Author Topic: กูเกิล สกัด มือถือ "เอเซอร์-อาลีบาบา"  (Read 1113 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


Tianyu K-Touch W700


บรรยากาศเมื่อครั้งอาลีบาบาเปิดตัวระบบปฏิบัติการ Aliyun ช่วงปีที่ผ่านมา


หน้าตาของอินเตอร์เฟส Aliyun OS

กูเกิล ออกแถลงการณ์ยอมรับว่าได้คัดค้านผู้ผลิตพีซีสัญชาติไต้หวัน "เอเซอร์ (Acer)" ในการผลิตสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการของบริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่แดนมังกร "อาลีบาบา (Alibaba)" จริง เนื่องจากระบบปฏิบัติการดังกล่าวเป็นแอนดรอยด์ที่ไม่สามารถรองรับกับอุปกรณ์แอนดรอยด์อื่น ขัดต่อกฎการเป็นสมาชิกผู้พัฒนาสินค้าแอนดรอยด์ของเอเซอร์ เป็นผลให้เอเซอร์เลื่อนการเปิดตัวโทรศัพท์มือถือรุ่นนี้ออกไปไม่มีกำหนด
       
       กรณีความขัดแย้งระหว่างเอเซอร์ อาลีบาบา และกูเกิลนั้นเกิดขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยปมปัญหานั้นเกิดขึ้นบนระบบปฏิบัติการชื่อว่า "อาหลี่อวิ๋น (Aliyun)" ซึ่งบริษัทอาลีบาบากรุ้ปโฮลดิ้งของจีนเป็นผู้พัฒนาขึ้น โดยสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการ Aliyun OS มีกำหนดแถลงข่าวเปิดตัวโดยเอเซอร์ในชื่อ CloudMobile A800 ที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน แต่แล้วเอเซอร์ก็ยกเลิกงานและกำหนดวางจำหน่ายสินค้าอย่างกะทันหัน โดยไม่ระบุสาเหตุว่ายกเลิกเพราะอะไร
       
       ล่าสุด กูเกิลออกแถลงการณ์ว่าได้คัดค้านการผลิตสมาร์ทโฟน A800 ดังกล่าวจริง เนื่องจากตรวจสอบพบว่า Aliyun เป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชันหนึ่งที่ไม่รองรับกับอุปกรณ์แอนดรอยด์อื่นๆ (non-compatible version of Android) คำแถลงการณ์นี้ถูกนำไปตีความว่า อาลีบาบานำซอฟต์แวร์แอนดรอยด์ของกูเกิลไปปรับแต่งอย่างไม่ถูกต้อง
       
       แถลงการณ์ยังระบุว่า เอเซอร์ได้ทำข้อตกลงกับกูเกิลเช่นเดียวกับผู้ผลิตแอนดรอยด์รายอื่นๆ ว่าจะไม่จำหน่ายอุปกรณ์ใดๆ ที่ไม่รองรับอุปกรณ์แอนดรอยด์ จุดนี้แม้เอเซอร์จะไม่ออกมาให้ความเห็น นักสังเกตการณ์ทั่วโลกก็เข้าใจดีเพราะมากกว่า 90% ของสมาร์ทโฟนเอเซอร์นั้นใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
       
       แอนดี้ รูบิ้น (Andy Rubin) ประธานฝ่ายธุรกิจแอนดรอยด์ของกูเกิล แสดงความเห็นไว้บนเพจเครือข่ายสังคมของบริษัท Google+ ว่ากูเกิลรู้สึกประหลาดใจกับข้อเขียนของเจิง หมิง (Zeng Ming) ประธานฝ่ายกลยุทธ์ของอาลีบาบา ที่ระบุว่าอาลีบาบาต้องการให้ Aliyun OS เป็น "แอนดรอยด์แห่งประเทศจีน" เพราะ Aliyun OS ก็มีรากฐานมาจากแอนดรอยด์

