Author Topic: ผุดโมเดล "ไต้หวัน เมมโมรี่" ท้า "เกาหลี" เขย่าตลาด "แรม"  (Read 1744 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

อยู่ในช่วงท้าทายอย่างหนัก สำหรับประเทศไต้หวันที่กำลังเจอมรสุมเศรษฐกิจรุมเร้ารอบด้าน ไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ แต่ขนาดของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไต้หวันเป็นผู้ผลิตครองส่วนแบ่งในโลกกว่า 93% ทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือ จอมอนิเตอร์ และเซมิคอนดักเตอร์ ทำให้ไต้หวันจุกมากกับวิกฤตครั้งนี้

บริษัทผู้ผลิตหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ในประเทศกำลังดิ้นรนอย่างหนักจากการขาดทุนครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ จากเศรษฐกิจขาลงทั่วโลกที่ส่งผลให้ความต้องการในตลาดลดลง ราคาสินค้าตกต่ำทั้งต้องต่อสู้กับผู้ผลิตเมมโมรี่รายใหญ่แดนกิมจิที่ครองส่วนแบ่งตลาดที่หนึ่งทั่วโลก

เดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัล รายงานว่า กลยุทธ์กอบกู้สถานการณ์ครั้งนี้คือการเป็นพันธมิตรของผู้ผลิตเมมโมรี่ในไต้หวัน และอาจมีผู้ผลิตรายใหญ่จากญี่ปุ่นและสหรัฐร่วมด้วย เพื่อผนึกกำลังต่อสู้กับซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ และไฮนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ 2 ยักษ์ใหญ่เมมโมรี่

รัฐบาลไต้หวันออกมาประกาศชัดเจนว่า จะตั้งบริษัทโฮลดิ้งคอมปะนี ภายใต้ชื่อ "ไต้หวัน เมมโมรี่ จำกัด" รัฐบาลถือหุ้นไม่เกิน 50% เพื่อช่วยพลิกฟื้นอุตสาหกรรม โดยจะจัดตั้งบริษัทใหม่ภายใน 6 เดือน

ไต้หวันเมมโมรี่เกิดจากความร่วมมือทางด้านกลยุทธ์ของผู้ผลิตเมมโมรี่และชิป 6 แห่งหรืออาจเป็นการควบรวมบริษัทผู้ผลิตเมมโมรี่ทั้ง 6 เข้าไว้ด้วยกัน คือ Nanya Technology, Inotera Memories, Powerchip Semiconductor, Rexchip Electronics, ProMOS Technologies, และ Winbond Electronics

และจะผนึกบริษัทผู้ผลิตเมมโมรี่ต่างชาติ คือ เอลฟิดา เมมโมรี่ ผู้ผลิตเมมโมรี่เบอร์ 3 ของโลกจากญี่ปุ่น และไมครอน เทคโนโลยี จากสหรัฐ มี "จอห์น ฉวน" ผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ จากไต้หวัน เป็นผู้รับผิดชอบโปรเจ็กต์ยักษ์

แผนต่อไปหลังจัดตั้งบริษัทเสร็จ คือกำจัดกำลังการผลิตส่วนเกินซึ่งจะเป็นผลบวกต่อผู้ผลิตแรมที่ยังคงเหลือในปัจจุบัน

โดยบริษัท ไต้หวัน เมมโมรี่ จะโฟกัสที่การผลิต ขณะที่พาร์ตเนอร์ต่างชาติให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี โดยไมครอนสนอตัวจัดตั้งศูนย์ R&D แห่งใหม่ ขณะที่เอลฟิดากำลังตัดสินว่าจะร่วมหรือไม่

"หยิน ฉี หมิง" รมต.กระทรวงเศรษฐกิจของไต้หวัน กล่าวว่า โปรเจ็กต์นี้ไม่ได้ช่วยบริษัทใดบริษัทหนึ่ง แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงภาพรวมทั้งอุตสาหกรรม

