Author Topic: ก.ไอซีทีเป็นเจ้าภาพสถาปัตยกรรมไอที ตั้งหน่วยงานกลางเชื่อมข้อมูลสู่ระบบไร้กระดาษ  (Read 1021 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

กระทรวงไอซีทีเป็นเจ้าภาพ ตั้งหน่วยงานกลางสู่ Business Process หวังเป็นมาตรฐานการเชื่อมโยงข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐทั้งหมด ล่าสุดจ้างสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้าศึกษาและวิจัยโครงการภายใน 8 เดือนนี้ ตั้งเป้าระบบแล้วเสร็จทั้งหมดในปี 53


นายพิชาภพ วงษ์วันทนีย์ ที่ปรึกษาโครงการ สมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ G-ERP เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้มีแนวคิดในการจัดตั้งหน่วยงานกลางขึ้นเพื่อเป็น Business Process หรือมีกระบวนงานเป็นของตนเองสำหรับภาครัฐ ด้วยการนำแนวคิด SOA (Service-Oriented Architecture) หรือสถาปัตยกรรมไอที เข้ามาสร้างระบบการทำงานดังกล่าว ซึ่งหน่วยงานกลางนี้จะเป็นมาตรฐานในการเชื่อมโยงข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันของหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด โดยทางกระทรวงไอซีทีได้มอบหมายให้ทางสมาคมเข้ามาทำการศึกษาและวิจัยโครงการนี้ ซึ่งให้เวลาในการดำเนินการศึกษาและวิจัยทั้งหมด 8 เดือน


"ตอนนี้หน่วยงานกลางของภาครัฐแต่ละแห่ง เช่น กรมบัญชีกลาง ต่างก็มีการสร้างระบบของตนเองกันหมดแล้ว ซึ่งแต่ละหน่วยงานต่างคนต่างทำงาน ไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลกัน ทางกระทรวงไอซีทีจึงมีแนวคิดในการนำระบบทั้งหมดนี้มารวมกัน เพื่อให้สามารถคุยกันได้เป็นภาษาเดียวกัน คือกระทรวงไอซีทีต้องการสร้างภาษากลาง หรือมาตรฐานให้ทุกหน่วยงานสามารถคุยกันได้ ด้วยการนำแนวคิด SOA มาใช้ ทำให้ข้อมูลแต่ละหน่วยงานสามารถวิ่งไปหากันได้โดยอัตโนมัติ โดยแนวคิด SOA จะช่วยเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่ทำลายระบบเดิมทิ้ง"


ทั้งนี้ทางกระทรวงไอซีทีมอบหมายให้ทางสมาคมศึกษาและวิจัยโครงการนี้ เพราะกระทรวงไอซีทีจะถนัดในเรื่องของเทคโนโลยีเป็นหลัก แต่สมาคมจะถนัดเกี่ยวกับระเบียบของภาครัฐ ซึ่งการจะสร้างมาตรฐานการเชื่อมโยงและแปลกเปลี่ยนข้อมูล ถือเป็นภาระมหาศาลให้กับหน่วยงานกลาง โดยเฉพาะการทำงานหลังบ้าน ถือว่าเป็นเรื่องยากมาก


อย่างไรก็ตาม หากสามารถจัดตั้งหน่วยงานกลางขึ้นมาได้สำเร็จ จะส่งผลดีมากมายหลายประการ อาทิ ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการทำงานของภาครัฐ, การให้บริการข้อมูลมีความโปร่งใส, การทำงานมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และหน่วยงานผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลให้ยุ่งยาก ทุกอย่างจะกลายเป็น paperless คือข้อมูลเป็นออนไลน์และไม่มีการใช้กระดาษ


นายพิชาภพ กล่าวปิดท้ายว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวกำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นในการศึกษาและวิจัย โดยคาดว่าระบบทั้งหมดจะสามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ภายในปีงบประมาณหน้า หรือปี 2553 ซึ่งปัจจัยที่โครงการนี้จะประสบความสำเร็จได้ คือหน่วยงานกลางแต่ละแห่งของภาครัฐต้องมาร่วมมือกัน ซึ่งตอนนี้ทุกหน่วยงานก็เห็นชอบในแนวคิดนี้แล้ว ส่วนอีกปัจจัยคือเจ้าภาพต้องมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามระบบนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องรอดูผลวิจัยก่อน จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการเลือกเครื่องมือการทำงาน ซึ่งต้องทำให้เกิดเป็น Business Process ในการเชื่อมโยงข้อมูลให้เป็นมาตรฐานก่อน จากนั้นจึงสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้

ที่มา: thannews.th.com


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)