ความประหลาดใจของกูเกิลเกิดขึ้นเพราะก่อนหน้านี้ อาลีบาบาย้ำมาตลอดว่า Aliyun เป็นซอฟต์แวร์มาตรฐานเปิดแพลตฟอร์มลินุกซ์ ซึ่งคนทั่วไปมีสิทธิ์นำไปใช้งานหรือพัฒนาต่อยอดได้ฟรี และแอนดรอยด์ก็สร้างจากซอฟต์แวร์ลินุกซ์ ทั้งหมดนี้ รองประธานฝ่ายธุรกิจระหว่างประเทศอย่างจอห์น สเปลิช (John Spelich) ยืนยันว่า Aliyun OS ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ทางเศรษฐกิจของแอนดรอยด์ ทำให้ Aliyun OS ไม่จำเป็นต้องทำงานร่วมกับแอนดรอยด์
       
       ผู้บริหารอาลีบาบายังแดกดันกูเกิลว่า การตัดสินใจของกูเกิลสวนทางกับจุดยืนที่เน้นเรื่องอิสระเสรีและมาตรฐานเปิดบนอินเทอร์เน็ตมาตลอด เพราะการตัดสินใจครั้งนี้สะท้อนถึงการปิดกั้นของมาตรฐานแอนดรอยด์อย่างชัดเจน
       
       ก่อนหน้านี้ เจิง หมิง เคยให้สัมภาษณ์สำนักข่าววอลสตรีทเจอร์นอล ว่าบริษัทต้องการให้ Aliyun เป็นแพลตฟอร์มที่แพร่หลายเหมือนแอนดรอยด์ในประเทศจีน ซึ่งเป็นคำพูดที่บาดหัวใจทุกบริษัทที่ถูกจีนนำไปเป็นต้นแบบและพัฒนาบริการของตัวเองขึ้นมาใช้งานในประเทศ
       
       Aliyun นั้นนอกจากเป็นชื่อระบบปฏิบัติการแล้ว ชื่อนี้ยังถูกใช้กับบริษัทในเครืออาลีบาบาที่ดำเนินธุรกิจคลาวด์คอมพิวติ้ง โดยอาลีบาบามีดีกรีเป็นผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ชรายใหญ่ที่สุดของจีน อย่าง Taobao และ Tmall จนสามารถครองแชมป์อันดับ 1 ในอุตสาหกรรมซื้อขายสินค้าออนไลน์ของจีนในขณะนี้
       
       อาลีบาบาเปิดตัวระบบปฏิบัติการ Aliyun เมื่อปีที่ผ่านมา โดยระบุว่าได้ใช้เวลา 3 ปีและวิศวกรมากกว่า 1,600 คน โดยช่วงเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา อาลีบาบาประกาศว่าสมาร์ทโฟน Aliyun OS สามารถจำหน่ายได้เกิน 10 ล้านเครื่องแล้วภายใน 10 เดือนที่เริ่มวางจำหน่ายช่วงกลางปี 2011 บนฝีมือการผลิตเครื่องของผู้ผลิตสัญชาติจีนด้วยชื่อรุ่น Tianyu K-Touch W700 และ W800 ที่ถูกอัปเวอร์ชันเป็น Aliyun2.0 สนนราคา 1,499 หยวน (ประมาณ 7,400 บาท)
       
       ทั้งหมดนี้ เมอเรียล ควน (Muriel Kuan) ประธานฝ่ายการตลาดธุรกิจสมาร์ทโฟนของเอเซอร์ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับแถลงการณ์ของกูเกิลเกี่ยวกับ Aliyun โดยกล่าวเพียงว่า ในฐานะผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ เอเซอร์พยายามที่จะประสานงานกับบริษัทพันธมิตรเพื่อนำประสบการณ์ที่ดีสู่บริโภคอย่างเต็มที่

อย่างไรก็ตาม หลังเลื่อนเปิดตัวสมาร์ทโฟนเจ้าปัญหา อาลีบาบาได้กล่าวหากูเกิลว่าเป็นผู้บีบเอเซอร์ด้วยคำขู่ยกเลิกสัญญาและความร่วมมือต่างๆ ที่เกี่ยวกับแอนดรอยด์ทั้งหมดหากสมาร์ทโฟนดังกล่าวถูกเปิดตัว จุดนี้เจ้าหน้าที่เอเซอร์รายหนึ่งยอมรับว่า กูเกิลได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับสมาร์ทโฟนดังกล่าวจริง ซึ่งตัวแทนกูเกิลปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับการหารือกับเอเซอร์ที่เกิดขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
       
