Author Topic: "ณ ขณะรัก" เมื่อโอกาสของ"ความรัก"อาจมีเพียงแค่ครั้งเดียว  (Read 5380 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Webmaster

  • Nick Computer Services
  • Administrator
  • Full Member
  • *
  • Posts: 168
  • Karma: +999/-0
  • Gender: Male
  • Love Me Love My Services
    • Computer Service

<a href="https://www.youtube.com/watch?v=6hSgaAlrims" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=6hSgaAlrims</a>

"ณ ขณะรัก" เมื่อโอกาสของ"ความรัก"อาจมีเพียงแค่ครั้งเดียว "ณ ขณะรัก" เมื่อโอกาสของ"ความรัก"อาจมีเพียงแค่ครั้งเดียว "ณ ขณะรัก" เมื่อโอกาสของ"ความรัก"อาจมีเพียงแค่ครั้งเดียว






"ณ ขณะรัก" เมื่อโอกาสของ"ความรัก"อาจมีเพียงแค่ครั้งเดียว

บทสัมภาษณ์ ผู้กำกับ"ณ ขณะรัก"รับวันวาเลนไทน์ โดย ตุลยย์

"หนังเรื่องนี้ต้องชวนแฟนมาดู" เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผู้กำกับหนุ่มรุ่นใหม่ โอ-นัฐพล วงศ์ตรีเนตรกุล บอกเล่าหลังเปิดเผยว่าภาพยนต์เรื่อง ณ ขณะรัก (A Moment in June) จะเข้าสู่โรงในเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อรับกับเทศกาลวาเลนไทน์ "และถ้าดูรอบสองก็จะยิ่งรักแฟนมากขึ้น"

ผู้กำกับวัย 28 ปี ซึ่งพกพาประสบการณ์มาอย่างโชกโชน นั่งเปิดใจให้สัมภาษณ์ถึงภาพยนต์ยาวเรื่องแรก โดยใช้งบประมาณเพียง 9 ล้านบาท แต่กลับดึงนักแสดงมากฝีมือมาร่วมโชว์ความสามารถได้อย่างน่าสนใจ


- ณ ขณะรัก เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร

หนังเรื่องนี้พูดถึงโอกาส ทั้งชีวิตและความรัก ทุกคนไม่ได้มีโอกาสหลายครั้ง ทุกคนมักจะมองว่าสิ่งที่เราไม่มีมักจะดีกว่าเสมอ แต่จริงๆ แล้ว ระยะเวลาจะบอกเองว่า ทุกสิ่งมันไม่ได้ง่ายหรือดีอย่างที่คุณเห็น เพราะบางทีโอกาสคุณอาจจะมีแค่ครั้งเดียว


- เรื่องตัวนักแสดง ชาคริต แย้มนาม, น้อย วงพรู (กฤษฎา สุโกศล แคลปป์), นุ่น-สินิทรา บุญยศักดิ์, เดือนเต็ม สาลิตุล, ตั๊ก-นภัสกร มิตรเอม, สุเชาว์ พงษ์วิไล ทำไมถึงเลือก 6 คนนี้

ชาคริต อาเชาว์ และอาตุ๊ก เคยเล่นหนังสั้นให้เรา (ไบซิเคิล แอนด์ เรดิโอ) และเล่นให้ฟรี ตอนนั้นเราเป็นนักเรียน ตอนหนังสั้นเสร็จมันประสบความสำเร็จกว่าที่ควรจะเป็นในแง่ของหนังสั้นที่ไม่มีทุนสักเท่าไหร่ เลยรู้สึกว่าเป็นหนี้บุญคุณกับ 3 คนนี้ เพราะเขาให้ใจเรา ตั้งแต่เราเป็นเด็กนักเรียนปี 3 ชาคริตเองก็มีอาชีพของเขา เราเจอเขาหลังจากที่เล่นหนังเรื่อง กุมภาพันธ์ ส่วนอาตุ๊ก-อาเชาว์ เป็นอมตะของหนังไทย คิดเลยว่าเราอยากร่วมงานกับ 3 คนนี้ นี่คือไอเดียแรกๆ พอหนังสั้นเราเสร็จ ก็คิดว่าตัวละครไปต่อได้อีก เลยเริ่มพัฒนาบท อาตุ๊ก-อาเชาว์ เพราะในหนังสั้นของเรา เขาเจอกันครั้งแรก

