Author Topic: สอนสร้างบ้าน: ผังบ้าน คืออะไร? สิ่งที่ควรรู้ก่อนซื้อบ้าน และสร้างบ้าน  (Read 355 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline siritidaporn

  • Pro Member
  • *
  • Posts: 771
  • Karma: +0/-0

อย่างที่รู้กันว่า “ผังบ้าน” คือ ขั้นตอนการกำหนดตำแหน่ง หรือวางตำแหน่งของบ้านบนแปลงที่ดิน ที่จะก่อสร้างบ้าน ถือเป็นปัจจัยสำคัญ ที่มีบทบาทต่อการตัดสินใจซื้อบ้านอย่างมาก จะพาทุกคนไปศึกษาสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ ผังบ้าน แปลนบ้าน ว่ามีอะไรบ้าง?

ผังบ้าน คืออะไร?

ผังบ้านหรือผังอาคาร แปลนบ้าน อธิบายง่าย ๆ คือ เป็นการกำหนดตำแหน่ง และขอบเขตของสิ่งก่อสร้างที่จะสร้าง โดยอ้างอิงจากแบบก่อสร้างให้สัมพันธ์กับขนาดแปลงที่ดิน เพื่อกำหนดแนวเส้น Grid line และค่าระดับของตัวบ้านไว้ใช้ในการอ้างอิง เมื่อต้องหาระยะร่น หรือระยะต่าง ๆ ของบ้าน

ผังบ้านนั้น ถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญก่อนจะลงมือก่อสร้างบ้าน หรืออาคาร เพื่อให้เจ้าของบ้าน สถาปนิก หรือผู้ออกแบบบ้าน วิศวกร ผู้รับเหมาได้มีความเข้าใจตรงกัน ทั้งการวางเสาเข็ม ฐานราก ต่อม่อ หรือการถมดิน


ผังบ้านสำคัญอย่างไร?

หลาย ๆ ครั้งในขั้นตอนการออกแบบบ้าน หรือวางผังบ้าน สถาปนิกไม่ได้วัดขนาดที่ดินจริง ทำให้ในขั้นตอนของการวางผังบ้าน เกิดปัญหาวางตำแหน่งบ้านไม่ได้ตามแบบก่อสร้างที่ออกแบบไว้ เพราะขนาดของบ้านอาจใหญ่กว่าขนาดของที่ดิน หรือระยะถอยร่นไม่ได้ตามที่กำหนดไว้ เช่น เกิดกรณีหลังคาเลยออกไปนอกเขตที่ดิน

สรุประยะร่น ที่เว้นว่าง และขอบเขตอาคาร

ระยะร่น ที่เว้นว่าง และขอบเขต                                   ระยะที่ถูกต้อง
ระยะร่นตัวอาคารกับจุดกึ่งกลางถนน                           อย่างน้อย 3 เมตร
ที่เว้นว่างตัวอาคารกับเขตที่ดินด้านหน้า                   อย่างน้อย 3 เมตร
ที่เว้นว่างอาคารกับเขตที่ดินด้านหลังและด้านข้าง           อย่างน้อย 2 เมตร
ขอบเขตอาคาร                                                          ไม่เกิน 70% ของที่ดิน

   
ดังนั้น ก่อนการออกแบบบ้าน หรือวางผังบ้าน จึงจำเป็นต้องมีการวางผังบ้านให้ชัดเจนก่อน โดยเฉพาะบ้านในโครงการจัดสรร เพราะขนาดแปลงที่ดินส่วนใหญ่ถูกกำหนดไว้ตายตัวแล้ว ซึ่งต่างกับบ้านที่ก่อสร้างบนที่ดินของตัวเอง ที่สามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งบ้านได้ตามความต้องการ


ขั้นตอนการวางผังบ้าน

สิ่งสำคัญในการวางผังบ้าน คือ ควรตรวจสอบหมุดหลักเขตที่ดินกับโฉนดที่ดินว่าครบถ้วนตามแบบหรือไม่ หากเป็นอาคารขนาดเล็ก อาจใช้วิธีขึงเอ็นให้เห็นเป็นแนว แล้วทำเครื่องหมายแสดงตำแหน่งฐานรากให้เห็นชัดเจน หรืออาจใช้วิธีพ่นสีเพื่อแสดงตำแหน่งฐานราก ทั้งนี้ ควรตรวจสอบอีกครั้งว่า องค์ประกอบอาคารที่ยื่นออกมาตามแบบนั้นถูกต้องตามแบบก่อสร้างหรือไม่ เมื่อได้ระยะที่จะวางผังแล้วค่อยตอกหลักผังให้แน่นและมั่นคง

