Author Topic: “ไมโครซอฟท์” เร่งขาย Azure หวังองค์กรใช้แทนศูนย์ข้อมูลสำรอง  (Read 962 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


“ไมโครซอฟท์” สบช่องขาย Azure ดึงสถานการณ์เซิร์ฟเวอร์ล่มเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นบทเรียน เชื่อปีหน้าเติบโตมากกว่า 4 เท่า จากลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ที่จะหันมาให้ความสำคัญมากขึ้น ล่าสุดเผยผู้ใช้ในไทยกว่า 800 รายแล้ว พร้อมแนะนำ “บัซซี่บีส์” อีกหนึ่งสตาร์ทอัปไทยที่นำ Azure ไปใช้จนสร้างฐานลูกค้ากว่า 2 ล้านราย
       
       นางสาวสุชาลักษณ์ สรณานุสรณ์ ผู้จัดการกลุ่มธุรกิจสินค้าเซิร์ฟเวอร์ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้ข้อมูลถึงภาพรวมการใช้งานระบบคลาวด์ของไมโครซอฟท์ในประเทศไทยว่า ช่วงแรกจะมาจากกลุ่มองค์กรธุรกิจขนาดกลางและย่อยเป็นหลัก หรือกลุ่มที่เป็นธุรกิจสตาร์ทอัป เนื่องมาจากว่าตัว Azure จะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการวางระบบเซิร์ฟเวอร์เป็นของตนเอง ช่วยให้หลายๆ บริษัทยุคใหม่หันมาเลือกใช้งานมากขึ้น
       
       “จากเดิมระบบคลาวด์ของไมโครซอฟท์จะเน้นไปที่เป็นบริการให้แก่ลูกค้าของไมโครซอฟท์เป็นหลัก แต่ปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนเป็นการที่ลูกค้านำไปให้บริการแก่ผู้ใช้อีกต่อหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตที่สูง และเชื่อว่าจะสามารถสร้างรายได้ในระยะยาวให้แก่ไมโครซอฟท์ในอนาคต”
       
       ขณะเดียวกัน ในช่วงสถานการณ์เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างการที่เซิร์ฟเวอร์ล่มที่ตึก กสท บางรัก น่าจะกลายเป็นบนเรียนสำคัญที่ชี้ให้หลายๆ องค์กรเล็งเห็นว่าระบบคลาวด์อย่าง Azure สามารถนำเข้าไปใช้เป็นระบบสำรอง เพื่อป้องกันทั้งภัยพิบัติ และสถานการณ์ที่ไม่ปกติได้
       
       นายเอกราช คงสว่างวงศา ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) กล่าวเสริมว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะทำให้หลายบริษัทเริ่มให้ความสนใจการทำศูนย์ข้อมูลสำรอง (Disaster Recovery) ด้วยระบบคลาวด์มากขึ้น เพราะถ้าเกิดเหตุเซิร์ฟเวอร์ที่วางไว้ในประเทศมีปัญหาก็สามารถสลับไปใช้งานคลาวด์ที่วางไว้ในต่างประเทศได้ทันที
       
       “เมื่อมีการทำศูนย์ข้อมูลสำรองก็จะช่วยให้ภาคธุรกิจยังดำเนินต่อไปได้ และจากดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ 8 แห่งของไมโครซอฟท์ น่าจะช่วยลดความกังวลเรื่องระบบล่ม เพราะที่ผ่านมายังไม่เคยมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นกับระบบคลาวด์ขนาดใหญ่ของไมโครซอฟท์”
       
       โดยปัจจุบันลูกค้าในประเทศไทยที่ใช้งาน Azure จะอยู่ที่ราว 800 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมากว่า 400% และเชื่อว่าในปีหน้าจะยังมีอัตราการเติบโตที่มากกว่านี้อีก เพราะเริ่มมีสตาร์ทอัปหลายๆ รายเริ่มนำไปใช้และประสบความสำเร็จ ในขณะที่องค์กรขนาดใหญ่ที่อาจจะใช้เวลาในการเตรียมตัว เพราะปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีเซิร์ฟเวอร์อยู่ภายในองค์กรอยู่แล้ว และน่าจะพร้อมเข้าไปใช้คลาวด์ในปีหน้า
       
       นางณัฐธิดา สงวนศิลป์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด กล่าวว่า ด้วยตัวบัซซี่บีส์เกิดขึ้นมาจากพฤติกรรมการใช้งานโซเชียลมีเดียของคนไทยที่มีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดแนวคิดที่จะทำแอปพลิเคชันเพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อเก็บสะสมแต้ม และนำไปแลกสิทธิพิเศษต่างๆ ซึ่งถือว่าได้รับการตอบรับค่อนข้างดีในช่วงปีที่ผ่านมา
       
       “แนวทางธุรกิจหลักๆ ของบัซซี่บีส์ จะมีทั้งการเข้าร่วมกับบริษัทขนาดใหญ่เพื่อให้บริการ ซีอาร์เอ็ม พริวิลเลจ แอปพลิเคชัน ที่รู้จักกันดีก็จะเป็นอย่างซัมซุง กาแลกซี กิฟต์ และเอไอเอส พริวิลเลจ อีกส่วนหนึ่งคือการที่ให้ลูกค้านำแต้มสะสมมาแลกดีลต่างๆ ที่ทางบัซซี่บีส์หามา เฉลี่ยอยู่ราวเดือนละ 300-500 ดีล และสุดท้ายคือเป็นช่องทางออนไลน์มีเดีย ใช้โฆษณา หรือทำวิจัยในฐานลูกค้าแมสได้”
       
       ซึ่งสิ่งที่ Azure เข้ามาช่วยบัซซี่บีส์ก็คือในแง่ของค่าใช้จ่ายด้านไอทีเบื้องต้นที่ไม่ต้องลงทุนตั้งเซิร์ฟเวอร์ด้วยตนเอง ขณะเดียวกันยังสามารถเพิ่มปริมาณการใช้งานได้เรื่อยๆ หรือเลือกเพิ่มเป็นเฉพาะช่วงเวลาที่จัดแคมเปญ พร้อมยกตัวอย่างตอนที่ซัมซุงจัดแคมเปญให้ลูกค้าที่ใช้งานสมาร์ทโฟนใช้สิทธิดูหนังเรื่อง พี่มากพระโขนง ซึ่งในเวลานั้นมีลูกค้ากดเข้าใช้งานพร้อมกันกว่า 2 หมื่นราย ซึ่งถ้าเป็นการใช้งานเซิร์ฟเวอร์ปกติอาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้
       
       ปัจจุบันฐานลูกค้ารวมทั้งหมดชองบัซซี่บีส์จะอยู่ที่ราว 2 ล้านราย โดยส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าที่ใช้งานแอปพลิเคชันที่บัซซี่บีส์ไปพัฒนาให้กว่า 80% โดยจะมีลูกค้าเข้าเปิดใช้งานราว 13 ล้านครั้งต่อเดือน กินส่วนแบ่งตลาดประมาณ 95% ของพริวิลเลจแอปฯ ในประเทศไทย
       
       Company Relate Link :
       Microsoft
       Buzzebee

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics