Author Topic: “จัสเทล”ก้าวไว ผงาดศูนย์กลางเกตเวย์อินโดจีน  (Read 831 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai

อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบรอดแบนด์ เริ่มมีบทบาทกับการใช้ชีวิตผู้คนมากขึ้นทั้งเกี่ยวพันกับธุรกิจและส่วนตัว โดยเฉพาะการมีสังคมออนไลน์ หรือโซเชียล เน็ตเวิร์กเกิดขึ้น และขยายตัวอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นไฮไฟว์ เฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์ ที่ต้องการความสะดวกในการใช้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งที่ผ่านโครงข่ายประเภทมีสายและไร้สาย
       
       จัสเทล เน็ทเวิร์ค ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคม และอินเทอร์เน็ตในประเทศและระหว่างประเทศ ในเครือบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล โดยจัสมินเป็นผู้ถือหุ้น 100% เห็นถึงแนวโน้มความต้องการใช้ช่องสัญญาณหรือแบนด์วิธที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากกระแสของโลกออนไลน์ที่กำลังไหลทะลักเข้าสู่สังคมมนุษยชาติอย่างไม่หยุดหย่อน
       
       แผนงานครึ่งปีหลังของจัสเทลจึงต้องเร่งขยายเกตเวย์ หลังได้ใบอนุญาตหรือไลเซนส์จากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ประเภทที่ 2 ซึ่งเป็นแบบที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง (International Gateway) เมื่อเดือนพ.ย. 2549 โดยเฉพาะการขยายการให้บริการไปต่างประเทศเพื่อรองรับการเติบโตของบรอดแบนด์ ที่ให้บริการผ่านเทคโนโลยี ADSL รวมถึงการแจ้งเกิดของเทคโนโลยี 3.9G และไวแมกซ์ ที่กทช.มีแผนจะให้ไลเซนส์ในเร็วๆ นี้ ล้วนแล้วแต่ต้องการความเร็วหรือสปีดที่สูง
       
       “จัสเทลประกาศที่จะให้ไทยเป็นศูนย์กลางการให้บริการเกตเวย์ในอินโดจีน สิ่งที่เราทำคือเร่งขยายเกตเวย์ต่างประเทศ เพื่อรองรับความต้องการใช้งานทั้งในไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชามาใช้บริการเพื่อเชื่อมต่อไปยังประเทศอื่นๆ” สมชาย ตรีรัตนนุกูล ผู้จัดการทั่วไป จัสเทล กล่าว
       
       การขยายโครงข่ายของจัสเทลจะทำทั้งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่งประเทศ หรือ International Internet Gateway (IIG) และอินเทอร์เน็ตในประเทศ โดยจะใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ได้มีการดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ชุดใหม่ที่ตึกจัสมินเพื่อให้เป็นเกตเวย์หลัก จุดที่ 2 คือ IIG ที่ประเทศสิงคโปร์ จุดที่ 3 คือประเทศมาเลเซีย ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน
       
       จัสเทลได้วางเกตเวย์ทั้ง 3 แห่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการคอนเทนต์ดังๆ ไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น อังกฤษ หรืออินเดีย และเชื่อมต่อไปยังโครงข่ายในระดับสากล ขณะเดียวกันก็ขยายท่อส่งสัญญาณจากความเร็ว 30 กิกะบิตต่อวินาที เป็น 40 กิกะบิตต่อวินาที ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้เสร็จภายใน 1 เดือนเช่นกัน
       
       ปัจจุบันจัสเทลมีลูกค้าหลักๆ คือ ผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) ธุรกิจด้านโทรคมนาคมระหว่างประเทศ กลุ่มบริษัทข้ามชาติที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย และบริษัทที่มีสาขาหรือเครือข่ายต่างประเทศ เช่น สถาบันการเงิน สถานทูต สำนักข่าวต่างประเทศ ธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยมีรายได้หลักจากการให้บริการบรอดแบนด์คิดเป็นสัดส่วน 70%
       
       สำหรับการให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ที่เห็นได้ชัดในตลาดขณะนี้คือ กสท โทรคมนาคม กลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น และจัสเทล เน็ทเวิร์ค
       
       สมชายยืนยันว่าจุดแข็งของจัสเทลที่แตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่นคือ 1.ความยืดหยุ่นของการทำโซลูชันการเชื่อมต่อ รูปแบบการเชื่อมต่อที่ต่างกัน เพราะธุรกิจโทรคมนาคมต้องการเชื่อมต่อในเส้นทางที่แตกต่างกัน รวมถึงรูปแบบบริการ การให้บริการที่แตกต่าง จนทำให้จัสเทลมีส่วนแบ่งตลาดขณะนี้ 30% เพราะผู้เช่าโครงข่ายไม่ต้องการใช้บริการเพียงรายเดียว 2.บริการที่มีคุณภาพค่อนข้างสูง ราคาสมเหตุสมผล
       
