Author Topic: หากจะเลือกซื้อ UPS สักเครื่อง ควรพิจารณาถึงอะไรบ้าง  (Read 3106 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai

ปัจจุบันมีผู้เข้าใจว่า การเลือกซื้อ UPS นั้น พิจารณาเพียงขนาด (VA), ระยะเวลาสำรองไฟ (Backup Time) และราคา ก็น่าจะครบถ้วนแล้ว แต่ในความเป็นจริง ยังมีปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาประกอบการเลือกซื้อ UPS อีกหลายข้อ เนื่องจาก UPS ในตลาด IT ของประเทศไทยตอนนี้ มีหลากหลายยี่ห้อ และแต่ละยี่ห้อก็มีหลายรุ่นด้วยเช่นเดียวกัน ยังมีทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้า นอกจากนี้ยังมีการผลิตสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้ผู้ซื้อมีทางเลือกมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็สามารถสร้างความยุ่งยากในการตัดสินใจเลือกซื้ออยู่ไม่น้อย เพราะ UPS แต่ละยี่ห้อต่างก็ระบุ Specification หรือคุณสมบัติต่างๆ ที่ไม่ค่อยแตกต่างกัน ทั้งในเรื่อง ขนาด (VA), ระยะเวลาสำรองไฟ (Backup Time) หรือแม้แต่ราคาก็เช่นเดียวกัน
คุณจะไม่ยุ่งยากลำบากใจในการเลือกซื้อ UPS อีกต่อไป หลังจากได้อ่านบทความนี้ (ขอแนะนำว่า ผู้อ่านควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคำศัพท์ต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยีของ UPS เสียก่อน เพื่อให้เข้าใจรายละเอียดอันเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกซื้อ UPS ได้ง่ายขึ้น)

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกซื้อ UPS

1.นำ UPS ไปใช้ในการป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทใด มีความไวต่อคุณภาพของกระแสไฟฟ้ามากน้อยขนาดไหน และมีความสำคัญเพียงไร?
อุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทที่มีความไวต่อคุณภาพของกระแสไฟฟ้า หรือเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความสำคัญมาก เช่น เครื่องมือวัด, เครื่องมือแพทย์, Computer -Server เป็นต้น ควรเลือกใช้ UPS ชนิด True on line UPS
-อุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทที่ไม่มีความไวต่อคุณภาพของกระแสไฟฟ้า หรือเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความสำคัญไม่มาก เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานภายในบ้าน หรือสำนักงาน ควรเลือกใช้ UPS ชนิด Online Protection UPS หรือ Line Interactive UPS with Stabilizer

2.คุณภาพของกระแสไฟฟ้าในสถานที่ที่จะนำ UPS ไปใช้งานมีลักษณะเป็นอย่างไร?
-หากสถานที่ที่จะนำ UPS ไปใช้งานมีปัญหาเรื่องความแปรปรวนของกระแสไฟฟ้ามากๆ ควรเลือกใช้ UPS ชนิด True on line UPS
-หากสถานที่ที่จะนำ UPS ไปใช้งานไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพของกระแสไฟฟ้ามากนัก ควรเลือกใช้ UPS ชนิด Online Protection UPS หรือ Line Interactive UPS with Stabilizer

3.ขนาดกำลังไฟฟ้า (VA) ที่อุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทดังกล่าวใช้เป็นเท่าไร?
-ขนาดกำลังไฟฟ้าที่อุปกรณ์ไฟฟ้าใช้ จะต้องไม่สูงกว่ากำลังไฟฟ้าที่ UPS สามารถจ่ายได้ เช่น คอมพิวเตอร์ และจอสี 17 นิ้ว ใช้กำลังไฟประมาณ 300 VA ดังนั้น ควรเลือกใช้ UPS ขนาดกำลังไฟ 300 VA ขึ้นไป

4.ลักษณะการติดตั้งของอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นอย่างไร?
-หากทำการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าใกล้เคียงกันในพื้นที่ไม่กว้างนัก มีพื้นที่จำกัด ควรเลือกใช้ UPS ขนาดใหญ่เพื่อที่จะสามารถต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าได้พร้อมกันหลายๆ เครื่อง เพื่อเป็นการประหยัดพื้นที่ และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน
-หากทำการติดตั้งของอุปกรณ์ไฟฟ้าห่างไกลกัน ควรเลือกใช้ UPS ขนาดเล็กต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าแบบหนึ่งต่อหนึ่ง คือ นำอุปกรณ์ไฟฟ้าหนึ่งเครื่องต่อเข้ากับ UPS ขนาดเล็กหนึ่งเครื่อง

