Author Topic: ขายบ้านโคราช: เรื่องต้องรู้ก่อนเลือกสร้างบ้านอิฐมอญ  (Read 360 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline siritidaporn

  • Pro Member
  • *
  • Posts: 767
  • Karma: +0/-0

สร้างบ้านด้วยวัสดุอะไรดี จะเป็นอิฐมอญ อิฐมวลเบา อิฐบล็อก หรือจะเป็นไม้ดี เรื่องคิดไม่ตกในการเลือกวัสดุ ฉะนั้นก่อนที่จะเลือกว่าจะสร้างบ้านด้วยอะไร เรามาทำความรู้จักกับอิฐมอญ อีกวัสดุพื้นฐานที่คนใช้สร้างบ้านอิฐมอญกัน ว่ามีเรื่องอะไรที่ควรรู้และต้องทำความเข้าใจก่อนที่จะตัดสินใจสร้างบ้านกันก่อนบ้าง จะได้ไม่มาเสียใจภายหลังที่ลืมคิดถึงข้อเหล่านี้ไป

อิฐมอญคืออะไร

อิฐมอญ หรืออิฐแดง คือวัสดุหนึ่งในการก่อสร้างที่ เราน่าจะเห็นกันบ่อยๆ กับบ้านสไตล์ลอฟท์ ซึ่งเป็นอิฐสี่เหลี่ยมผืนผ้าก้อนสีแดงๆ ที่เอาไว้ใช้เวลาก่อสร้างครับ อิฐมอญนั้นผลิตมาจากการนำดินเหนียว ทราย แกลบ และน้ำ มาผสมกันในอัตราส่วนที่ถูกต้อง แล้วจึงนำไปใส่แบบพิมพ์สี่เหลี่ยม เพื่ออัดให้เป็นก้อนสี่เหลี่ยม หลังจากนั้นจะทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วจึงนำไปเผา เพื่อความคงรูปและแข็งแรง มีจุดเด่นเรื่องทนต่อทุกสภาพอากาศ และราคาถูก

 
ข้อดีของบ้านอิฐมอญ

1. แข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี

ด้วยส่วนผสม วิธีการผลิต และความหนาของอิฐมอญนั่นทำให้อิฐมอญมีความหนาแน่นสูง มีความแข็งแรงทนทานรับน้ำหนักได้ดี  ไม่ว่าจะแขวนโทรทัศน์ หรือแขวนตู้ลอยก็สามารถรับน้ำหนักได้ อีกทั้งยังสามารถทุบ สกัด เจาะ หรือฝังได้ง่ายด้วย


2. มีอายุการใช้งานยาวนาน ทนทานทุกสภาพอากาศ

อิฐมอญมีความทนทานสูง ด้วยวิธีการผลิตที่ใช้วิธีเผาเข้าเตาอบ ประกอบกับส่วนผสมที่ใช้ผลิต ทำให้เนื้ออิฐมอญแน่น ยึดเกาะผิวกันได้ดี มีความคงทนต่อทุกสภาพอากาศ ทั้งแดดและฝน ทำให้บ้านอิฐมอญมีอายุการใช้งานของอิฐมอญนั้นยาวนานเป็นสิบๆ ปีครับ


3. มีราคาถูก

อิฐมอญ เป็นวัสดุก่อสร้างสร้างที่ใช้มาช้านาน ทำให้สามารถผลิตได้ง่าย และหาได้ง่ายๆ ผลิตได้เองในประเทศไทย ทำให้ราคาของอิฐมอญมีราคาไม่แพงมาก ส่งผลให้การสร้างบ้านอิฐมอญมีต้นทุนต่ำในการก่อผนังตามมาด้วยครับ


4. แต่งง่าย เข้ากับบ้านทุกสไตล์

ใครที่ชอบบ้านสไตล์ลอฟท์ บ้านสไตล์วินเทจ หรือบ้านสไตล์คอทเทจ คงชอบใจการก่อสร้างบ้านด้วยผนังอิฐแดง แต่หากคนที่ไม่ได้ต้องการบ้านสไตล์ที่ว่ามาก็สามารถก่อสร้างบ้านอิฐมอญได้นะครับ โดยเราสามารถฉาบปูนทับแล้วตกแต่งเป็นสไตล์อื่นที่ชอบก็ได้