       ส่วนการเข้าประมูลไลเซนส์บริการประเภทอื่น ผู้บริหารจัสเทลย้ำว่าไม่มีนโยบาย เพราะจัสเทลวางตำแหน่งตัวเองเป็นผู้ให้บริการเกตเวย์ชัดเจน เพราะเห็นว่าการขยายตัวของบรอดแบนด์ยังอยู่ในช่วงที่โตเกิน 10% ต่อปี ขณะที่บริษัทหรือองค์กรในไทยมีความต้องการขยายแบนด์วิธในการทำธุรกิจออนไลน์มากขึ้น เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดความเสี่ยงในช่วงที่สถานการณ์บ้านเมืองไม่มีความแน่นอน
       
       ด้านการแข่งขันสมชายมองว่า ความต้องการแบนด์วิธของแต่ละประเทศเพิ่มขึ้น 2 เท่าต่อปี ขณะที่ค่าเช่าโครงข่ายลดลง 10-15% ต่อปี ตลาดจึงโตได้อีกมาก ลูกค้ายังมีความต้องการ ซึ่งทำให้ผู้ให้บริการมีโอกาสทางการตลาดอีกมาก โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านของไทยยังอยู่ในช่วงการขยายบรอดแบนด์ หรือการลงทุนข้ามชาติ ส่วนประเทศที่ต้องการสูงสุดคือกัมพูชา พม่า ลาว และบังคลาเทศ
       
       ทั้งนี้ การเชื่อมต่อเคเบิลใต้น้ำของจัสเทลคือ 1.ออกจากไทยโดยตรง 2.เชื่อมต่อเกตเวย์ที่มาเลเซีย แล้วออกไปสิงคโปร์ และสิ่งที่จัสเทลเร่งทำคือเพิ่มจุดเชื่อมต่อ 3.เชื่อมต่อไปที่กัมพูชา เวียดนาม ไปฮ่องกง จีน 4.เชื่อมต่อไปที่ลาว ไปเวียดนาม และจีน 5.เชื่อมต่อไปพม่า จีน บังคลาเทศ และอินเดีย
       
       อีกแนวทางที่ผู้บริหารจัสเทลตั้งใจทำอย่างต่อเนื่องคือ การดึงผู้ใช้บริการมาลงทุนในดาต้า เซอร์วิส หรือแคสชิ่ง เพราะจะทำให้สามารถลดปริมาณช่องสัญญาณระหว่างประเทศลงได้ ลูกค้าปลายทางสามารถเข้าอินเทอร์เน็ตได้โดยตรง และในระยะยาวจะทำให้เป็นศูนย์กลางหรือฮับในการส่งผ่านคอนเทนต์ได้ อย่างไรก็ตาม จัสเทลเปิดบริการอินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ หรือไอดีซีไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยมีพื้นที่รองรับได้ 100 ตู้ และขณะนี้มีการใช้งานไปแล้ว 80% มีรายได้ 5% ของรายได้รวมจัสเทล เพราะเป็นธุรกิจที่เพิ่งเริ่ม
       
       ด้วยแนวคิดในการทำตลาดเชิงรุกทั้งในและต่างประเทศของจัสเทล ที่มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพบริการให้เทียบเท่าระดับสากล และดำเนินกิจกรรมทางการตลาดร่วมกับคู่ค้าผู้ให้บริการสื่อสารข้อมูลระหว่างประเทศรายใหญ่ๆ ของโลก ทำให้จัสเทลโตแบบก้าวกระโดดจนถึงจุดคุ้มทุนไปแล้ว และสร้างรายได้ในปี 2552 ประมาณ 810 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากต่างประเทศ 30% จากรายได้ดังกล่าวถือว่าโตขึ้นจากปี 2551 ที่มีรายได้ 380 ล้านบาท ส่วนปีนี้คาดว่าจะโตอีก 50% หรือมีรายได้ประมาณ 1,100-1,200 ล้านบาท
       
       ในขณะที่รายได้เติบโตขึ้นต่อเนื่อง จัสเทลยังมุ่งมั่นที่จะขยายโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างประเทศและยกระดับมาตรฐานการให้บริการอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อตอบรับทุกความต้องการของลูกค้า และสนับสนุนแนวคิดที่จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็น Alternative International Hub หรือ International Gateway ของภูมิภาคนี้อย่างแท้จริง
       
       Company Related Link :
       Jastel


ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)