สำหรับชาคริตเองก็เคยบอกไว้ว่าอยากเล่นหนังกับเราอีก ส่วนพี่น้อย เราชอบเพลงและเห็นความแตกต่างของเขา เวลาที่ให้สัมภาษณ์ก็เป็นแบบหนึ่ง เวลาอยู่บนเวที ก็เป็นอีกอย่าง ขณะพูดหรือร้องเพลง ก็ไม่เหมือนกัน เหมือนมี 2 บุคลิกในตัวเอง จึงอยากค้นเจออะไรกับคนๆ นี้ แต่ไม่คิดว่าจะเล่นให้ เพราะมันเป็นหนังอิสระ แต่เขาชอบบทและอยากเล่น เขาบอกว่ามันเป็นหนังเรื่องแรกของเขาที่คนมองเขาเป็นคนปกติ ไม่ได้มองเหมือนอย่างที่เขาแสดงออกมาตอนที่อยู่บนเวที ซึ่งเราว่าชีวิตจริง เขาเป็นคนที่เรียบร้อยและน่ารักมากๆ จึงอยากให้เขาเล่นเป็นตัวละครที่เราเขียนมา แล้วมีเขาอยู่ในหัว

นุ่น กับพี่ตั๊ก ตอนแรกจะไม่ใช่ 2 คนนี้ เพราะคัดเลือกคนอื่นไว้แต่ติดปัญหาเรื่องค่าย โดยบทของตัวละครที่เป็นแฟนชาคริต มันแรง คนๆ นี้ เลยเล่นไม่ได้ แต่เราเข้าใจและยังคงนับถือเขาอยู่ แต่อย่างนุ่นเองเมื่อเขามาเล่นมันดีมากๆ เรายังคิดว่า ถ้าได้นางเอกคนแรกที่เราตั้งใจไว้ มันก็คงไม่ใช่อย่างนี้ นุ่นเองเป็นคนที่ตาเศร้า และเขาเองเป็นคนที่สปิริตนักแสดงสูงมาก เราเลยชอบเขามาก ทั้ง 6 คน จึงลงตัว ยอมรับว่าเป็นนักแสดงแม่เหล็กที่เป็นจุดขายของหนังเรื่องนี้ และที่ต่างประเทศเองก็วิจารณ์ในทางชื่นชมตัวนักแสดงมากๆ  


- รู้สึกอย่างไรกับทัศนคติคนไทยต่อหนังรักเพศเดียวกัน

ถ้าเทียบกับประเทศในเอเชีย เมืองไทยเปิดรับเรื่องนี้ อย่างตัวแสดงในละคร เรามองว่าคนอยากหยิบยกเรื่องนี้มาเป็นประเด็นมากกว่า เพราะมันอยู่ในหนัง คนจึงนำมาพูดกัน แต่สุดท้ายคนก็แยกออกว่า "มันเป็นการแสดงแต่สื่อถึงชีวิตจริงในโลกปัจจุบัน"


- ทำไมถึงเลือกชาคริตมาเล่นบทเกย์

เขาอยากเล่น คำว่านักแสดงกับดารามันต่างกัน ชาคริตเป็นนักแสดง ไม่มีภาพพจน์ ไปเดินเที่ยวปูซานด้วยกัน ก็คุยกันว่า เขาเป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง ชาคริตก็ตอบว่า ใช่ เขาเป็นคนธรรดาคนหนึ่ง เพราะเขาเป็นนักแสดงและเข้าใจว่านี่เป็นบทละคร แค่ถามว่าใครเล่นเป็นแฟนเขาในเรื่อง พอรู้ว่าเป็นพี่ตั๊ก เขาก็ว่าดีเพราะสนิทกัน แค่นั้นเอง ไม่เคยเป็นอย่างที่มีคนคิดว่า ชาคริตใช้เวลาเป็นเดือนกว่าจะตัดสินใจ เคยมีข่าวลือว่า ชาคริตและพี่ตั๊กเป็นแฟนกัน แล้วทำหนังมาบังหน้า ซึ่งไม่ใช่ ชาคริตเองก็เข้าใจว่าข่าวพวกนี้ เมื่อมันไม่ใช่ความจริง มันก็ตายไปเอง


