ปัญหาเสียงดังในโรงงานเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอุตสาหกรรมจริงหรือไม่ ทำไมจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องเสียงดัง คำถามเหล่านี้ อาจเป็นคำถามที่ผู้ประกอบการที่มีธุรกิจอยู่ในวงการอุตสาหกรรมเกิดความสงสัยว่าปัญหาดังกล่าวคุ้มค่าหรือไม่ที่ต้องลงทุนใช้งบประมาณและทรัพยากรอันมีค่าของบริษัทไปเพื่อแก้ปัญหา คำตอบของปัญหาดังกล่าวอาจสรุปได้ ดังประเด็นต่อไปนี้
1. ผิดกฎและประกาศของกระทรวง หลายท่านอาจสงสัยว่าเพียงแค่ปัญหาเสียงดังถึงกับผิดกฎหมายเลยหรืออย่างไร คำตอบคือ ใช่ โดยมีกฎข้อบังคับและประกาศของกระทรวงแยกตามกระทรวงหัวข้อที่เกี่ยวกับปัญหาเสียงดังในโรงงาน มีดังนี้
กระทรวงทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม
- ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2550) เรื่อง ค่าระดับเสียงรบกวน
- ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวณค่าระดับการรบกวนและแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน (พ.ศ. 2550)
- ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่15 (พ.ศ. 2540) เรื่อง การกำหนดมาตรฐาน
ระดับเสียงโดยทั่วไป
- ประกาศกรมควบคุมมลพิษเรื่อง การคำนวณค่าระดับเสียง (พ.ศ. 2540)
กระทรวงอุตสาหกรรม
- กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง กำหนดค่าระดับเสียงการรบกวนและระดับเสียงที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. 2548
- ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่องวิธีการตรวจวัดระดับเสียงการรบกวนระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชม.และ ระดับเสียงสูงสุดที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. 2553
กระทรวงสาธารณสุข
- กฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560
กระทรวงแรงงาน
- กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน พ.ศ. 2561 “นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน (Time Weighted Average-TWA) มิให้เกินมาตรฐานตามที่กำหนด โดยหน่วยวัดระดับเสียงดังที่ใช้ในประกาศนี้คือหน่วยเป็นเดซิเบลเอ”
ฉนวนกันเสียง ทำไมต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมเสียงดังในโรงงาน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/