Author Topic: บรรจุภัณฑ์ อยู่ชิดกับสินค้า  (Read 223 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline siamwebsite

  • Sr. Member
  • ****
  • Posts: 419
  • Karma: +0/-0
    • http://www.facebook.com/siamwebsite
    • http://instagram.com//siamwebsite
    • http://www.twitter.com/siamwebsite

เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ การจัดหาเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ มักจะตัดสินใจโดยใช้ความรวดเร็วในการผลิต หรือการบรรจุเป็นเกณฑ์ ในการตัดสิน เนื่องจากเครื่องจักรเป็นสินทรัพย์ ความมั่นใจ ที่จำหน่ายก็มีบทบาทต่อการตัดสินใจ ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณา เลือกเครื่องจักรนั้น นอกจากความเร็วของเครื่องแล้ว ปัจจัยอื่นที่จำเป็นต้องพิจารณา ได้แก่ ตำแหน่งที่ตั้งเครื่อง การควบคุมการทำงาน ของเครื่อง การบำรุงรักษา พร้อมทั้งการบริการหลังการขาย และสุดท้าย คือ ค่าใช้จ่ายรวมเครื่องจักร เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท ตามประเภทของอาหาร คือ อาหารเหลว และอาหารแห้ง ส่วนเครื่องจักร พิเศษประเภทอื่น ๆ ได้แก่ เครื่องบรรจุสูญญากาศ เครื่องห่อที่มีการทำงานด้วยเชิงกล การใช้ ฟิล์มหด รัดรูป และฟิล์มยืด ในกรณีของ บรรจุภัณฑ์แก้ว ฝาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นต้องพิจารณา ใช้เครื่องเปิดฝาด้วย สำหรับถุงพลาสติกที่มีใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมขนาดย่อม เครื่องปิดปากถุงโดยใช้ความร้อนจะเป็นเครื่องจักรที่พบได้ทั่วไป ส่วนกระป๋องนับเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กันมาก ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องจักรที่ใช้กันมากที่สุดในอุตสาหกรรมนี้ คือ เครื่องปิดฝา ตะเข็บคู่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการทำให้กระป๋องมีการปิดสนิทมิดชิด (Hermetic Seal) ส่วนเครื่องจักรอื่นที่นิยมใช้ใน อุตสาหกรรม อาหาร ได้แก่ เครื่องปิดฉลาก เครื่องบรรจุกล่อง เครื่องปิดเทปกาวกล่อง เครื่องซีลสูญากาศ และเครื่องรัดกล่อง Packaging การพิมพ์ที่นิยมใช้กับบรรจุภัณฑ์มี 4 ประเภท คือ แบบถ่ายผ่าน (Relief) แบบแบนราบ (Plano Graphic) แบบกราวัวร์ (Gravure) แบบไร้สัมผัส (Non – Contact) สุดท้ายคือ การตรวจสอบและรับมอบเครื่องจักร ซึ่งมีความจำเป็นมากในการกำหนดคุณลักษณะจำเพาะ หรือที่เรียกว่า Specification ของเครื่องจักรในสัญญาซื้อขาย รายละเอียดในการกำหนดสเป็คจะรวบรวมเอาปัจจัยที่มีนัย สำคัญ กฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ในบ้านเรายังมีน้อยกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว กฎหมายที่ออกมาส่วนใหญ่จะเป็นกฎหมาย ที่คุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ผลิต เช่น พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พรบ.อาหาร พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค ส่วน พรบ.มาตรฐานอุตสาหกรรมเป็นกฎหมายที่พยายามยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อควบคุมผู้ประกอบการ แปรรูปอาหาร ให้ผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ อาหารสามารถติดต่อหาข้อมูล หรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ และองค์กร เอกชนต่าง ๆ ที่ไม่แสวงหากำไร อันประกอบด้วย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ส่วนอุตสาหกรรมเกษตร และส่วนบรรจุภัณฑ์) ศูนย์การบรรจุ หีบห่อไทย ศูนย์บริการออกแบบกรมส่งเสริมการส่งออก และสถาบันค้นคว้าพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ส่วนองค์กรเอกชน ได้แก่ สมาคมบรรจุภัณฑ์ไทย สถาบันอาหารและสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย สัญลักษณ์รหัสแท่งไทย