- คนพูดกันว่า โปรดัคชั่นเนี๊ยบกว่าคนอื่น

เราพูดไม่ได้หรอก แต่เราใส่ใจเรื่องนี้มากกว่าอะไรหลายอย่าง ฉากทุกเซทผ่านกระบวนการความคิดหมด ไม่ใช่ว่าตรงไหนก็ได้ ถ้าเราไม่ใส่ใจเราคงไม่ขับรถไปถึงกำแพงเพชร เพื่อไปถ่ายโรงภาพยนต์ที่นี่ เพราะในกรุงเทพฯ สวยๆ ก็มีเยอะ แต่มันจะโอเวอร์ เราอยากได้ที่เป็นท้องถิ่นของคนกลุ่มนึง ทุกครั้งที่เราเล่าเรื่องแต่ละฉากจะมีแค่ 2-3 คน ตัวประกอบน้อยมาก เพราะโลกที่เราเล่ามันเล็กแค่คน 8 คน จึงอยากได้โรงภาพยนต์ที่สวยมากในแบบแปลกๆ มีความเก่า ขลัง ของมันเอง มันเจ๊งไปแล้ว ก็ไปทำใหม่เอง

เพื่อนที่ทำโปสเตอร์พอเห็นภาพนิ่งของหนังก็บอกว่า โปสเตอร์ในฉากหน้าโรง ที่ทำมามันผิดหมดเลยนะ เพราะในยุคนั้นโปสเตอร์หนังพวกนี้ยังไม่ออก เราก็ว่า จริง แต่คุณต้องไปดูหนังเรื่องนี้ก่อน เพราะรู้สึกว่า ในความจริงพอถึงจุดนึงแล้ว คนเราถึงจะรีเสิร์จ (research) กันเก่งร้ายกาจขนาดไหน เราว่าก็ต้องมีข้อผิดพลาดบ้าง เลยเอามาใส่ในตัวชาคริตในเรื่อง ที่เขากำลังทำหนังย้อนยุคหนึ่งเรื่อง แต่ด้วยอะไรหลายๆ อย่าง โปสเตอร์มันกลายเป็นของล้ำยุคไป 3 ปี มันเป็นการจงใจ เพราะถ้าจะทำทุกอย่างให้ย้อนยุคไปเลยมันไม่ใช่ เราไม่ได้ทำหนังย้อนยุค เราว่ามันอยู่ในช่วงที่หนังกำลังจะเสร็จ เลยเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้าเกิดมีฉากโรงหนัง แล้วโปสเตอร์จะถูกเปลี่ยนไปทุกครั้ง ส่วนชื่อหนังในโปสเตอร์ จริงๆ แล้ว มันจะไม่ได้ตรงขนาดนั้น เพราะติดเรื่องลิขสิทธิ์


- ใส่ใจในเรื่องของการแสดง (acting) แค่ไหน  

สำคัญมากเลย เราไปเรียนด้านละครเวทีมาปีกว่า ก็เพราะชอบทำงานกับนักแสดง ซึ่งก่อนไปก็ได้เรียนกับครูช่างมา 1 ปี ในเมืองไทย เราว่าทุกวันนี้การแสดงในเมืองไทยมันมีสไตล์ของมันเอง เราไม่ได้บอกว่าถูกหรือผิด แต่การให้หนังสักเรื่องขำ มีมุขตลก แค่ขำๆ แล้วจบไป เราทำไม่ได้ ยิ่งเห็นคำวิจารณ์ก็ว่ามันยิ่งสำคัญ เพราะเป็น 90% ของหนังทั้งเรื่อง


- คำวิจารณ์ของคนไทยและชาวต่างชาติในภาพยนต์เรื่องนี้

หนังมันฉายที่เทศกาลหนังปูซาน (เกาหลี) หรือเทศกาลหนังโลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 6 "The 6th World Film Festival of Bangkok 2008" ชาวต่างชาติที่ดูหนังเดินออกมาคุยกับเราก็เป็นไปในทางที่ดี