ในขั้นตอนนี้ อาจพบอุปสรรคที่หน้างาน เช่น มีแนวต้นไม้ใหญ่อยู่ใกล้ แต่ไม่อยากตัดทิ้ง ทำให้อาจมีการเปลี่ยนแปลง หรือปรับระยะต่าง ๆ ให้เหมาะสม โดยอาจพิจารณาขยับผังบ้านที่จะก่อสร้างให้เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม เจ้าของบ้านควรดูผังบ้านให้เป็น เช่น การอ่านแบบแปลนของฐานราก เพื่อให้ดูการวางผังบ้านรอบบริเวณการก่อสร้างของช่างเบื้องต้นได้ รวมถึงพิจารณาว่าระยะถอยร่นของบ้านทุกด้าน ถูกต้องตามกฎหมาย พ.ร.บ. ควบคุมอาคารหรือไม่ โดยควรให้ผู้รับเหมาทำเครื่องหมายแสดงตำแหน่งแนวเสา พื้นที่ฐานรากให้ชัดเจน เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบแนวผังบ้านว่าถูกต้องตามแบบหรือไม่ ในขั้นตอนนี้ เจ้าของบ้านอาจว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบ เมื่อติดตั้งการวางผังบ้านเสร็จ จะทำให้รู้ตำแหน่งของเสาและฐานราก เพื่อให้สามารถดำเนินตามขั้นตอนการก่อสร้างบ้านให้เป็นไปตามแบบก่อสร้าง และมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด

แปลนบ้าน เลือกอย่างไรให้เหมาะสม

ในการเลือกซื้อบ้านโครงการจัดสรร หรือสร้างบ้าน ผังบ้านจะเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของบ้าน ที่ทำให้บ้านมั่นคง แข็งแรง ส่วน แปลนบ้าน จะเป็นการกำหนดตามไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัย ซึ่งรวมถึงพื้นที่ใช้สอย และการออกแบบให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อม เช่น การวางผังบ้านให้ถูกต้องตามทิศทางลม และแสงแดด เพื่อช่วยลดการใช้พลังงานในบ้าน เช่น

1.    ห้องนอน

ควรตั้งอยู่ทางทิศเหนือ เพื่อรับแสงแดดอ่อน ๆ ที่แสนสดใสในยามเช้า อีกทั้งเมื่อถึงช่วงที่ดวงอาทิตย์โคจรอ้อมทิศใต้ ห้องที่อยู่ทางทิศนี้ จะไม่สะสมความร้อน ทำให้นอนหลับสบายในยามค่ำคืน ยิ่งถ้าเป็นช่วงฤดูหนาว ก็จะมีลมเย็น ๆ พัดโชยเข้ามาด้วย


2.    ห้องรับแขก และห้องทำงาน

ควรตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อรับแสงแดดในช่วงเช้าที่ยังไม่ร้อนจนเกินไป เพราะในช่วงบ่ายแสงแดดก็ไม่สาดเข้ามา จึงสามารถนั่งทำงานหรือนั่งเล่นได้อย่างรื่นรมย์ตลอดวัน สำหรับห้องรับประทานอาหาร ควรตั้งทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อรับลมจากทิศใต้สำหรับการระบายอากาศ


3.    ที่จอดรถ และห้องเก็บของ

ควรอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อเป็นตัวกั้นไม่ให้ความร้อนเข้าไปถึงตัวบ้านได้ แต่ก็ควรมีการระบายอากาศที่ดีด้วย ไม่เช่นนั้นฝุ่น และควันอาจเป็นต้นเหตุให้ข้าวของในพื้นที่ส่วนนี้เสียหายได้ และควรมีชายคายาวเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันแดดในช่วงบ่าย และป้องกันฝนสาดเข้าสู่ตัวบ้าน


4.    ห้องน้ำ ห้องครัว ส่วนซักล้าง

ควรตั้งไว้ทางทิศตะวันตก เพื่อให้แสงแดดช่วยฆ่าเชื้อโรค และลดกลิ่นอับอันไม่พึงประสงค์ ทั้งยังช่วยป้องกันความร้อน และความชื้นเข้าไปยังพื้นที่ใช้งานในบ้าน และส่วนซักล้างควรอยู่ทางทิศตะวันตก เพื่อใช้ประโยชน์จากแสงแดดในช่วงบ่าย ขณะเดียวกัน ควรมีชายคาที่ยื่นยาว เพื่อป้องกันแดดแรง และป้องกันฝนสาดในช่วงฤดูฝน


แบบก่อสร้างที่ดี ควรเป็นอย่างไร?