       แถลงการณ์ของกูเกิลยืนยันว่า ความสามารถในการทำงานร่วมกันหรือ Compatibility นั้นเป็นหัวใจหลักของระบบนิเวศน์ทางเศรษฐกิจของแอนดรอยด์ และเพื่อสร้างความมั่นใจว่านักพัฒนา ผู้ผลิต และผู้บริโภคจะได้รับประสบการณ์ที่ดี แต่แอนดรอยด์ที่ไม่สามารถรองรับอุปกรณ์แอนดรอยด์อื่นอย่าง Aliyun นั้นจะทำให้ระบบนิเวศน์ทางเศรษฐกิจของแอนดรอยด์อ่อนแอลง
       
       กูเกิลยังย้ำว่าผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ทุกรายมีอิสระที่จะใช้ระบบปฏิบัติการคู่แข่งของแอนดรอยด์ เช่นระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟนของไมโครซอฟท์
       
       เอเซอร์นั้นเชื่อมั่นในสมาร์ทโฟน Aliyun ค่อนข้างสูง และเคยเปิดเผยว่ามีแผนจะผลิตสมาร์ทโฟน Aliyun จำนวนหลายรุ่นจนถึงปีหน้า สอดคล้องกับผู้บริหารอาลีบาบาที่เคยย้ำว่าแอนดรอยด์นั้นไม่สามารถนำประสบการณ์ที่ดีมาให้ผู้ใช้ในตลาดจีนได้ เนื่องจากการปิดกั้นของรัฐบาลจีนทำให้ผู้ใช้แอนดรอยด์ในจีนไม่สามารถใช้บริการเสิร์ชเอนจิ้นของกูเกิลรวมถึงบริการแผนที่ และอีเมล
       
       ในส่วนของอาลีบาบา การพัฒนา Aliyun จะช่วยให้นักชอปชาวจีนย้ายจากพีซีมาใช้งานบนอุปกรณ์พกพาได้เร็วขึ้น โดยตลาดผู้ใช้สมาร์ทโฟนจีนนั้นถือว่ามีอนาคตไกลมาก เพราะแม้แต่ไอดีซี (IDC) ยังพบว่าตลาดผู้ใช้สมาร์ทโฟนจีนจะมีจำนวนมากกว่าสหรัฐฯภายในปีนี้
       
       เหนืออื่นใด จีนนั้นเป็นตลาดสำคัญที่ช่วยผลักดันให้แอนดรอยด์สามารถครองแชมป์ระบบปฏิบัติการที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก แซงหน้า iOS ของแอปเปิลได้ โดยแอนดรอยด์มีส่วนช่วยให้กูเกิลสามารถทำเงินจากธุรกิจโฆษณาออนไลน์ได้ดีขึ้นในตลาดอุปกรณ์พกพา เนื่องจากบริการอย่าง"กูเกิลเสิร์ช"และ"กูเกิลแม็ปส์"นั้นถูกติดตั้งในอุปกรณ์แอนดรอยด์ทุกเครื่อง
       
       Company Related Link :
       Android
       Acer
       Aliyun
       Alibaba


ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
6226 Views
Last post October 21, 2010, 05:59:35 PM
by Nick
0 Replies
7866 Views
Last post October 23, 2010, 12:51:34 PM
by Nick
0 Replies
7601 Views
Last post January 13, 2011, 04:29:26 PM
by Nick
0 Replies
5297 Views
Last post February 27, 2011, 11:13:31 PM
by Nick
0 Replies
6758 Views
Last post March 11, 2011, 04:59:35 PM
by Nick
0 Replies
4909 Views
Last post January 18, 2012, 02:03:34 PM
by Nick
0 Replies
2154 Views
Last post April 05, 2012, 02:24:54 PM
by Nick
0 Replies
6435 Views
Last post May 15, 2012, 09:59:24 PM
by Nick
0 Replies
4106 Views
Last post July 13, 2012, 05:12:23 PM
by Nick
0 Replies
4620 Views
Last post September 10, 2012, 02:15:49 PM
by Nick