Author Topic: “ไชน่าเวฟ” ถล่มตลาดสมาร์ทโฟน  (Read 911 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


     มือถือจีนออกตัวแรงด้วยความพร้อมทั้งการผลิตและเทคโนโลยีที่สั่งสมมานาน สู่บทบาทใหม่ของการผันตัวเองจากแหล่งผลิตใหญ่ของโลกก้าวเข้ามาเป็นผู้ทำตลาดและสร้างแบรนด์เอง ความท้าทายใหม่นี้ส่งผลกระทบต่อผู้นำตลาดอย่างแอปเปิลและซัมซุงอย่างชัดเจน อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เริ่มหันมองความคุ้มค่าคุ้มราคามากขึ้น ส่งผลให้เกิดการก่อตัวของคลื่นกระทบฝั่งที่เริ่มจะทวีความรุนแรงภายใต้เรือธงสัญชาติจีนไปสู่ตลาดโลก
       
       ***ตลาดขยายแต่อินเตอร์แบรนด์ยอดหด
       
       ขณะที่ตลาดมือถือโลกขยายตัว ผู้ผลิตอย่าง Apple และ Samsung กลับพบว่าส่วนแบ่งตลาดของตัวเองลดลง แม้ว่า Samsung ยังสามารถครองเบอร์ 1 ของตลาดมือถือได้ด้วยยอดจัดส่ง 107 ล้านเครื่องในไตรมาสแรก แต่ก็ยังพบว่ามีสัดส่วนการตลาดที่ลดลงกว่า 2.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และนับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 4 ปีของซัมซุง ด้าน Apple ก็มีส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนโลกลดลงเล็กน้อยเช่นกัน สำหรับ 3 เดือนแรกของปีนี้ Apple สามารถจำหน่ายไอโฟนได้กว่า 43.7 ล้านเครื่องทั่วโลก ครองส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนโลกราว 15% ลดลงมาเล็กน้อยจากที่เคยทำได้ 17% ในช่วงปีที่ผ่านมา
       
       จากการสำรวจพบว่า Huawei กำลังเติบโตรวดเร็วในยุโรป ขณะที่ Lenovo เริ่มมีฐานตลาดแข็งแกร่งในตลาดนอกประเทศจีนโดยเฉพาะรัสเซีย โดย Huawei สามารถจัดส่งมือถือในช่วง 3 เดือนแรกได้กว่า 14.6 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 21.7% จากปี 2013 ด้าน TCL-Alcatel หลังจากที่มีการทำตลาดอย่างจริงจังพบว่ามีการเติบโตขึ้นกว่า 70.5% ด้วยยอดขายไตรมาสแรกกว่า 13.3 ล้านเครื่อง มากกว่า Lenovo ที่มียอดขายกว่า 13.2 ล้านเครื่อง เติบโตเพียง 55.3% จากปี 2013
       
       ด้าน Xiaomi หัวหอกสำคัญของจีนที่น่าจับตามอง พบว่ามียอดเติบโตสูงถึง 243.8% ด้วยยอดขายกว่า 11 ล้านเครื่องเพียงแค่ไตรมาสแรก หลังจากสร้างปรากฏการณ์ขายเครื่องเร็วที่สุดในโลก ด้วยคุณภาพของเครื่องแบบอัดแน่นที่ลดต้นทุนการขายหน้าร้านและเปิดขายบนระบบออนไลน์เพียงอย่างเดียว ทำให้ได้ราคาขายที่ต่ำ ขณะที่ความโดดเด่นด้านการออกแบบรอม (ROM) กลายเป็นจุดขายสำคัญที่ส่งผลให้เครื่องใช้งานได้อย่างลื่นไหล และกลายเป็นที่กล่าวขานในโลกออนไลน์


     ***จีนจริงจังสร้างแบรนด์อินเตอร์
       
       การออกมาตั้งสำนักงานในต่างประเทศของแบรนด์จีนหลากหลายยี่ห้อ สะท้อนให้เห็นความตั้งใจเจาะตลาดอย่างจริงจังของตัวผู้ผลิตเอง โดยในประเทศไทยพบว่าการกลับเข้ามาของ TCL-Alcatel ครั้งล่าสุดมีการจัดตั้งสำนักงานในไทยเพื่อวางแผนการตลาดจำหน่ายเครื่องในไทย ขณะที่ Huawei ที่มีสำนักงานอยู่ในไทยก่อนหน้าก็เริ่มมีการเพิ่มไลน์สินค้าเข้าสู่ช่องทางโมเดิร์นเทรดมากขึ้น ด้าน OPPO ก็เริ่มมีสินค้าเข้ามาทำตลาดมากขึ้น หลังมีสำนักงานในไทยอย่างเป็นทางการได้ไม่นาน แม้ว่าจะเป็นเพียงการทำตลาดกลุ่มสินค้าสมาร์ทโฟนเพียงอย่างเดียวแต่ก็เป็นการทำตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อหวังส่วนแบ่งแบบยั่งยืน
       