แบบก่อสร้างที่ดีนั้น ควรมีรายละเอียดครบถ้วน ประกอบไปด้วย แบบสถาปัตยกรรม แบบวิศวกรรม แบบขยาย+แบบระบบอื่น ๆ มาดูกันว่า แบบก่อสร้างที่ดีนั้นมีอะไรบ้าง ดังนี้

-    แบบสถาปัตยกรรม

แสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของบ้าน ประกอบด้วย สารบัญ รายการประกอบแบบ แบบแปลน (ทุกชั้น+แปลนหลังคา) รูปด้าน (ทั้ง 4 ด้าน) รูปตัด (อย่างน้อย 2 รูป) แบบขยายต่าง ๆ (ขยายประตูหน้าต่าง ขยายห้องน้ำ ขยายบันได ฯลฯ)

-    แบบวิศวกรรม

แบบโครงสร้างพร้อมรายการคำนวณ เป็นแบบที่กำหนดรูปแบบของโครงสร้างว่า เป็นโครงสร้างแบบใด (คอนกรีตเสริมเหล็ก, เหล็กรูปพรรณ ฯลฯ) ประกอบไปด้วย ผังแสดงตำแหน่ง เสาเข็ม ฐานราก คาน (ทุกชั้น) โครงสร้างหลังคา แบบขยายโครงสร้างต่าง ๆ (ขยายฐานราก ขยายคาน ขยายเสา ขยายบันได ฯลฯ) และต้องมีรายการคำนวณ ประกอบด้วย

    แบบไฟฟ้า แสดงรายละเอียดของงานระบบไฟฟ้า เช่น ตำแหน่งดวงโคม ตำแหน่งปลั๊ก ตำแหน่งติดตั้งตู้เมนหลัก (Load Center) เป็นต้น
    แบบสุขาภิบาล แสดงรายละเอียดของงานระบบสุขาภิบาล เช่น ตำแหน่งถังบำบัด ตำแหน่งและทิศทางการระบายน้ำสู่ระบบสาธารณะ เป็นต้น


-    แบบอื่น ๆ

สำหรับบ้านที่มีขนาดใหญ่ อาจต้องมีแบบอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถนำแบบนั้นมาสร้างบ้านได้ตรงตามวัตถุประสงค์ และประโยชน์ใช้สอย เช่น

    แบบระบบปรับอากาศ และระบายอากาศ แสดงรายละเอียดและประเภทของระบบปรับอากาศที่เลือกใช้พร้อมระบุตำแหน่งในการติดตั้ง รูปแบบของการระบายอากาศในห้องน้ำและห้องครัว
    แบบระบบสื่อสาร และรักษาความปลอดภัย ระบุตำแหน่งติดตั้งกล้องวงจรปิด ตำแหน่งปลั๊กโทรศัพท์ ตำแหน่งปลั๊กสายแลน ฯลฯ และรูปแบบการติดตั้งของอุปกรณ์ดังกล่าว เพื่อการก่อสร้างที่เรียบร้อยสวยงาม
    แบบระบบป้องกันอัคคีภัย ได้แก่ ระบบตรวจจับควัน ความร้อน เปลวไฟ และตำแหน่งในการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง
    แบบตกแต่งภายใน แสดงรายละเอียดของงานตกแต่งพื้น ผนัง ฝ้าเพดาน เฟอร์นิเจอร์ ทั้งแบบบิวท์อิน และลอยตัว เป็นต้น แบบรายละเอียดในส่วนต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับแบบสถาปัตยกรรม
    แบบภูมิสถาปัตย์ (แลนด์สเคป) แสดงรายละเอียดต่าง ๆ ที่อยู่นอกตัวบ้าน เช่น แบบสวน แบบพื้นทางเดินรอบตัวบ้าน แบบศาลาในสวน แบบบ่อน้ำ และน้ำตก แบบรั้ว เป็นต้น
    แบบแสดงรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ไม่มีในแบบสถาปัตยกรรม เช่น แบบแสดงลายพื้น ผนัง แบบแสดงการติดตั้งรางน้ำฝน แบบแสดงวิธีติดตั้งวัสดุที่มีความซับซ้อน เป็นต้น



สอนสร้างบ้าน: ผังบ้าน คืออะไร? สิ่งที่ควรรู้ก่อนซื้อบ้าน และสร้างบ้าน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://realestatebb.com/


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)