ผู้เชี่ยวชาญเสนอทางออกแก่นักพัฒนาเว็บคนไทย เป็นการหลีกเลี่ยงการทำผิดกฎหมายในทุกกรณี พร้อมทั้งต้องเร่งสร้างวัฒนธรรมในการใช้สิทธิเสรีภาพในการบริโภคข่าวสารอย่างจริงจังกันเสียที...
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 เม.ย.2552 สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้จัดงานเสวนางานจิบกาแฟคนทำเว็บหัวข้อ "ทำเว็บแบบไม่ต้องลงทุน ใช้ฟรีแวร์แทนซอฟต์แวร์เสียเงิน" ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ฟรีที่คนทำเว็บไซต์ ควรมีไว้เพื่อใช้ทดแทนซอฟต์แวร์ผิดลิขสิทธิ์ หรือ เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่อยากลองใช้งานโปรแกรมบางประเภทที่หากซื้อแบบมีลิขสิทธ์จะมีราคาแพงเกินความจำเป็นที่ต้องใช้งาน ผนวกกับในปี 2552 ทางรัฐบาลโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็มีนโยบายเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ทำให้มีการเข้มงวดในการตรวจสอบ จับกุมผู้ขาย หรือผู้ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า สำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มักใช้งานกันในการทำเว็บไซต์ทั่วไป อาทิ ซอฟต์แวร์แก้ไขไฟล์ข้อความ เช่น EditPlus ซอฟต์แวร์แก้ไขรูปภาพ เช่น Photoshop ซอฟต์แวร์สร้างเว็บ เช่น Dreamweaver และ ซอฟต์แวร์อัปโหลด/ดาวน์โหลดไฟล์ เช่น CuteFTP เป็นต้น โดยซอฟต์แวร์เหล่านี้ ผู้ใช้จะต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อลิขสิทธิ์ แต่นักพัฒนาเว็บคนไทยจำนวนมากที่ใช้แบบแครก หรือ ผิดลิขสิทธิ์อยู่ ทั้งที่ความจริงนักพัฒนาเว็บไซต์ชาวไทยมีทางเลือกที่จะไม่ต้องใช้ของผิดลิขสิทธิ์แล้ว เพราะมีซอฟต์แวร์ฟรีจำนวนมากที่มีความสามารถทัดเทียมกับซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ ให้ลองดาวน์โหลดไปใช้งาน รวมไปถึงบริการเว็บโฮสติ้ง และเว็บไซต์สำหรับฝากไฟล์ รวมทั้งฝากรูปฟรีบนอินเทอร์เน็ต
นายศุภเดช สุทธิพงศ์คณาสัย ผู้ดูแลเว็บไซต์
www.freeware.in.th 3 นาทีเพื่อพีซีถูกลิขสิทธิ์ และพิธีกรรายการแบไต๋ไฮเทค กล่าวว่า สำหรับการใช้งานซอฟต์แวร์ของคนไทย ที่ผ่านมาให้ความสำคัญกับการเคารพทรัพย์สินทางปัญญาน้อย ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์จึงรุนแรง โดยอาจมีทั้งละเมิดโดยไม่ตั้งใจ และกลุ่มที่ต้องใจจะละเมิด ดังนั้น จึงจำป็นที่ต้องให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานซอฟต์แวร์ฟรี ที่ขณะนี้มีให้เลือกใช้งานมากมายบนอินเทอร์เน็ต เพียงแต่ต้องค้นหา และทำความเข้าใจกับโปรแกรมต่างๆ
ผู้ดูแลเว็บไซต์
www.freeware.in.th กล่าวอีกว่า ส่วนผู้ที่เริ่มต้นทำเว็บไซต์ของตัวเอง มีเว็บไซต์รับจดฟรีโดเมนแนะนำ คือ .co.cc ที่ใช้ฟรีนาน 1 ปี อีกทั้งยังรองรับระบบจัดการคอนเทนท์ หรือ CMS ได้ง่าย ชี้ DNS แบบอัตโนมัติ ด้านเว็บโฮสติ้งที่อยากแนะนำ คือ
www.freehostia.com ที่ฝากข้อมูลได้ฟรีถึง 250 MB ส่วนผู้ที่กลัวว่าข้อมูลจะเกินความจุฟรี อยากให้ลองใช้บริการเก็บรูปของ
www.flickr.com เพราะเก็บรูปได้ฟรีไม่จำกัด แต่มีโควต้าอัพเดทได้เดือนละ 100 MB ส่วนบริการฝากไฟล์สำหรับผู้ที่ต้องการ แบ่งไฟล์ให้คนอื่นๆ ได้ดาวน์โหลด มีเว็บไซต์แนะนำ เช่น มีเดียไฟร์ดอทคอม
www.mediafire.com หรือ เว็บไซต์ในประเทศ เช่น อัพโหลดทูเดย์ดอทคอม
www.uploadtoday.comนายศุภเดช กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม ซอฟต์แวร์ที่เป็นฟรีค่าลิขสิทธิ์ สามารถดาวน์โหลดมาลองได้ดูได้ที่
www.freeware.in.th ที่ได้บ่งหมวดหมู่ซอฟต์แวร์ไว้ตามประเภทการใช้งาน และขึ้นตอนการใช้งานแบบย่อให้ดูประกอบได้ โดยสิ่งที่ผู้ใช้งานฟรีแวร์ไทยน่าจะทำ เพื่อตอบแทนนักพัฒนาซอฟต์แวร์เหล่านี้ คือ การเลือกบริจาคเงินเพื่อสนับสนุน หรือช่วยคลิกแบนเนอร์โฆษณาในหน้าเว็บไซต์บ้าง เพื่อที่จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถอยู่รอดได้ต่อไป ไม่อยากให้คนไทยเป็นแค่คนที่รอดาวน์โหลดใช้อย่างเดียว
ด้าน นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ เจ้าของเว็บไซต์
www.tarad.com กล่าวในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้บริการออนไลน์ และเว็บแอพลิเคชันว่า ขณะนี้ มีเว็บไซต์ไมโครบล็อกกิ้งสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ใช้งานฟรีๆ โดยถ้านำมาประยุกต์ใช้กับการทำเว็บไซต์ จะมีประโยชน์มาก สำหรับคนที่ต้องการทำกิจกรรม หรือ แจ้งข่าวให้สมาชิก นั่นคือ เว็บไซต์ทววีทเตอร์ดอทคอม
www.twitter.com ที่เป็นรูปแบบการแจ้งถึงสถานะของตัวผู้ใช้ (ทวีต) ในแต่ละวัน ทำให้คนที่ตามดูรู้ว่ากำลังทำอะไร หรือมีข่าวสารอะไรใหม่ออกมาบ้าง ทั้งนี้เชื่อว่าตัวทวีทเตอร์ จะกลายเป็นเทรนด์ใหม่ของการเล่นสังคมออนไลน์ นอกเหนือจากเว็บไซต์ดังๆ เช่น ไฮไฟว์ หรือ เฟซบุ๊ค
ที่มา: thairath.co.th