       และแม้ว่าจีนจะเป็นตลาดที่ใหญ่สำหรับมือถืออยู่แล้ว แต่การเปิดตัวของ Xiaomi ในประเทศสิงคโปร์ก็เป็นสิ่งตอกย้ำถึงการเริ่มบุกตลาดอย่างเอาจริงเอาจังของผู้ผลิตจีน หลังเก็บเกี่ยวความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการผลิตมาอย่างยาวนาน ด้วยรูปแบบของการเป็นมือปืนรับจ้างผลิตในอดีต


     ด้านนักวิเคราะห์จากไอดีซีเชื่อว่า การเติบโตของจำนวนเวนเดอร์อย่าง Acer, Huawei และ ZTE โดยเลือกทำตลาดโทรศัพท์มือถือ Entry Level รุ่นเฉพาะกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่างๆ เท่านั้น กลยุทธ์นี้เป็นประโยชน์มากในระยะสั้นสำหรับเวนเดอร์รายใหม่สำหรับการสร้างยอดขาย แต่ในระยะยาวแล้วอาจประสบปัญหาหากต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากผู้ให้บริการเพียงกลุ่มเดียว
       
       การเร่งสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกเพื่อนำเสนอสินค้าเข้าถึงมือผู้บริโภคโดยตรงจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ผู้ผลิตจีนต่างให้ความสนใจ และเริ่มออกมาตั้งสำนักงานในต่างประเทศมากขึ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งการเข้าไปซื้อกิจการ เพื่อหวังการเติบโตแบบก้าวกระโดด ทั้งในเรื่องของส่วนแบ่งทางการตลาดและความน่าเชื่อถือของแบรนด์อย่างการที่ Lenovo ซื้อโมโตโรล่า




     ***พฤติกรรมเปลี่ยน บริโภคเปลี่ยน
       
       การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่เริ่มเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีมากขึ้น สะท้อนออกมาเป็นสัดส่วนทางการตลาดที่เริ่มแบ่งครึ่งระหว่างตลาดล่างกับตลาดกลางถึงบนอย่างเท่าเทียมกัน ส่งผลให้ผู้ผลิตจากแดนมังกรมีโอกาสเจาะเข้าตลาดเพื่อนำเสนอทางเลือกของการใช้งานเครื่องสมาร์ทโฟนราคาถูกอย่างเต็มที่ แม้ว่าแนวทางการเริ่มต้นจะพุ่งเป้าไปที่การเข้าไปขายร่วมกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อสร้างยอดขายที่รวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น แต่ก็ถือว่าเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการสร้างแบรนด์ ช่วงการรับรู้บนขั้นตอนบุกเบิกตลาดก็ว่าได้
       
       ถกลรัตน์ แก้วกาญจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานธุรกิจอุปกรณ์สื่อสาร เอไอเอส กล่าวว่า การนำเครื่องราคาถูกเข้าขายร่วมแบรนด์นั้น เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคกลุ่มล่างได้ลองใช้เครื่องสมาร์ทโฟนบนโครงข่าย 3G อย่างเท่าเทียมกัน และแม้ว่าเอไอเอสจะขายเครื่องในราคาที่ต่ำ แต่กระบวนการตัดสินใจนำเครื่องรุ่นใดเข้ามาขายนั้นต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ทั้งขั้นตอนการผลิต การจัดส่ง การซ่อมบำรุง ตลอดจนการทดลองใช้งานในสถานการณ์จริง ก่อนการตัดสินใจนำเครื่องรุ่นใดเข้ามาขายติดยี่ห้อเอไอเอสอย่างจริงจัง คุณภาพเป็นสิ่งที่เอไอเอสเน้นย้ำเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อการใช้งานสมาร์ทโฟนแก่ผู้บริโภคทั่วประเทศ
       