5.ต้องการให้ UPS จ่ายพลังงานสำรองได้นานเท่าไร? (Backup Time)
-โดยทั่วไป Backup Time จะมีความสัมพันธ์กับขนาดกำลังไฟฟ้าของ UPS และขนาดกำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น UPS ขนาด 350 - 500 VA ซึ่งใช้แบตเตอรี่ 7 Ah จะสามารถจ่ายไฟให้กับคอมพิวเตอร์ และจอสี 15 นิ้ว 1 จอ ได้นาน 15 - 30 นาที และหากเป็น UPS ที่ใช้แบตเตอรี่ชนิด High-Rate จะสามารถสำรองไฟฟ้าได้ 25 - 40 นาทีเลยทีเดียว (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งาน)

6.มีซอฟต์แวร์พิเศษหรือไม่?
-ซอฟต์แวร์พิเศษสำหรับ UPS นี้มีไว้เพื่อตรวจสอบสภาวะทางไฟฟ้าและการทำงานของ UPS โดยการสื่อสารระหว่าง UPS กับคอมพิวเตอร์ จะมีสายข้อมูลเชื่อมต่อกัน โดยทั่วไป ผู้ใช้มักไม่ค่อยใส่ใจกับเรื่องซอฟต์แวร์พิเศษนี้ เพราะอาจจะไม่ทราบถึงประโยชน์ ดังนั้น จะขอยกตัวอย่าง เช่น กรณีเกิดไฟดับเป็นระยะเวลานานจนพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่ของ UPS หมด โดยที่ไม่สามารถ Shutdown คอมพิวเตอร์ได้ ถ้ามีซอฟต์แวร์พิเศษนี้จะช่วยบันทึกข้อมูลสำคัญไว้ (Auto Save) และทำการ Shutdown คอมพิวเตอร์ของคุณให้ก่อนที่แบตเตอรี่ของ UPS จะหมดลง

7.ชื่อเสียงของบริษัทผู้ผลิตและการบริการหลังการขาย
-ความมุ่งมั่นและระยะเวลาในการทำธุรกิจ จะเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความจริงจังในการดำเนินธุรกิจของบริษัทนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี บริษัทที่มีความตั้งใจอันแน่วแน่และมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจใดๆ ย่อมจะต้องนำเสนอแต่สินค้าที่มีคุณภาพดี และให้บริการที่มีมาตรฐาน ตลอดจนมีการพัฒนาด้านคุณภาพสินค้า, ระบบการผลิต และการบริการอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า

8.มาตรฐานสากลที่บริษัทผู้ผลิตได้รับ และหน่วยงานที่ให้การรับรองมาตรฐานสากลนั้นๆ
-เนื่องจากการได้รับมาตรฐานสากลไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะได้มาโดยง่าย โดยเฉพาะสำหรับผู้ผลิตภายในประเทศที่สามารถทำให้หน่วยงานที่ให้การรับรองมาตรฐานในระดับนานาชาติยอมรับได้นั้น ผู้ผลิตจะต้องพัฒนาขีดความสามารถของตัวเองเป็นอย่างมาก เพื่อให้มีมาตรฐานเท่าเทียมกับบริษัทชั้นนำของโลก เช่น ลีโอนิคส์ ได้รับการรับรองมาตรฐานและรางวัลต่างๆ ดังนี้

-การรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2000 จาก UL หรือสถาบัน Underwriters Laboratories Inc., USA ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบระบบคุณภาพของบริษัทชั้นนำทั่วโลก เช่น NEC, MOTOROLA และ Hewlett Packard เป็นต้น
-การรับรองระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน มอก./ISO 9001:2000 จาก MASCI (สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ) และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.1291-2545 จากสมอ. (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม)
-การรับรองระบบจัดการสิ่งแวดล้อม มอก./ISO 14001 จาก MASCI (สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ)
-การได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประจำปี 2542 (Prime Minister's Industry Award 1999) ประเภทการบริหารอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จากกระทรวงอุตสาหกรรม
-การได้รับ 3 รางวัลผู้ส่งออกไทยดีเด่น ประจำปี 2543 (Prime Minister's Export Award 2000) ประเภทรางวัลผู้ส่งออกไทยดีเด่น, ประเภทรางวัลผู้ส่งออกไทยดีเด่นที่มีการออกแบบสินค้าเป็นของตนเอง และประเภทรางวัลผู้ส่งออกไทยดีเด่นที่มีการใช้ชื่อการค้าของตนเอง

จึงทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์จาก LEONICS ทุกเครื่อง จะมีคุณภาพที่ได้มาตรฐานระดับสากล และสามารถเชื่อมั่นได้ว่า คำสัญญาต่างๆ ตลอดจนคุณสมบัติของ UPS ที่บริษัทฯ อ้างถึงจะเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้อย่างแน่นอน

