Author Topic: วัดใจรมต.ไอซีทีบีบไทยคมยิงดวงใหม่  (Read 1048 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


"คณะกรรมการ ม.22 ยัน "ไทยคม" ต้องสร้างดาวเทียมสำรองเพิ่ม พร้อมคืนเงินประกัน 61 ล้านเหรียญ-ปรับสัดส่วนหุ้นให้เหมือนเดิม สั่งเร่งแจงพื้นที่เหลือใน "ไทยคม 5" หวังบีบยิงดวงใหม่ พร้อมหาทางออกให้ดาวเทียมนอกสัญญา "ไอพีสตาร์" ฟาก "ทีดีอาร์ไอ" ชี้เป็นงานวัดกึ๋น รมต.ป้ายแดงต้องบาลานซ์" กม.และความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ "ไทยคม" ยันไม่เคยผิดสัญญา



แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า คณะกรรมการตามมาตรา 22 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานและดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ซึ่งกำกับดูแลสัญญาสัมปทานการให้บริการดาวเทียมไทยคมได้ข้อสรุปว่าไทยคมไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาสัมปทานให้ครบถ้วน และกระทำผิดเงื่อนไขในสัญญาตามที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้มีคำวินิจฉัยไว้

โดยคณะกรรมการได้มีข้อเสนอให้กระทรวงไอซีทีเร่งรัดให้ บมจ.ไทยคมปฏิบัติตามสัญญาให้ถูกต้อง ได้แก่ คืนเงินค่าประกันดาวเทียมไทยคม 3 ที่ต้องปลดระวางก่อนกำหนด 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐ, เร่งสร้างดาวเทียมสำรองไทยคม 3 หลังศาลวินิจฉัยชี้ขาดว่าไอพีสตาร์ไม่ใช่ดาวเทียมสำรองไทยคม 3 รวมถึงปรับสัดส่วนผู้ถือหุ้นของบริษัท หลังจากมีการลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยจาก 51% เหลือ 40%

"การนำเงินประกันไปเช่าช่องสัญญาณต่างประเทศเป็นการดำเนินการไม่ถูกต้อง เพราะตามสัญญาต้องให้ไอซีทีเจ้าของสัมปทานควบคุมดูแล และคงไว้เป็นหลักประกัน หากไม่สามารถซ่อมแซม หรือจัด หาทรัพย์สินทดแทนได้เพื่อให้มีบริการที่ต่อเนื่อง"

กรณีดาวเทียมไอพีสตาร์ เนื่องจากศาลชี้ขาดแล้วว่าไม่ใช่ดาวเทียมสำรอง จึงไม่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการตามมาตรา 22 ได้เสนอแนะให้กระทรวงไอซีทีตัดสินใจว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร เพราะแม้จะเป็นทรัพย์สินของเอกชน แต่อยู่บนตำแหน่งวงโคจรที่เป็นสิทธิ์ของรัฐ

"อยู่ที่ว่ากระทรวงไอซีทีจะเห็นว่าจะแก้ไขสัญญาให้ขยายความควบคุม ทำสัญญาใหม่ หรือไม่ให้ไทยคมใช้วงโคจรนี้ก็ต้องรีบทำ แต่การแก้ไขสัญญาอาจมีปัญหาข้อกฎหมาย เพราะศาลชี้ขาดว่าไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศ แต่สัญญาไทยคมตามสัมปทานให้บริการดาวเทียมสื่อสารในประเทศ"

นอกจากนี้ คณะกรรมการได้สั่งให้ บมจ.ไทยคมเสนอรายงานปริมาณการใช้ของดาวเทียมไทยคม 5 ในปัจจุบันว่ามีการใช้งานมากน้อยแค่ไหน มีพื้นที่เหลือเท่าใด เพียงพอต่อการให้บริการหรือไม่ และให้ชี้แจงนิยามคำว่าความพอเพียงของการให้บริการด้วย พร้อมรายงานแนวทางการแก้ไขปัญหาหากไทยคม 5 ชำรุดหรือ ต้องปลดระวางก่อนกำหนด เนื่องจาก ดาวเทียมตามสัมปทานเหลือดวงเดียว ไม่นับไทยคม 2 ที่จะปลดระวางในปีนี้

"หากไทยคม 5 ไม่สามารถให้บริการที่พอเพียงได้ และไม่มีโซลูชั่นสำรองที่ดี บริษัทต้องจัดสร้างดาวเทียมดวงใหม่ตามที่สัญญาระบุไว้ ถ้าบริษัทไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาให้ครบเท่ากับทำผิดสัญญา กระทรวงไอซีทีบอกเลิกสัญญาได้ หากเอกชนไม่พอใจก็ต้องเข้าสู่กระบวนการข้อพิพาท ทั้งอนุญาโตตุลาการ และศาลยุติธรรม แต่เราจะพยายามใช้ช่องทางเจรจาก่อน"

