Author Topic: ปศท.รับลูก สตช.ดันปัญหาซอฟต์แวร์เป็นวาระแห่งชาติ  (Read 951 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

ปศท. รับไม้ต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติผลักดันปัญหาละเมิดลิขสิทธิซอฟต์แวร์เป็นนโยบายแห่งชาติ เผยส่งเรื่องเสนอต้นสังกัด ปรับโครงสร้างใหม่ยุบ"ศตท"

 พ.ต.อ.ศรายุทธ พูลธัญญะ รองผู้บังคับการกองปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (บก.ปศท.) กล่าวว่า ปศท. ได้วางแผนงานปรามปราบการละเมิดลิขสิทธิซอฟต์แวร์ และทรัพย์สินทางปัญญาเป็นนโยบายเร่งด่วนในปีนี้ ตามแผนการผลักดันของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งได้รับคำสั่งจากรัฐบาลชุดปัจจุบันให้ประเด็นดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องเร่งดำเนินการ


 ล่าสุดทาง ปศท.ได้เสนอแผนปรับโครงสร้างให้ยุบหน่วยงาน "ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำความผิดทางเทคโนโลยี หรือ ศตท. ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติเช่นกัน   เพื่อตั้งเป็นหน่วยงานใหม่คือ "กองบังคับการอาชญากรรมทางเทคโนโลยี" เพื่อดูแลงานตรวจสอบ และจับกุมการกระทำผิดทางเทคโนโลยีทั้งซอฟต์แวร์ และอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ จากเดิมที่มีอำนาจเพียงการตรวจสอบที่มา และส่งเรื่องให้ทาง ปศท. เป็นผู้ดำเนินการจับกุมเท่านั้น


  เขาระบุว่า เนื่องจากงานข้อจำกัดของปริมาณเจ้าหน้าที่ และขอบเขตความรับผิดชอบงานทั้งหมดของ ปศท. ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมการละเมิดลิขสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหมด ตั้งแต่คดีเกี่ยวกับการเงินการธนาคาร ภาษีศุลกากร การคุ้มครองผู้บริโภค และความผิดทางเทคโนโลยี ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดตามงานได้ครบถ้วนทั้งหมด และทำให้เกิดการล่าช้า โดยเฉพาะงานด้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งหน่วยงานเห็นตรงกันว่า ควรเพิ่มบทบาทให้กับศูนย์ดังกล่าว ซึ่งข้อสรุปจะต้องรอให้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นผู้ตัดสินใจ


 อย่างไรก็ตาม พ.ต.อ. ศรายุทธ เผยว่า ยอดการจับกุมซอฟต์แวร์เถื่อนในช่วง 3 เดือนแรกที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 25 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าเป็นอัตราที่มีแนวโน้มน้อยลงกว่าปีก่อนหน้า เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้เกิดผล 2 แนวทางคือ มีผู้ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดมากขึ้น และผู้ผลิตซอฟต์แวร์เถื่อนต้องปิดตัวลง เนื่องจากปัญหาเงินทุน และแนวโน้มการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนขององค์กรขนาดใหญ่ลดจำนวนลง เพราะการกวดขันของเจ้าหน้าที่ และส่วนใหญ่เริ่มตระหนักว่า หากเกิดการตรวจจับในหน่วยงานจะก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาล


 ขณะที่สถิติล่าสุดการจับกุมซอฟต์แวร์เถื่อนในไทย ลดเหลือ 53 ราย มูลค่าความเสียหายรวม 170 ล้านบาท จากปีก่อนหน้ามีการจับกุม 81 คดี มูลค่าความเสียหายราว 200 ล้านบาท โดยสถิติซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดสูงสุดขณะนี้ ยังคงเป็น ซอฟต์แวร์ป้องกันความปลอดภัย รองลงมาคือ โปรแกรมการใช้งานในสำนักงาน และโปรแกรมด้านการออกแบบ ตามลำดับ


 เขาเผยว่า ในปีนี้ ปศท. ยังคงใช้แนวทางการปราบปรามตามเดิม แต่จะเข้มข้นขึ้น คือ ร่วมมือกับบีเอสเอ และองค์กรธุรกิจต่างๆ ในการรณรงค์ใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ รวมทั้งตั้งรางวัลนำจับ คดีละ 2.5 แสนบาท และร่วมมือกับเจ้าของสิทธิทั้งไทยและต่างประเทศ เพื่อเข้าจับกุมองค์กรที่ละเมิดลิขสิทธิ


 พร้อมทั้งระบุว่า คดีส่วนใหญ่มากกว่า 90% ผู้เสียหายจะเจรจายอมความกันก่อนที่จะกลายเป็นการฟ้องร้องทางแพ่ง เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง ทั้งยังต้องใช้เวลาในการดำเนินการนาน ซึ่งไม่คุ้มค่าสำหรับองค์กรธุรกิจต่างๆ


 ส่วนกรณีที่เกิดเป็นคดีฟ้องร้องทางแพ่งตามที่เป็นข่าวนั้น เป็นการดำเนินการของผู้เสียหายเอง โดยไม่ผ่านเจ้าหน้าที่


 อย่างไรก็ตาม เขาเผยว่า อุปสรรคสำคัญของ ศตท. ในขณะนี้คือ การดำเนินการส่วนใหญ่จะต้องอาศัยเจ้าของสิทธิเข้ามาร้องเรียน เพื่อให้มีการเข้าไปตรวจสอบ และดำเนินคดี ซึ่งที่ผ่านมาก็มีเจ้าของสิทธิซอฟต์แวร์รายใหญ่ๆ ส่งทีมงานเข้ามาประสานงานกับหน่วยงานจำนวนหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังมีอีกจำนวนมากที่ยังไม่เข้ามาร้องเรียน ซึ่งทำให้ ปศท. ดำเนินการได้ไม่เต็มที่


 นอกจากนี้ ยังมีอุปสรรคจากพัฒนาการของกลวิธีการลักลอบขายซอฟต์แวร์เถื่อน เช่น การโชว์ปกแผ่นซีดี โดยไม่วางจำหน่ายแผ่นเถื่อนให้เห็น ซึ่งยังคงเป็นข้อถกเถียงกันในหน่วยงานว่า ถือเป็นความผิดหรือไม่ และขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ และกำลังเป็นช่องโหว่ที่ทำให้อัตราการละเมิดยังลดจำนวนได้ไม่มาก


 ด้านนายดรุณ ซอว์นีย์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ ภูมิภาคเอเชีย กลุ่มพันธิมตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) กล่าวว่า ที่ผ่านมาไทยถือว่าดำเนินการปรามปราบการละเมิดซอฟต์แวร์ในระดับดี และแนวโน้มว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งคาดว่าจะเป็นไปตามคาดการณ์ของไอดีซีที่ประเมินว่า อัตราการละเมิดลิขสิทธิซอฟต์แวร์ในไทยปีนี้จะลดลงเหลือ 76% จากเดิม 78%


 อย่างไรก็ตาม แนวทางความร่วมมือของบีเอสเอในปีนี้ก็ยังคงยึดแนวทางเดิมที่เคยร่วมมือกับ ปศท. รวมทั้งเร่งผลักดันการรณรงค์ใช้ซอฟต์แวร์ไทย และซอฟต์แวร์ลิขสิทธิร่วมกับหน่วยงานภาคต่างๆ ให้มากขึ้นในปีนี้ เพื่อสานนโยบายสร้างความเท่าเทียมในการดำเนินธุรกิจ และเปิดโอกาสให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยเชื่อมั่นว่า ซอฟต์แวร์ไทยก็สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

 

ที่มา: bangkokbiznews.com


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)