Author Topic: กล้องแห่งอนาคต "ถ่ายก่อนค่อยโฟกัส"  (Read 1296 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


Ren Ng (เหริน อึ้ง) ซีอีโอ Lytro (ขอบคุณภาพจากนิวยอร์กไทมส์)

ถือเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นของตากล้องทั่วโลกสำหรับการแจ้งเกิดเทคโนโลยีนวัตกรรมกล้องดิจิตอลของบริษัทน้องใหม่นาม Lytro (ไลโทร) เพราะเทคโนโลยีของไลโทรสามารถทำให้นักถ่ายภาพกดชัตเตอร์ก่อนแล้วค่อยกลับมาเลือกว่าจะเล็งโฟกัสไปที่ใด สื่อนอกเชื่อนวัตกรรมนี้จะเปลี่ยนแปลงโลกแห่งการถ่ายภาพครั้งใหญ่ไม่แพ้การแทนที่ฟิลม์ของกล้องดิจิตอล
       
       เทคโนโลยี"กดชัตเตอร์ก่อนค่อยโฟกัส"กำลังจะถูกทำตลาดโดยบริษัทไลโทรซึ่งตั้งอยู่ในเมาท์เทนวิว แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา รายงานระบุว่าบริษัทกำลังพัฒนากล้องดิจิตอลรุ่นใหม่เพื่อวางจำหน่ายภายในปีนี้ โดยชื่อเรียกของเทคโนโลยีนี้คือ “light field (ไลท์ฟิลด์)” ซึ่งเป็นเบื้องหลังที่ทำให้ช่างภาพสามารถถ่ายภาพโดยไม่ต้องโฟกัสก่อน
       
       หลักการทำงานของไลท์ฟิลด์คือการเก็บข้อมูลแสงที่มากกว่าจากองศาที่หลากหลายกว่ากล้องในปัจจุบัน บนหัวใจของเทคโนโลยีนี้ซึ่งอยู่ที่ชั้นเลนส์พิเศษมีชื่อเรียกว่าไมโครเลนส์อาร์เรย์ (microlens array) ที่หมายถึงการใช้เลนส์หลายตัวเก็บซ้อนกันในพื้นที่จำกัดของตัวกล้อง โดยเมื่อนำข้อมูลดิบจากเทคโนโลยีนี้มาประมวลผลร่วมกับซอฟต์แวร์เฉพาะทาง ตากล้องก็สามารถเลือกจุดโฟกัสที่ใดก็ได้ตามต้องการด้วยการคลิกเมาส์
       
       จุดนี้ Ren Ng (เหริน อึ้ง) ซีอีโอไลโทรระบุว่าไลท์ฟิลด์จะทำให้ตากล้องถ่ายภาพได้เร็ว สามารถมีเวลามองหาจุดสนใจอื่นในภาพได้ละเอียดกว่า (เมื่อเทียบกับการเล็งโฟกัสในเวลาชั่วอึดใจก่อนการกดชัตเตอร์) และได้รับความรู้สึกอินเทอร์แอคทีฟกับภาพ เชื่อว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมในกลุ่มเพื่อนและครอบครัวซึ่งจะสนุกสนานกับการแชร์ภาพหลากหลายมุมมองบนเครือข่ายสังคม
       
       ไม่เพียงช่างภาพสมัครเล่น แต่วงการช่างภาพมืออาชีพก็มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากไลท์ฟิลด์เช่นกัน โดยช่างภาพข่าว Richard Koci Hernandez ซึ่งเคยได้ลองใช้ต้นแบบกล้องเทคโนโลยีไลท์ฟิลด์มาก่อน มั่นใจว่าเทคโนโลยีนี้จะมีผลกับการเปลี่ยนแปลงโลกแห่งการถ่ายภาพในอนาคตแน่นอน
       
       “ช่างภาพเพียงสนใจแค่ภาพและองค์ประกอบ และไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องจุดโฟกัสอีกต่อไป เพราะนั่นคือสิ่งที่สามารถทำทีหลังได้”
       