9.เงื่อนไขการรับประกัน
-เรื่องของเงื่อนไขการรับประกัน มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าปัจจัยอื่นๆ เพราะนั่นหมายถึง ผู้ผลิตได้ให้ความคุ้มครองและดูแลผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของตนมากน้อยเพียงใด หากลองพิจารณา UPS ที่มีจำหน่ายในตลาด IT แต่ละยี่ห้อ จะมีระยะเวลารับประกันไม่เท่ากัน 1 ปี, 2 ปี หรือมากกว่านั้น ผู้ใช้สามารถนำ UPS ส่งซ่อมได้เวลาที่เกิดปัญหาขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ผลิต UPS มีการประกันภัยคุ้มครองความเสียหายสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่อโดยตรงกับ UPS ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้เกิดความมั่นใจมากยิ่งขึ้นขณะใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆ ก็ตามที่ต่ออยู่กับ UPS นั้น เช่น ลีโอนิคส์ ที่สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าผลิตภัณฑ์ LEONICS ด้วยประกันภัยคุ้มครองความเสียหายสำหรับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่อโดยตรงกับ UPS วงเงินสูงถึง 60,000 - 300,000 บาท

10.ศูนย์บริการระดับมาตรฐาน
-ในการเลือกซื้อ UPS นั้น ปัจจัยในด้านศูนย์บริการหลังการขาย ก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะผู้ใช้จะสามารถวางใจได้ว่า UPS จะได้รับการบำรุงรักษา หรือแก้ปัญหาด้วยช่างผู้ชำนาญ พร้อมด้วยอุปกรณ์อะไหล่ที่ได้มาตรฐานจากบริษัทผู้ผลิต ลีโอนิคส์ ปรารถนาให้ UPS ของคุณสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม รวมถึงได้รับบริการและการดูแลอย่างทั่วถึง จึงมีศูนย์บริการ (LEONICS Service Centers) ระดับมาตรฐานกระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับลูกค้าที่จะใช้บริการของลีโอนิคส์


การคำนวณขนาดของ UPS

การคำนวณขนาดกำลังจ่ายของ UPS ที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้ปฏิบัติดังนี้

1.ทำรายการอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะต่อพ่วงกับระบบ UPS ทั้งหมด เช่น คอมพิวเตอร์, จอ, โมเด็ม, สแกนเนอร์ และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นๆ
2.อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะมีป้ายแสดงค่าพิกัดกำลัง (Nameplate) เพื่อระบุถึงแรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้าที่ต้องการสำหรับใช้งาน โดยทั่วไปจะอยู่ที่ด้านหลังของเครื่อง
-ให้คำนวณค่า VA โดยคูณค่า Volt และ Amps เข้าด้วยกัน
-อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดอาจให้ค่ามาในรูปของพลังงานไฟฟ้าในหน่วยวัตต์ (Watt-W)
ให้แปลงกลับเป็นค่า VA โดยการคูณค่าวัตต์ด้วย 1.4

3.รวมค่า VA ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดในรายการที่จะต่อพ่วงกับระบบ UPS
4.เลือก UPS ที่จะสามารถจ่ายไฟได้พอเพียงต่อระดับค่า VA ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด


ตัวอย่างการคำนวณ
ต้องการคำนวณขนาดของ UPS ที่สามารถใช้กับ คอมพิวเตอร์ ขนาด 220 V 1.5 A, เครื่องพิมพ์ Inkjet ขนาด 50 Watt และโมเด็ม ขนาด 20 Watt

จากสูตร   




จะได้ว่า

VA ของคอมพิวเตอร์ ขนาด 220 V 1.5 A = 220 x 1.5 = 330 VA
VA ของเครื่องพิมพ์ Inkjet ขนาด 50 Watt = 50 x 1.4 = 70 VA
VA ของโมเด็ม ขนาด 20 Watt = 20 x 1.4 = 28 VA
VA รวม = 330 + 70 + 28 = 428 VA

ดังนั้น   
ขนาดของ UPS ที่สามารถต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดังกล่าวได้อย่างปลอดภัย คือ 428 VA ขึ้นไป (หรือตรงกับผลิตภัณฑ์ LEONICS UPS รุ่น GREEN, OA Extra 525, ACURA 525 และ ASTRA 525)

หมายเหตุ:   โดยทั่วไปหากเลือก UPS ที่มีกำลัง VA เท่ากับค่า VA รวมของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะนำไปต่อพ่วงทั้งหมด UPS จะจ่ายไฟที่ Full Load และจะทำการจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองได้ประมาณ 5 นาทีเท่านั้น หากต้องการระยะเวลาการจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองที่เพิ่มขึ้น ต้องขยายค่า VA ของ UPS หรือเพิ่มจำนวนแบตเตอรี่ให้มากขึ้น


ที่มา: leonics.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)