Author Topic: เทรนด์ไมโครเปิดกลยุทธ์รอบปี52 เน้นทำตลาดแบบโทเทิลโซลูชัน  (Read 1049 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

      เทรนด์ ไมโครเปิดยุทธศาสตร์ปี 52 เน้นทำตลาดแบบโทเทิ่ล โซลูชัน ล่าสุดส่งเทคโนโลยีใหม่ Smart Protection Network เจาะกลุ่มองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลาง พร้อมรายงานสรุปภัยคุกคามความปลอดภัยข้อมูล ประจำปี 2551 และการคาดการณ์ภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในปี 2552
       
       นายรัฐสิริ  ไข่แก้ว ผู้จัดการฝ่ายขายประจำภูมิภาคอินโดจีน บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ กล่าวถึงแผนรุกตลาดรักษาความปลอดภัยข้อมูลของเทรนด์ ไมโครในปีนี้ว่า จะเน้นเรื่องการให้บริการโซลูชันรักษาความปลอดภัยข้อมูลแบบรวม (Total Solution) ที่ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายป้องกันภัยอัจฉริยะ (Smart Protection Network) พร้อมเปิดตัวโซลูชันเก็บสำรองข้อมูลอีเมลใหม่ล่าสุด (Trend Micro Message Archiver-TMMA) ระบบจัดเก็บอีเมลให้สามารถบีบอัดข้อมูลได้มากขึ้น เพื่อลดพื้นที่ในการจัดเก็บ และมีการเข้ารหัสข้อมูลก่อนส่งออกไปภายนอก เพื่อป้องกันข้อมูลการทำธุรกรรมต่างๆ ไม่ให้รั่วไหล พร้อมตั้งเป้าการเติบโตในปีนี้ไว้ที่ประมาณ 20% โดยจะมุ่งขยายฐานกลุ่มลูกค้าไปยังกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลางเป็นหลัก
       
       “ปัจจัยที่ทำให้ตลาดรักษาความปลอดภัยข้อมูลในไทยยังมีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มมากขึ้นนมาจาก  1. ภัยคุกคามข้อมูลรูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ทำให้ผู้ใช้งานต้องปรับตัวและศึกษาวิธีป้องกันภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ 2. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปี พ.ศ. 2550 ทำให้เกิดความตื่นตัวและกระตุ้นให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ระมัดระวังในการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมากขึ้น และ 3. การรณรงค์ให้ผู้ใช้เลือกใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเกิดความตื่นตัว และรู้จักเลือกใช้โซลูชันและซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องเหมาะสมมาใช้ในองค์กรนั้นๆ”
       
       นายคงศักดิ์  ก่อตระกูล ที่ปรึกษาด้านเทคนิค บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) กล่าวถึงรายงานสรุปภัยคุกคามความปลอดภัยข้อมูลล่าสุดของเทรนด์แล็บส์ บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ ว่า ในปี 2551 ถือเป็นปีแห่งการค้นหา  และสร้างสรรค์นวัตกรรมของอาชญากรไซเบอร์       จะเห็นได้ว่าในช่วงสองปีที่ผ่านมาธุรกิจของเหล่าอาชญากรไซเบอร์ใต้ดินขยายตัวเป็นอย่างมาก และผู้เขียนมัลแวร์ต่างก็มุ่งเป้าไปที่ผลประโยชน์ทางการเงินอย่างชัดเจน ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องใส่ใจกับภัยคุกคามข้อมูลบนเว็บเพิ่มมากขึ้น ขณะที่อาชญากรไซเบอร์เองก็พยายามใช้เส้นทางใหม่ๆ หรือปรับปรุงเส้นทางที่มีอยู่เดิมของตนให้ดีขึ้นเพื่อจะทำกำไรได้มากขึ้น
       
       ภัยคุกคามข้อมูลที่มีชื่อเสียงในรอบปี 2551 ได้แก่ บอตเน็ต ผลสำรวจพบว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน 2551 มีพีซี 34.3 ล้านเครื่องติดมัลแวร์ในตระกูลบอต ส่วนสแปม หรือข้อความอีเมลขยะ ประมาณ 1.15 แสนล้านฉบับถูกส่งออกทุกวัน เพิ่มขึ้นจากเดิมที่พบเพียง 7.5 หมื่นล้านฉบับในปี 2548-2549 โดย 99 % ของสแปมมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ดูไม่เป็นภัย รวมถึงการสื่อสารไปมาระหว่างผู้ใช้ระยะไกล
       
       "รูตคิตส์" เป็นอีกหนึ่งภัยคุกคามข้อมูลที่พบบ่อย แม้ว่ารูตคิตส์จะไม่เป็นอันตรายมากนัก แต่จากพัฒนาการบางอย่างในเทคโนโลยีรูตคิตส์อาจทำให้ระบบคอมพิวเตอร์เกิดความปั่นป่วนได้
       
       รวมถึงมีการพัฒนาฟิชชิงให้เป็นพาหะในการโจมตี ก่อนหน้านี้จะมาในรูปของการสอดแนม แต่ปัจจุบันกลายเป็นภัยคุกคามลูกผสมที่รวมตัวกันระหว่างฟิชชิงกับมัลแวร์ขโมยข้อมูล การรวมตัวของภัยคุกคามด้านมืดเข้าด้วยกันนำมาซึ่งความสามารถในการเจาะระบบดิจิตอลไปยังอุปกรณ์ที่ใช้ทำงานในทุกวัน โดยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะเป็นช่องทางหลัก และเมื่อผู้ใช้เชื่อมต่อโลกออนไลน์ก็จะเป็นการเปิดรับการโจมตีที่มีเป้าหมายที่มุ่งตรงสู่อุปกรณ์ที่พวกเขาใช้งานในทันที
       
       อาชญากรไซเบอร์เลือกที่จะใช้ความน่าเชื่อถือของเครื่องมือสร้างมัลแวร์ที่มีอยู่ร่วมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้เกิดภัยคุกคามข้อมูลบนเว็บแบบลูกผสมที่เป็นการใช้ประโยชน์จากเทคนิคที่ได้รับการทดสอบแล้วว่าสำเร็จกับสิ่งใหม่ที่พัฒนาขึ้น
       
       การคาดการณ์สถานภัยคุกคามข้อมูลที่จะเกิดขึ้นในปีนี้จะพบว่าเทคนิคการแพร่กระจายแบบเดิมๆ เช่น พิกกี้แบ็ก กิ้ง (การเข้าไปในระบบโดยการแอบสวมรอยเป็นผู้ใช้ในระบบ), อีเมล, ไดรฟ์แบบถอดได้ และข้อความทันใจ (ไอเอ็ม) และการใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ งานเฉลิมฉลอง และการเมืองจะยังคงถูกใช้เป็นเครื่องมือในปีนี้ อีกทั้งอุปกรณ์เคลื่อนที่จะตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์มากขึ้น และจะเห็นภัยคุกคามจำนวนมากที่ทำเงินจากเทคโนโลยีเคลื่อนที่ โดยเฉพาะเมื่อโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์พกพาอื่นๆ เริ่มติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปมากขึ้น รวมทั้งจะพบปริมาณสแปมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสหรัฐอเมริกายังคงเป็นประเทศที่ส่งออกสแปมมากที่สุด ขณะที่ประเทศในแถบยุโรปเป็นพื้นที่ที่ได้รับสแปมมากที่สุด

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)