หรือรู้จักกันในนามของบาร์โค้ด มีความจำเป็นในการใช้พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยี ทางคอมพิวเตอร์ การติดสัญลักษณ์รหัสแท่งบนสินค้าตัวใดก็ตามจะไม่มีสินค้าใด ๆ ในโลกนี้ที่มีหมายเลขซ้ำ เนื่องจากการจัดการอย่างมีระบบทั่วทั้งโลก การติดบาร์โค้ดกับสินค้าอุปโภคบริโภคยังเป็นบันได ก้าวแรกที่จะก้าวไปสู่การทำธุรกิจ แบบไร้เอกสาร โดยการซื้อ การขาย หรือธุรกรรมต่าง ๆ จะผ่านสายตรงไปยังคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Electronic Data Interchange หรือ รู้จักกันด้วยคำย่อว่า EDI ผู้ประกอบการท่านใดที่ต้องการประสบความสำเร็จในเส้นทางธุรกิจ สาระเล็ก ๆ น้อย ๆ ถือเป็นสิ่งที่ควรเอาใจใส่ ความหมายของการบรรจุภัณฑ์ (Packaging) การบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการตลาด โดยเฉพาะปัจจุบันที่การผลิตสินค้า หรือบริการได้เน้นหรือให้ความสำคัญกับผู้บริโภค (Consumer Oriented) และจะได้เห็นว่าการบรรจุภัณฑ์มีบทบาทมากขึ้นเพราะลำพังตัวสินค้าเองไม่มีนวัตกรรม (Innovation) หรือการพัฒนาอะไรใหม่อีกแล้ว ฉีกแนวไม่ออกเพราะได้มีการวิจัยพัฒนากันมานานจนถึงขั้นสุดยอดแล้ว จึงต้องมาเน้นกันที่บรรจุภัณฑ์กับการบรรจุหีบห่อ (Packaging) บรรจุภัณฑ์กับหีบห่อ (Package) ถือว่าเป็นคำคำเดียวกัน ทั้งนี้สุดแล้วแต่ผู้ใดประสงค์หรือชอบที่จะใช้คำใด ความหมายของการบรรจุภัณฑ์หรือการบรรจุหีบห่อ (Packaging) Packaging หมายถึง งานเทคนิคที่ต้องอาศัยความชำนาญ ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ ในอันที่จะออกแบบและผลิตหีบห่อให้มีความเหมาะสมกับสินค้าที่ผลิตขึ้นมา ให้ความคุ้มครองสินค้า ห่อหุ้มสินค้าตลอดจนประโยชน์ใช้สอย อาทิเช่น ความสะดวกสบายในการหอบหิ้ว พกพาหรือการใช้ เป็นต้น Packaging หมายถึง กลุ่มของกิจกรรมในการวางแผนเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิตภาชนะบรรจุหรือสิ่งหุ้มห่อสินค้าบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับฉลาก (Label) และตรายี่ห้อ (Brand name) Packaging หมายถึง ผลรวมของศาสตร์ (Science) ศิลป์ (Art) และเทคโนโลยีของการออกแบบ การผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้า เพื่อการขนส่งและการขายโดยเสียค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม Packaging หมายถึง การใช้เทคโนโลยีและเศรษฐศาสตร์เพื่อหาวิธีการรักษาสภาพเดิมของสินค้าจนกว่าจะถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย เพื่อให้ยอดขายมากที่สุดและต้นทุนต่ำสุด Packaging หมายถึง กิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและผลิตรูปร่างหน้าตาของภาชนะบรรจุ สิ่งห่อหุ้มตัวผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ Packaging เป็นทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ ซึ่งถูกมองในหลายแง่โดยบุคคลฝ่ายต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตสินค้า กล่าวคือ ฝ่ายเทคนิคจะคิดถึงปฏิกิริยาระหว่างภาชนะบรรจุกับผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม ฝ่ายผลิตจะพิจารณาต้นทุนและประสิทธิภาพของระบบการบรรจุ ฝ่ายจัดซื้อจะคำนึงถึงต้นทุนของวัสดุทางการบรรจุ และฝ่ายขายจะเน้นถึงรูปแบบและสีสันที่สะดุดตา ซึ่งจะช่วยในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้ Packaging ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมจะเกิดขึ้นได้จากการประนีประนอมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ภาชนะบรรจุซึ่งมีน้ำหนักเบาและราคาต้นทุนต่ำ แต่ในขณะเดียวกันมีรูปแบบสวยงาม และให้ความคุ้มครองอย่างเพียงพอแก่ผลิตภัณฑ์ภายในได้ Packaging หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดในขบวนการทางตลาดที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบสร้างสรรค์ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อให้กับผลิตภัณฑ์ Packaging หมายถึง การนำเอาวัสดุ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ ไม้ ประกอบเป็นภาชนะหุ้มห่อสินค้า เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยมีความแข็งแรง สวยงาม ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง สร้างภาพพจน์ที่ดี มีภาษาในการติดต่อสื่อสาร และทำให้เกิดผลความพึงพอใจจากผู้ซื้อสินค้า Packing ส่วนความหมายของ “หีบห่อ” “บรรจุภัณฑ์” หรือ “ภาชนะบรรจุ” (Package) มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ Package หมายถึง สิ่งห่อหุ้มหรือบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งภาชนะที่ใช้เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์จากแหล่งผู้ผลิตไปยังแหล่งผู้บริโภค หรือแหล่งใช้ประโยชน์ หรือวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการป้องกันหรือรักษาผลิตภัณฑ์ ให้คงสภาพตลอดจนคุณภาพใกล้เคียงกันกับเมื่อแรกผลิตให้มากที่สุด Package หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่รองรับหรือหุ้มผลิตภัณฑ์ เพื่อทำหน้าที่ป้องกันผลิตภัณฑ์จากความเสียหายต่าง ๆ ช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการขนส่งและการเก็บรักษา ช่วยกระตุ้นการซื้อตลอดจนแจ้งรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีคำอีก 2 คำ ที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ คือ การบรรจุภัณฑ์ (Packing) หมายถึง วิธีการบรรจุผลิตภัณฑ์ โดยการห่อหุ้ม หรือใส่ลงในบรรจุภัณฑ์ปิด หรือสิ่งอื่น ๆ ที่ปลอดภัย ตู้ขนส่งสินค้า (Container) หมายถึง ตู้ขนาดใหญ่ที่ใช้ขนส่งสินค้า ซึ่งมีขนาดและรูปแบบแตกต่างกันตามวิธีการขนส่ง (ทางเรือหรือทางอากาศ) โดยทั่วไปจะมีขนาดมาตรฐานเป็นสากล คำว่า “Container” นี้อาจใช้ในความหมายที่ใส่ของเพื่อการขนส่งและจัดจำหน่าย ในปัจจุบัน วัตถุประสงค์หลักของบรรจุภัณฑ์ (Objectives of Package) คือ เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์ (To Protect Products) เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (To Distribute Products) เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ (To Promote Products) การควบคุมคุณภาพในความหมายง่ายๆ คือ การทำให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดขึ้นคือ เมื่อมีการควบคุมคุณภาพในการผลิตสินค้าย่อมมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนี้จะคุ้มค่าหากสามารถลดความสูญเสียในกระบวนการผลิต ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น และกำไรเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการต้องพิจารณาว่า สินค้าคุณภาพต่ำ หรือคุณภาพสูง กับค่าใช้จ่ายต่ำ และค่าใช้จ่ายสูง สองสิ่งนี้นี้จุดพอดีอยู่ตรงจุดใด และตัวแปรสำคัญในการควบคุมคุณภาพและต้นทุนการผลิตอย่างหนึ่งคือ บรรจุภัณฑ์ เพราะในการบรรจุภัณฑ์สินค้านั้น หากเกิดความเสียหายหรือผิดพลาดแล้วย่อมทำให้ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพราะบรรจุภัณฑ์เป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญในการผลิตสินค้า



https://www.kaelynpackage.com/?p=2712

--------------------
ช่องทางการติดต่อ
โทร : 063-632-6146
Line : LINE@
ที่อยู่ : 862/34 ชั้น3 อาคารเดอะนิชไอดี แขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160
--------------------
โรงพิมพ์ซองฟอยล์
ซองฟอยล์
ถุงซิป
ซองครีม
ซองลามิเนต
ซองซาเช่
ซองใส่ขนม

รับทำเว็บไซต์
รับทำเว็บไซต์ ราคาถูก
เว็บไซต์ขยายสายงาน
สยามเว็บไซต์ SIAMWEBSITE
--------------------


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)