ความเจ็บปวดของบริษัทไต้หวันเพิ่มความรุนแรงขึ้น เนื่องจากสินค้ากลุ่มเมมโมรี่ โดยเฉพาะหน่วยความจำประเภท DRAM ซึ่งใช้จัดเก็บข้อมูลและเป็นส่วนประกอบสำคัญในพีซี และแก็ตเจ็ดราคาตกลงมากในปีที่ผ่านมา

ข้อมูลจาก iSuppli ระบุว่า DRAM ทั่วโลกขาดทุนรวมกัน 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากยอด 23.6 พันล้าน ซึ่งผู้ผลิตสัญชาติไต้หวันผลิตมากกว่า 1 ใน 4 DRAM ทั่วโลก ขาดทุนรวมกันกว่า 3 พันล้านเหรียญ

"จิม ฮันดี้" นักวิเคระห์จากบริษัทวิจัยตลาด objective analysis คาดว่า ต้นทุนการสร้างโรงงานใหม่เพิ่มขึ้น 12% ต่อปี ขณะที่รายได้เพิ่มน้อยกว่า 5% ทำให้มีบริษัทไม่กี่แห่งแข่งขันได้ การรวมกันจึงเลี่ยงไม่ได้

หากประสบความสำเร็จบริษัทไต้หวัน และพันธมิตรจะขยับส่วนแบ่งตลาดเพิ่มเป็น 35% สร้างความหวั่นไหวให้ซัมซุง เบอร์ 1 ของโลกได้

ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตหน่วยความจำในเกาหลีใต้เฟื่องฟู มาจากรัฐบาลสนับสนุนการควบรวมบริษัทต่างๆ ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้เหลือบริษัทใหญ่เพียง 2 บริษัท คือซัมซุงและไฮนิค รวมถึงมุ่งเน้นการผลิตสินค้าในกลุ่ม NAND flash memories ที่มีราคาค่อนข้างสูง และเมมโมรี่สำหรับการสื่อสารแบบ พกพา ทำให้สามารถแข่งขันในตลาดได้

ขณะที่รัฐบาลไต้หวันยังจำกัดตนเองอยู่แค่การลดหย่อนภาษี หรือการใช้เงินสนับสนุน ทำให้ผู้ผลิตอยู่ในสถานะที่เล็กเกินกว่าจะพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ทั้งสินค้าที่ผลิตยังเป็นหน่วยความจำในกลุ่มสินค้าราคาถูกทำให้เสียเปรียบในการแข่งขัน

"จอยซ์ หยาง" นักวิเคราะห์จากบริษัทวิจัยอุตสาหกรรมและที่ปรึกษา DRAMeX change กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายในครั้งนี้อาจเหลือบริษัทผู้ผลิตเมมโมรี่เพียง 2 กลุ่มเท่านั้น คือผู้ผลิต DRAM จากเกาหลี และผู้ผลิต DRAM ที่ไม่ใช่เกาหลี

ที่มา: matichon.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
6572 Views
Last post February 14, 2009, 12:00:18 AM
by Webmaster
0 Replies
2742 Views
Last post February 21, 2009, 09:50:39 AM
by Nick
0 Replies
3323 Views
Last post March 03, 2009, 06:03:22 PM
by Reporter
0 Replies
5307 Views
Last post March 03, 2009, 06:05:12 PM
by Reporter
0 Replies
3896 Views
Last post March 03, 2009, 06:06:33 PM
by Reporter
0 Replies
2331 Views
Last post March 06, 2009, 11:17:31 PM
by Reporter
0 Replies
2038 Views
Last post March 10, 2009, 08:43:28 AM
by Reporter
0 Replies
1351 Views
Last post March 10, 2009, 10:03:22 AM
by Reporter
0 Replies
1707 Views
Last post March 13, 2009, 03:57:06 PM
by Reporter
0 Replies
1971 Views
Last post March 13, 2009, 05:36:43 PM
by Reporter