ข้อเสียของบ้านอิฐมอญ


1. อาจทำให้บ้านร้อน

จากวิธีการผลิตอิฐมอญที่ทำให้เนื้อแน่น ยึดเกาะผิวได้ดี จึงส่งผลต่อการระบายอากาศหรือถ่ายเทอากาศได้ค่อนข้างยาก ทำให้บ้านที่ก่อสร้างด้วยอิฐมอญสะสมความร้อนไว้ที่ตัวอิฐได้เยอะ จึงอาจทำให้บ้านร้อน หรือถ้าเปิดเครื่องปรับอากาศ อาจทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักและเปลืองค่าไฟฟ้าได้ เมื่อเทียบกับอิฐมอญเบาที่มีฟองอากาศเยอะ ทำให้ระบายอากาศได้ดีกว่าครับ


2. มีน้ำหนักมาก ขนาดไม่ตายตัว

อิฐมอญ เป็นวัสดุที่ผลิตได้ง่ายๆ ทำได้ไม่ยาก จึงทำให้การผลิตอิฐมอญอาจมีขนาดมาตรฐานที่แตกต่างกันไปตามแต่ละเจ้าครับ


3. ป้องกันเสียงได้ไม่ดี

เพราะอิฐมอญหนึ่งก้อนมีขนาดเล็ก ทำให้ต้องฉาบหรือประกอบต่อกันหลายๆ ก้อน ซึ่งรอยต่อของบ้านอิฐมอญนั้นคือส่วนสำคัญที่ทำให้เสียงเข้าสู่ตัวบ้านได้ง่าย ขณะเดียวกันเสียงจากภายในบ้านก็ออกไปนอกบ้านได้เช่นกัน ฉะนั้นยิ่งมีรอยต่อหรือช่องว่างของผนังเยอะก็จะส่งผลต่อการป้องกันเสียงในบ้านได้น้อยลงตามไปด้วยครับ สำหรับวิธีแก้ปัญหาเรื่องเสียงนั้นสามารถทำได้ด้วยการก่ออิฐมอญแบบ 2 ชั้น ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันเรื่องเสียงเข้าบ้านหรือออกนอกบ้านแล้ว ยังช่วยในเรื่องการถ่ายเทความร้อนหรือระบายอากาศด้วยครับ


5 ไอเดียบ้านอิฐมอญกัน

ใครที่คิดภาพไม่ออกว่าบ้านอิฐมอญเป็นแบบไหน เรามาดูไอเดียการสร้างบ้านอิฐมอญกันครับ

1. บ้านสไตล์ลอฟท์ที่ใช้อิฐมอญทั้งหลัง ท่ามกลางต้นไม้นานาชนิด ให้บรรยากาศบ้านในสวน โชว์สีธรรมชาติของอิฐมอญที่ดูมีเสน่ห์ไม่ซ้ำใคร

2. บ้านอิฐมอญที่ทาสีฟ้าทับ จึงไม่เห็นสีอิฐแดงธรรมชาติ แต่ยังโชว์ให้เห็นลักษณะของอิฐในสไตล์ที่ดูโมเดิร์น มีสีสัน ไม่น่าเบื่อ

3. ใครเป็นสายมินิมอลคงจะชอบแบบบ้านสไตล์นี้ เพราะทาสีขาวทับอิฐสีแดง โชว์ให้เห็นเพียงลักษณะของอิฐเท่านั้น พร้อมตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ในสไตล์มินิมอล ทำให้ดูสะอาดและสบายตาเมื่อยู่ในบ้าน

4. บ้านอิฐมอญที่โชว์เนื้ออิฐแค่ผนังฝั่งเดียว แล้วฝั่งอื่นเป็นปูนทับอีกชั้นหรืออาจเป็นวัสดุอื่นในการก่อผนัง ช่วยลดปัญหาบ้านร้อน แถมยังได้บรรยากาศอบอุ่น สุดชิล ดูไม่หนักเป็นอิฐแดงอย่างเดียว

5. ใครที่ชอบผนังอิฐมอญแบบจัดเต้ม นี่เป็นไอเดียที่น่าจะชอบใจ เพราะผนังทุกฝั่งในบ้านให้เป็นอิฐมอญสีธรรมชาติที่ดูไม่เป็นสีเหมือนกันทั้งหมด โชว์เสน่ห์ของสีสันที่แปลกตาและสวยเท่ไม่ซ้ำ



ขายบ้านโคราช: เรื่องต้องรู้ก่อนเลือกสร้างบ้านอิฐมอญ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://homes-realestate.com/homes2/


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)