Author Topic: เตรียมผลิต PSP นับร้อยใน1 ปี หวังซอฟต์แวร์ไทยส่งออก  (Read 964 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ทำให้หลายหน่วยงานหันมาลดส่วนที่ไม่ใช่ธูรกิจหลักขององค์กร ส่งผลให้โอกาสของตลาดไอทีขยายตัวขึ้นทั่วโลก ดังนั้นจึงเป็นช่องทางของประเทศไทยที่จะสร้างความเชื่อเชื่อมั่นในการส่งมอบซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้กระทรวงวิทย์ฯ มีบทบาทสนับสนุนผ่านเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์ค

 

นางชัชนาถ เทพธรานนท์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. กล่าวว่า โครงการเสริมสร้างศักยภาพนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยสู่มาตรฐานสากล  เพื่อสร้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีระเบียบวินัย ทักษะ และความรู้ในด้านกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพในระดับบุคคล (Personal Software Process หรือPSP) โดยเป็นมาตรฐานที่พัฒนาโดย สถาบันวิศวกรรมซอฟต์แวร์ หรือ SEI และเป็นยุทธศาสตร์ที่ซอฟต์แวร์พาร์คจะใช้ในการปักธงธุรกิจซอฟต์แวร์ไทยเข้าสู่ระดับโลก

 

รองผอ. สวทช. กล่าวต่อว่า เซอร์ทิไฟล์ พีเอสพี ดีเวลลอปเปอร์  เป็นประกาศนียบัตรระดับบุคคลที่ได้รับรองโดย SEI จากมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ประเทศสหรัฐอเมริกา  และได้รับการยอมรับรดับสากล ขณะที่มีเพียง 333 คนจากทั่วโลก ที่ผ่านมาตรฐานดังกล่าว อย่างไรก็ตาม แต่ละประเทศกำลังมีแผนขยายบุคลากรในส่วนนี้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ในปี 2552 ซอฟต์แวร์พาร์คจะสร้าง เซอร์ทิไฟล์ พีเอสพี ดีเวลลอปเปอร์  หรือผู้ที่ผ่านใบรับรอง พีเอสพี จำนวน 100 คน ส่วนปี 2553 จะสร้างผู้ผ่านการสอบเพื่อเป็นผู้สอนพีเอสพี ที่ได้รับการรับรองจาก  SEI จำนวน 20 คน   

 

นายสุพัทธ์ พู่ผกา  รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี หรือ TMC กล่าวว่า การสร้างบุคลากรด้าน พีเอสพี ส่งผลดีต่อประเทศไทยทั้งในแง่การสร้างคุณภาพซอฟต์แวร์ใหม่มีมาตรฐานมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน 20% และลดต้นทุนการพัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศ ขณะที่ภาษีที่รัฐบาลลงทุนไปได้คืนมาประมาณ 5-6 เท่า อีกทั้ง เกิดแรงจูงใจให้ภาคอุตสาหกรรมหันมาใช้ซอฟต์แวร์ไทย โดยใช้งบประมาณปีแรก 8 ล้านบาท

 

รองผอ. TMC กล่าวด้วยว่า จะรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีประสบการณ์ ด้านพัฒนาซอฟต์แวร์ 2 ปี ขึ้นไป ที่สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในระดับดีมาก อย่างน้อย 1 ภาษา และมีความสามารถในการขยายองค์ความรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานได้ โดยสมัครทางบริษัทเท่านั้น ทั้งนี้ บริษัทที่ส่งบุคคลเข้าร่วมโครงการฯ ต้องเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจรับพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จดทะเบียนนิติบุคคล มีคนไทยถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51

ที่มา: thairath.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)