เราอยู่ต่างประเทศมา 14 ปี และอยู่เมืองไทยมา 14 ปี มันครึ่งๆ ทุกวันนี้ยังถามตัวเองอยู่ว่าบ้านเราอยู่ไหน แต่ว่าหนังเรื่องนี้ มันทำให้เรารู้สึกว่า เราคงมีความเป็นฝรั่งมากกว่าคนไทย งานเราจึงออกมาเป็นอย่างนี้ เราสื่อสารกับคนต่างชาติได้เยอะกว่า ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคนไทยไม่เข้าใจกับหนังเรื่องนี้ เพราะคนที่นั่งร้องไห้ตั้งแต่วันแรกที่ฉายในเทศกาลหนังโลกแห่งกรุงเทพฯ ก็มีเยอะ เพราะเรื่องการละครเวที ในเมืองไทยยังไม่แพร่หลาย แต่ที่ๆ เรามา คนที่ได้คุยด้วย เขาดูหนัง ดูละครเป็นเรื่องปกติ แต่คนไทยจะดูหนังฟังเพลง ชาวต่างชาติจึงเข้าใจในความเป็นละครเวทีมากกว่า ซึ่งบางทีคนที่ไม่มีพื้นฐานตรงนี้จะไม่เข้าใจ ตอนนี้วิจารณ์ที่ออกมาของชาวต่างชาติจะไปทางบวก ด้านคนไทยเองก็จะมีติเยอะกว่า เหมือนเป็นขาวดำ

เราว่าคนที่เดินเข้าไปในโรงหนังทุกคน ก็คงไม่ได้คิดหรอกว่า จะเป็นหนังที่ดีที่สุดในชีวิตของเขา เราว่าบางคนเข้าไปก็คิดไว้เหมือนกันว่า "ฉันจะไปจับผิดอะไรได้บ้างวันนี้" ถ้าหนังเรื่องนั้น มันโดนกลางหัวใจทะลุเป้า เขาก็คงจะชม แต่การติ มันก็ถือเป็นการแสดงความคิดเห็น แต่เราอ่านทั้ง 2 ด้าน เพราะถ้าเราไม่อ่านคำวิจารณ์ที่ติเรา ก็คงไม่อ่านคำวิจารณ์ที่ชมเราเหมือนกัน และเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก ก็ต้องมองก่อนว่า เราจะปรับตรงไหนบ้าง แต่สุดท้ายแล้ว ผู้กำกับทุกคนก็มีไอเดียของตนเอง ในวงการก็มีกฎอยู่ เช่น นายทุนให้เงินมาเท่านี้ ควรทำหนังประเภทไหน มันก็มีกฎเยอะอยู่แล้ว "เราได้แต่หวังว่าคนส่วนใหญ่จะเข้าใจ มากกว่าที่คนทุกคนจะเข้าใจ"

ถ้าคนเดินออกมาแล้วคิดว่ามันคล้ายกับหนังเรื่องอื่นไกลๆ ก็อาจเอาเรื่องนี้ไปเปรียบเทียบ มันก็อีกประเด็น แต่ในเรื่องนี้เปิดโอกาสให้คนวิจารณ์เยอะอยู่แล้ว เพราะมีตั้ง 3 คู่ ต้องมีคนที่ชอบและไม่ชอบในแต่ละคู่ แต่เราว่ายังดีกว่าคนเดินออกมาแล้วลืม เพราะมันไม่มีประโยชน์ เดินออกมาแล้ววิจารณ์ เราว่ามันยังดีซะกว่า ไม่ใช่เดินออกมาแล้วบอกว่า "โอเค หิวข้าว กินอะไรกันดี"


- ตอนนี้กำลังทำอะไรอยู่อีก

ทำหนังสั้น ที่ประเทศอังกฤษ เอาไว้ฉายทางโทรทัศน์ช่วงฤดูร้อน เป็นเรื่องแรกที่รับหน้าที่เป็นผู้กำกับอย่างเดียว โครงการนี้ในทุกปีช่องนี้ เขาจะเลือกผู้กำกับหน้าใหม่ เพื่อดันคนกลุ่มใหม่เข้ามาในวงการ เราก็ส่งใบสมัครจาก 500 คน เหลือ 7 คน แล้วพาไปทำงานกับทีมงานมืออาชีพ แล้วให้มาเจอกับโปรดิวเซอร์ที่มีบท ซึ่งอยากให้ผู้กำกับแต่ละคนทำ โดยที่ไม่รู้ว่าจะเป็นบทไหน แต่เขามีบทอยู่ในมือ และเลือกไว้แล้วตอนที่สัมภาษณ์เรา


