Author Topic: HDS รุกคลาวด์ ชูจัดการข้อมูลข้ามค่ายชนคู่แข่ง  (Read 771 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


สุนิล ชาวัน ผู้อำนวยการฝ่ายกลุ่มผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์และคลาวด์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์

ฮิตาชิดาต้าซิสเต็มส์ (Hitachi Data Systems หรือ HDS) เปิดยุทธศาสตร์ล่าสุดในการรุกตลาดการจัดการศูนย์กลางข้อมูลเสมือนทั่วเอเชีย มั่นใจระบบงานไร้รอยต่อ (Unified Compute Platform หรือ UCP) ของฮิตาชิเหนือกว่าคู่แข่งแน่นอน เพราะเป็นระบบพอร์ทัลที่สามารถจัดการดาต้าเซ็นเตอร์เสมือนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติงต่างค่ายให้สามารถทำงานประสานกันได้กลมกลืนและปลอดภัย เชื่อจะถูกใจลูกค้าองค์กรที่สนใจระบบการประมวลผลกลุ่มเมฆ เพื่อการจัดการระบบไอทีในองค์กรที่มีราคาถูกลงแต่ประสิทธิภาพดีขึ้น
       
       สุนิล ชาวัน ผู้อำนวยการฝ่ายกลุ่มผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์และคลาวด์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ให้รายละเอียดแผนการบุกตลาดเอเชียแปซิฟิกของ HDS ว่าจะให้บริการคลาวด์คอมพิวติงในรูปบิสสิเนสโมเดลที่มีความปลอดภัย ความยืดหยุ่นคล่องตัว และความเสถียรของระบบเป็นหลัก โดยสิ่งที่ HDS จะนำมาใช้เพื่อให้บรรลุแผนที่วางไว้คือ UCP ระบบพอร์ทัลกลางที่ทุกภาคส่วนในองค์กรจะสามารถเรียกใช้ข้อมูลบนคลาวด์ต่างแบรนด์ได้อย่างไร้รอยต่อบนหน้าจอเดียว
       
       "UCP จะประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์ ระบบจัดเก็บข้อมูล ฮาร์ดแวร์เครือข่าย และซอฟต์แวร์เพื่อจัดการส่วนประกอบเหล่านี้ ทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอที นักพัฒนา และพนักงานในองค์กรจะสามารถใช้อินเทอร์เฟสบน UCP เพื่อเข้าถึงข้อมูลคลาวด์ได้ง่ายดาย ในเฟสแรก UCP จะทำงานเข้ากับระบบของไมโครซอฟท์ แต่เฟสต่อไปเราจะขยายความร่วมมือเพราะเราต้องการเปิดกว้างกับทุกเวนเดอร์ ให้สามารถทำงานได้กับระบบดั้งเดิมที่องค์กรใช้งานอยู่"
       
       ชาวันให้ข้อมูลว่า HDS ได้เซ็นสัญญากับไมโครซอฟท์ เพื่อพ่วงผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์เช่น Windows Server 2008 R2, System Center และ SQL Server 2008 รวมถึงเทคโนโลยีการทำงานเสมือนของไมโครซอฟท์นั่นคือ Hyper-V เข้าในระบบ UCP
       
       แม้คู่แข่งในตลาดสตอเรจด้วยกันอย่าง EMC, Cisco Systems และ VMware จะร่วมมือกันสร้างสรรค์แพลตฟอร์มระบบไอทีเสมือนแนวคิดเดียวกันใน V-Block และเริ่มทำตลาดมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยรวมเอาระบบสตอเรจเก็บข้อมูลของ EMC มาผูกกับเซิร์ฟเวอร์เสมือนและอุปกรณ์เครือข่ายของ Cisco แล้วจึงประสานด้วยซอฟต์แวร์เทคโนโลยีการทำงานเสมือนของ VMware แต่ชาวันยังคงย้ำว่า ระบบไอทีเสมือนของค่ายอื่นไม่มีระบบพอร์ทัลหรือหน้าโปรแกรมกลางที่ผู้ใช้จะสามารถจัดการดาต้าเซ็นเตอร์เสมือนจากระยะไกลบนแพลตฟอร์มเดียว
       
       "UCP จะสามารถรองรับความต้องการของบริษัทที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก ขณะเดียวกัน ก็สามารถปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานในเฉพาะประเทศ หรือเฉพาะภูมิภาค ได้ตามนโยบายที่บริษัทวางไว้"
       
       ชาวันระบุว่า UCP เฟสแรกซึ่งรองรับเฉพาะเทคโนโลยี Hyper-V ของไมโครซอฟท์จะเริ่มทำตลาดได้ภายในเดือนมกราคมปี 2011 เฟส 2 ซึ่งคาดว่าจะเริ่มในไม่นานหลังผ่านพ้นเฟสแรกไป จะขยายความร่วมมือให้รองรับเทคโนโลยีของ VMware และ Citrix เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือก
       