อย่างไรก็ตาม ผลสรุปดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอแนะ การดำเนินการใด ๆ ต่อไป เป็นเรื่องที่รัฐมนตรีไอซีทีเป็นผู้ตัดสินใจในการเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาทางออกที่เหมาะสม

ด้าน ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ข้อสรุปของคณะกรรมการถือว่าสมเหตุสมผล เป็นแนวทางเดียวกับคำพิพากษาศาลฎีกา แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องดูว่าหลังจากการนี้ฝ่ายการเมืองจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ถ้าไทยคมไม่ยอมแล้วจะทำอย่างไรต่อ

"ถือเป็นความท้าทายของรัฐมนตรีป้ายแดง อย่างท่านจุติ ไกรฤกษ์ ที่จะดำเนินการอย่างไรไม่ให้กระทบกับความเชื่อมั่นในการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ คู่ไปกับการรักษาผลประโยชน์ของประเทศ และการบังคับใช้กฎหมาย เป็นเรื่องที่อ่อนไหวมาก เนื่องจากคู่กรณีมีนักลงทุนต่างประเทศด้วย จะดำเนินการอย่างไรก็ต้องมีเหตุมีผล"

โดยเฉพาะการบังคับให้ปรับสัดส่วนผู้ถือหุ้นกลับไปเท่าเดิม ซึ่งจะกระทบต่อการถือครองหุ้นในบริษัทโทรคมนาคมอื่น ๆ ด้วย

"แม้ผู้ถือหุ้นต่างประเทศอยากจะขายไทยคมอยู่แล้ว แต่ถ้าถูกบังคับขายในช่วงที่เขาไม่พร้อมก็ลำบาก ตอนนี้รัฐบาลอยากทำก็ทำได้ แต่ต้องเนียน และอย่าเอาการเมืองหรือนโยบายชาตินิยมเป็นแรงจูงใจ ที่สำคัญอย่าลืมหาคนมารับผิดชอบกรณีอนุมัติให้ไทยคมดำเนินการผิดเงื่อนไขสัมปทาน

"ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการไม่ได้ปฏิบัติตามกระบวนการของ พ.ร.บ.ร่วมทุน มี สาเหตุมาจากคนของภาครัฐเองที่ละเลยหรือไม่ยอมปฏิบัติตามขั้นตอน จะโทษแต่เอกชนไม่ได้"

นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ไทยคม กล่าวว่า ดาวเทียมทุกดวงของไทยคมตั้งแต่ 1-5 โอนให้รัฐเรียบร้อยแล้วตามสัญญาสัมปทาน การจัดสร้างจัดส่งต้องเสนอกระทรวงเพื่ออนุมัติทุกเรื่อง บริษัทไม่มีสิทธิ์ทำเองโดยพลการ ต้องขออนุญาตทุกครั้ง สำหรับ ข้อสรุปของคณะกรรมการตามมาตรา 22 ถือเป็นข้อเสนอแนะไม่ใช่ข้อสรุป โดยผู้ที่จะต้องพิจารณาและตัดสินใจคือรัฐมนตรี ไอซีทีว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อ

"ไทยคมอยู่มา 18-19 ปี ยังไม่เคยได้รับ จ.ม.อะไรจากหน่วยงานรัฐว่าเราทำผิดสัญญา ถ้ามีความคิดเห็นที่แตกต่างต้องส่งเข้ากระบวนการยุติธรรม ต้องยื่นเรื่องไป ทางอนุญาโตตุลาการ การยึดสัมปทานไทยคมไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าคุณทำอย่างถูกต้องชัดเจนนะ เคสไทยคม ถ้าบอกว่าเราผิดก็ต้องพิสูจน์ว่าเราผิด และถ้าผิดก็ต้องให้ไปแก้ ไม่ใช่ข้ามไปถึงการยึด เป็นวิธีการปฏิบัติตามเงื่อนไข กม.ปกติ อย่างที่บอกว่าสิ่งที่เราทำ ไม่ว่าจะเป็นไทยคม 4 เรื่องสัดส่วนหุ้น หรือค่าประกัน เราได้รับอนุญาตในการดำเนินงานจากรัฐบาล กระทรวงคือรัฐบาลไทย ถ้าผมทำตามเขา เปลี่ยนรัฐบาลคนใหม่มาบอกว่าที่ทำผิด ถามว่าใครซวย"

นายอารักษ์กล่าวถึงความพร้อมในการยิงดาวเทียมดวงใหม่ว่า ไม่มีปัญหา ถ้า สมมติว่าคุยกับกระทรวงแล้วอยากให้ยิงดาวเทียมใหม่ บริษัทก็ต้องมาดูความต้องการว่าจะมีมากน้อยแค่ไหนเพื่อวางแผนธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันช่องสัญญาในไทยคม 5 เหลืออยู่อีกนิดหน่อย ขณะที่ไทยคม 4 หรือไอพีสตาร์เหลือเกิน 50%

ที่มา: prachachat.net


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)