       ตามประวัติ ซีอีโออึ้งนั้นก่อตั้งบริษัทไลโทรขึ้นในปี 2006 หลังจากเสนอโครงการวิจัยเทคโนโลยีไลท์ฟิลด์ต่อมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดแล้วเรียบร้อย โดยงานวิจัยนี้กลายเป็นวิทยานิพนธ์ระหว่างการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของซีอีโอ และได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ยอดเยี่ยมจากสมาคม Association for Computing Machinery เพราะเชื่อว่าจะนำไปสู่รูปแบบการถ่ายภาพและการใช้งานกล้องดิจิตอลแนวใหม่ซึ่งจะเปิดให้นักถ่ายภาพทวีความสร้างสรรค์ยิ่งขึ้น
       
       นอกจากนี้ ภาพจากไลท์ฟิลด์ยังสามารถเป็นภาพ 3 มิติได้เมื่อมองผ่านแว่นตา 3 มิติด้วย ผลจากการเก็บภาพแสงและเลนส์หลายตัวของไลท์ฟิลด์
       
       ซีอีโอไลโทรยอมรับว่าความท้าทายของไลท์ฟิลด์อยู่ที่การต่อยอดในเชิงพาณิชย์ โดยแม้ไลโทรได้เปิดให้บริษัทอื่นเข้าซื้อลิขสิทธิ์ใช้งานเทคโนโลยี แต่ซีอีโออึ้งก็ต้องการให้ไลโทรสามารถพัฒนากล้องดิจิตอลเทคโนโลยีได้เอง โดยจะเป็นกล้องที่มีเทคโนโลยีหลักเป็นไลท์ฟิลด์ ไม่ใช่แค่"ฟีเจอร์"หรือหนึ่งในคุณสมบัติที่เป็นลูกเล่นในกล้องดิจิตอลเท่านั้น
       
       ความน่าสนใจของไลท์ฟิลด์ทำให้นักลงทุนเงินหนาอย่าง Ben Horowitz, Patrick Chung, Charles Chi และ Mike Ramsay ผู้ก่อตั้งบริการทีวีออนไลน์อย่าง TIVO เข้าร่วมเป็นกรรมการบริหารไลโทร โดยขณะนี้บริษัทมีเงินทุนรวมมากกว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ ท่ามกลางพนักงานกว่า 45 คนซึ่งเคยมีประสบการณ์ทำงานกับยักษ์ใหญ่โลกไอทีอย่างไมโครซอฟท์ กูเกิล แอปเปิล อินเทล และซันไมโครซิสเต็มส์มาก่อน
       
       ยังไม่มีการโชว์ตัวกล้องต้นแบบของไลโทรในขณะนี้ มีเพียงการเปิดให้ผู้สนใจเข้าใช้โปรแกรมเพื่อรับอรรถรสจากการเลือกโฟกัสหลังการถ่ายภาพได้ตามชอบใจ (ทดลองได้ที่ลิงค์ด้านล่าง) ซึ่งไลโทรวางแผนจะให้บริการแอปพลิเคชันเลือกโฟกัสภาพบนเฟซบุ๊กในอนาคตด้วย

Sample: http://www.lytro.com/pictures/lyt-31/embed?utm_source=Embed&utm_medium=EmbedLink


กรอบสีเหลี่ยมสีขาวจะปรากฏเมื่อผู้ใช้คลิกโปรแกรมเลือกจุดโฟกัสใหม่ในภาพ


เมื่อเปลี่ยนโฟกัสแล้ว

ความแตกต่างของภาพเมื่อช่างภาพสามารถเลื่อนจุดโฟกัสได้ตามชอบใจ

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
6917 Views
Last post June 10, 2010, 02:08:06 PM
by Nick
0 Replies
6222 Views
Last post October 21, 2010, 05:59:35 PM
by Nick
0 Replies
5912 Views
Last post October 21, 2010, 10:23:15 PM
by Nick
0 Replies
7862 Views
Last post October 23, 2010, 12:51:34 PM
by Nick
0 Replies
6378 Views
Last post December 22, 2010, 09:47:59 PM
by Nick
0 Replies
4419 Views
Last post January 11, 2011, 01:45:43 PM
by Nick
0 Replies
7598 Views
Last post January 13, 2011, 04:29:26 PM
by Nick
0 Replies
5296 Views
Last post February 27, 2011, 11:13:31 PM
by Nick
0 Replies
6755 Views
Last post March 11, 2011, 04:59:35 PM
by Nick
0 Replies
3154 Views
Last post April 16, 2011, 03:17:14 PM
by Nick