       UCP นี้คือส่วนเติมเต็มในชุดบริการคลาวด์เซอร์วิส (Hitachi Cloud Services) ของ HDS ซึ่งเปิดตัวผลิตภัณฑ์แรกในชื่อ Hitachi Cloud Service for Private File Tiering ตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อตอบโจทย์กลุ่มธุรกิจที่ต้องการระบบเก็บข้อมูลเทคโนโลยีคลาวด์ ซึ่งจำกัดสิทธิ์การใช้เฉพาะในองค์กรซึ่งสามารถยืดขยายได้ตามการใช้งาน และองค์กรจะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้เพราะการเสียค่าบริการตามที่ใช้งานจริง โดยล่าสุด HDS ประกาศร่วมมือกับพันธมิตรนาม Digi-Data ให้บริการโซลูชัน Public cloud เพื่อให้องค์กรใหญ่อย่างบริษัทโทรคมนาคม เซอร์วิสโพรวายเดอร์ และบริษัทติดตั้งระบบ สามารถให้บริการฝากไฟล์เทคโนโลยีคลาวด์แก่ผู้บริโภคทั่วไปและกลุ่มธุรกิจขนาดย่อมรายอื่นๆได้
       
       "ยังมีบริการคลาวด์อีกมากมายที่จะออกจากพันธมิตรของ HDS ภายใน 2 เดือนนี้ เราทำอินฟราสตรักเจอร์ไว้ให้พันธมิตร ไม่ได้ให้บริการเอง พันธมิตรรายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ให้บริการในยุโรปของ HDS จะเปิดตัวบริการฝากไฟล์เทคโนโลยีคลาวด์ที่สามารถทำงานกับเซตท็อปบ็อกซ์ในทีวีได้ในเร็วๆนี้ นอกจากนี้เรายังมีแผนเปิดตัวพันธมิตรในเกาหลีและออสเตรเลีย ครอบคลุมทั้งภาคการศึกษา ธุรกิจด้านสุขภาพ และเอสเอ็มบีทั่วไป"
       
       สำหรับประเทศไทย ทิศทางการเติบโตที่ชาวันมองว่าจะมีอิทธิพลที่สุดคือกลุ่ม Private Cloud โดยระบุว่าตลาดที่น่าสนใจที่สุดคือตลาดสถานพยาบาลหรือ Healthcare ซึ่งนิยมสร้างคลาวด์ขึ้นมาเก็บข้อมูลภายในองค์กร
       
       "ตลาดคลาวด์ที่จะขยายตัวมากที่สุดในประเทศไทยไม่ใช่ตลาด Public Cloud ในกลุ่มผู้บริโภค แต่เป็น Private Cloud ในกลุ่มธุรกิจเฮลธ์แคร์และโทรคมนาคม ซึ่งมีความต้องการสร้างระบบคลาวด์เพื่อเป็นแหล่งเก็บและบริหารจัดการข้อมูลในองค์กรสูงมากกว่าธุรกิจอื่น" เท่ากับความล่าช้าของการมีเทคโนโลยีโมบายล์บรอดแบนด์เช่น 3G ในไทยนั้นจะไม่มีผลต่อยุทธศาสตร์คลาวด์ของ HDS
       
       สิ่งที่ชาวันมองว่าเป็นความท้าทายในการบุกตลาดคลาวด์ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คือการผลักดันให้ธุรกิจเข้าใจว่าสามารถดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจได้ด้วยเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง และผลตอบแทนหลายด้านที่จะได้รับหากใช้งานระบบคลาวด์ ซึ่งทั้งหมดต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะพิสูจน์ให้ธุรกิจเหล่านี้มองเห็น
       
       "เราจะไม่ขายผลิตภัณฑ์คลาวด์แล้วปล่อยให้ลูกค้าดำเนินการเองตามลำพัง แต่เราจะทำงานร่วมไปกับลูกค้าด้วยนานถึง 3-5 ปีเพื่อให้เห็นว่าลูกค้าสามารถดำเนินการได้สำเร็จ เป็นการสร้างความมั่นใจ ซึ่งระยะเวลาที่แน่นอนจะต้องแล้วแต่ข้อตกลงกับแต่ละบริษัท"
       
       บริษัทวิจัย IDC เผยผลการสำรวจตลาดไอทีโลกไว้ว่า คลาวด์คอมพิวติงจะผลักดันให้ธุรกิจทั่วโลกเริ่มลงทุนระบบฮาร์ดแวร์โดยเฉพาะเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้บริการ Public Cloud สูงถึง 718 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2014 เพิ่มจากปี 2009 ที่มีการลงทุน 582 ล้านเหรียญ ขณะที่ตลาดเซิร์ฟเวอร์สำหรับให้บริการ Private Cloud จะสูงถึง 5,700 ล้านเหรียญในปี 2014 จากปี 2009 ที่มีตัวเลขที่ 2,600 เหรียญสหรัฐ
       
       Company Related Link :
       HDS


ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)