- จะได้เห็นผลงานในเมืองไทยอีกไหม

ต้องได้ดูสิ แต่เราอยากจะดูกระแสของหนังเรื่องแรกก่อนว่าดีหรือไม่ เราไม่ได้เป็นผู้กำกับหนังอิสระ แต่คนเราทุกคนต้องมีวิธีเริ่มมาก่อน ไม่มีค่าย เราไม่ได้อยู่ที่นี่ แต่ดูหนังไทยบ่อยมาก สุดท้ายแล้ว เราอยากให้หนังไทยมันโตได้ และอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ทำอย่างนั้น ซึ่งทุกอย่างมันก็เป็นธุรกิจ เราไม่ปิดกั้นตัวเอง ถ้ามีคนเสนอบทมาแล้วมันชอบทั้ง 2 ฝ่าย ก็ทำ มันเป็นเรื่องของโอกาส


- อยากทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่ภาพยนต์

เราอยากทำละครเวที ถ้าคุณบอย (ถกลเกียรติ วีรวรรณ) ได้อ่านก็ฝากด้วย (หัวเราะ) เพราะเขาเป็นขวัญใจเรามาก เขาเป็นคนบุกเบิกคนแรกๆ ที่ทำให้ละครเวทีเป็นจริงเป็นจังขึ้นมาในเมืองไทย ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่คนแรก เพราะมีครูช่าง (ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง) ครูเล็ก (ภัทราวดี มีชูธน) ทำมาก่อน แต่เขาทำเป็นกลุ่มคนที่สนใจหรือเรียนอยู่ ซึ่งคุณบอยทำให้กับคนทางบ้านดูได้ เราว่าเขาเก่ง เขาทำเป็นแนวตลาดแต่มีคุณภาพ ส่วนเรื่องที่ชอบ คือ เรื่องบัลลังก์เมฆและทวิภพ


- สิ่งที่อยากให้ภาครัฐช่วยเหลือวงการภาพยนต์

รัฐบาลยังผลักดันไม่พอ แต่เข้าใจว่าทำไมถึงเป็นอย่างนี้ เพราะศิลปะ หนัง หรือเพลง ก็จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้ ไม่ใช่สิ่งที่ดำรงชีวิต แต่อยากให้ทำเรื่องกฎหมายที่ควรออกมาเชิดชูหนังไทย เช่น เกาหลีเมื่อก่อน ที่หนังฮอลลิวู้ด 3 เรื่อง ต้องมีหนังเกาหลี 1 เรื่องเพื่อยืนโรง คนทำก็รู้ว่าจะไม่ถูกหนังฮอลลิวู้ดเบียด มันก็มีทางออก ถ้าเราทำบ้างโอกาสของหนังไทยแต่ละเรื่องที่เข้าโรง ก็จะมีมากขึ้น ตอนนี้สิ่งที่เราอยากให้เกิดขึ้น คือ ทุกๆ 2-3 สัปดาห์ หนังไทยที่เจ๋งๆ ออกมาสัก 1 เรื่อง ทั้งปี เชื่อว่าปีนั้น วงการหนังไทยพลิกแน่!!



 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
2144 Views
Last post February 13, 2009, 08:34:35 PM
by Webmaster
0 Replies
7303 Views
Last post February 14, 2009, 12:00:18 AM
by Webmaster
0 Replies
2656 Views
Last post February 19, 2009, 10:15:04 AM
by Reporter
0 Replies
1425 Views
Last post February 24, 2009, 12:48:57 AM
by Reporter
0 Replies
1297 Views
Last post March 02, 2009, 08:49:55 AM
by Reporter
0 Replies
1776 Views
Last post March 02, 2009, 11:40:36 PM
by Reporter
0 Replies
2113 Views
Last post March 02, 2009, 11:49:18 PM
by Reporter
0 Replies
1621 Views
Last post March 02, 2009, 11:52:02 PM
by Reporter
0 Replies
6045 Views
Last post March 03, 2009, 06:05:12 PM
by Reporter
0 Replies
1384 Views
Last post March 06, 2009, 11:11:15 PM
by Reporter