็กต์เพื่อเข้ามาช่วยกระตุ้นภาคธุรกิจ ดังนั้น โปรเจ็กต์ไอทีและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ จะมีให้เห็นมากขึ้นในปีนี้ จึงเป็นตลาดที่เอ็นฟอร์ซโฟกัสและให้ความสำคัญอย่างมาก รวมถึงกลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการและโทรคมนาคม เพราะ 3 จีที่กำลังจะเกิดขึ้นทำให้ธุรกิจคอนเทนต์เติบโต ความต้องการระบบความปลอดภัยจะตามมา

นายนักรบกล่าวเสริมอีกว่า นอกเหนือจากบริษัทซีเคียวริตี้ที่ปิดตัวแล้ว ปีที่ผ่านมามีบริษัทเอสไอรายหนึ่งจากยุโรปที่มาตั้งสาขาในประเทศไทย ได้มีการเลิกจ้าง พนักงานบางส่วน เช่น ฝ่ายขาย และฝ่ายอื่นๆ เหลือแต่ฝ่ายซัพพอร์ตเพื่อดูแลลูกค้าเก่าที่มีอยู่

ขณะที่รายงานข่าวจากวงการเกมยืนยันว่า บริษัท อีเอ (ประเทศ) ผู้ผลิตเกมชื่อดังมีแผนปิดสำนักงานสาขาในไทยอย่างเป็นทางการวันที่ 28 ก.พ.ศกนี้ โดยโอนความรับผิดชอบทั้งหมดให้สิงคโปร์ดูแล โดยนายวิศาล พิจิตบันดาล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อิเลคโทรนิค อาร์ต เวิลด์ แอลแอลซี (ประเทศไทย) จำกัด หรืออีเอ กล่าวว่า บริษัทยังไม่มีรายละเอียดหรือข้อมูลใดๆ ในตอนนี้ และจะแถลงข่าวอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม เมื่อต้นเดือน ก.พ.ที่ผ่านมามีรายงานข่าวจากต่างประเทศแจ้งว่า บริษัทอีเอมีแผนที่จะปิดสำนักงานสาขาจำนวน 12 แห่ง พร้อมกับลดพนักงานจำนวน 11% ของพนักงานทั้งหมด 1 หมื่นคน เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย 65-75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใน 12 เดือน หลังจากบริษัทขาดทุนสุทธิในไตรมาส 3 (สิ้นสุดเดือน ธ.ค.) 641 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขณะที่เมื่อปลายปีที่ผ่านมา บริษัท โมโตโรล่า (ประเทศไทย) จำกัด ได้ปิดสาขาในประเทศไทย และให้สำนักงานที่สิงคโปร์ดูแลตลาดเมืองไทยแทน เพื่อเป็นการลดขนาดองค์กรหลังปรับโครงสร้างใหม่ และลดค่าใช้จ่ายขององค์กร


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)