       ด้านกฤษณ์ ประพัทธศักดิ์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการขายและการตลาดผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟน บริษัท โซนี่ ไทย กล่าวว่า กระแสการเปิดตลาดของเครื่องจีนเป็นอีกระดับของการใช้งานเครื่องสมาร์ทโฟน โดยเชื่อว่ากลุ่มของผู้ใช้ยังไม่ซ้อนทับกับผู้บริโภคอินเตอร์แบรนด์มากนัก และคาดว่ารูปแบบของกลุ่มเป้าหมายยังคงมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งอาจจะยังไม่ส่งผลกระทบในช่วงเวลานี้


xiaomi รุ่น mi3

     ทั้งนี้ ทิศทางการขายเครื่องในปัจจุบันเริ่มให้ความสนใจกับการเชื่อมต่อมากกว่าเน้นที่ฟีเจอร์ของเครื่องเพียงเดียว โดยเชื่อว่าตลาดจะเริ่มเข้าสู่จุดอิ่มตัวกับความสามารถหรือความเร็วของตัวเครื่องในอีก 2 ปีข้างหน้า เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในสิงคโปร์ ทำให้การทำตลาดในอนาคตจะพุ่งเป้าไปที่ความสามารถของการใช้งานร่วมกันกับอุปกรณ์อื่นภายในบ้าน และยกระดับเป็นสมาร์ทดีไวซ์ไปในที่สุด
       
       เมื่อโครงสร้างพื้นฐานเริ่มมีความสมบูรณ์มากขึ้น การมีเครื่องราคาถูกและคุ้มค่าเพื่อช่วยเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคทุกกลุ่มได้ใช้งานมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่เครื่องแดนมังกรซึ่งอัดสเปกเครื่องประสิทธิภาพสูงไว้ในสินค้า พร้อมดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว บนราคาที่เป็นธรรมจากการลดต้นทุนของตนเอง อย่าง Xiaomi จะสร้างบันทึกหน้าใหม่ให้วงการสมาร์ทโฟนได้อย่างเหลือเชื่อ ด้วยยอดขายถล่มทลายของจำนวนเครื่องหลักแสนภายในเวลาหลักวินาทีเท่านั้น
       
       แน่นอนว่ากระแสของเครื่องจีนเริ่มปรับเปลี่ยนเข้าใกล้ความเชื่อถือของผู้บริโภคในด้านคุณภาพมากขึ้น ด้วยสัญญาณที่บ่งชี้มาเป็นระลอกแม้ว่าจะยังไม่ชัดเจนมากนัก แต่ในอนาคตเชื่อแน่ว่าจะสามารถเข้ามาตีตราประทับด้านคุณภาพได้อย่างไม่ยากเย็น ด้วยศักยภาพของโรงงานผลิตและความพร้อมของประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนานบวกกับจุดแข็งด้านราคา
       
       แอปเปิล ซัมซุง ทราบแล้วเปลี่ยน!!!


xiaomi redmi note 1

   *** Xiaomi น้องใหม่มาแรง
       
       Lei Jun เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Xiaomi ในปี 2010 ด้วยเงินทุนสนับสนุนจาก Qualcomm และ Digital Sky Technologies ขณะดำรงตำแหน่งผู้บริหารบริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่ของจีนอย่าง Kingsoft โดยได้ทีมวิศวกรจีนที่เคยทำงานให้กับไมโครซอฟท์และกูเกิลมาร่วมงาน และเลือกผลิตสมาร์ทโฟนบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยมีเฟิร์มแวร์ของตนเองชื่อ MIUI ซึ่งกลายเป็นจุดเด่นที่แข็งแกร่งของสมาร์ทโฟนในเวลาต่อมา
       
       ยุทธศาสตร์ของ Xiaomi นั้นจะเรียกว่าปฏิวัติวงการสมาร์ทโฟนของโลกก็น่าจะได้ เพราะรูปแบบการขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์โดยที่ไม่มีหน้าร้าน ด้วยเหตุผลที่ว่าช่วยลดต้นทุนและทำให้ขายสินค้าได้ถูกลง ทำให้เกิดรูปแบบการขายที่ล้ำหน้ากว่าใครในยุค ปัจจุบัน Xiaomi ไม่มีโรงงานเป็นของตนเอง ยังคงจ้างผลิตด้วยโรงงานคุณภาพเช่นเดียวกับไอโฟน พร้อมการตรวจสอบคุณภาพอย่างละเอียดทุกขั้นตอน ด้วยแนวความคิดเริ่มต้นที่ว่า 'บริษัทเราคือผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ทำงานได้ดีเหมือนกับพีซี นี่คือความคิดใหม่มาก และไม่เคยมีใครทำมาก่อน' ตลอดระยะเวลา 3 ปี สถิติยอดขายเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดีว่าสมาร์ทโฟน Xiaomi เป็นมากกว่าเครื่องสมาร์ทโฟนธรรมดา จนส่งผลให้มูลค่าของบริษัทสูงถึง 1 หมื่นล้านเหรียญในปัจจุบัน

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)