ตรวจฮอร์โมนสำคัญอย่างไร ทำไมจึงจะต้องตรวจ สัญญาณที่บ่งชี้ว่าควร
ตรวจฮอร์โมนคืออะไร?
ในร่างกายของเรามีเคมีที่เรียกว่า “ฮอร์โมน” ซึ่งทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากต่อมไร้ท่อ (Endocrine gland) ผ่านไปทางกระแสเลือดไปยังอวัยวะเป้าหมาย ฮอร์โมนแต่ละประเภทมีหน้าที่แตกต่างกัน โดยรวมคือมีส่วนช่วยควบคุมการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายเราให้มีสมดุล ทำงานได้ตามปกติ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นร่างกายของเราก็จะผลิตฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไป
หากฮอร์โมนเสียสมดุลอาจส่งผลต่ออารมณ์ สุขภาพ ผิวพรรณ หรืออาจทำให้เกิดความผิดปกติ หรือโรคร้ายต่างๆ ตามมาได้ เพราะฉะนั้น "การตรวจระดับฮอร์โมน" หรือ "ตรวจความสมดุลของฮอร์โมน" จึงจัดว่าเป็นเรื่องสำคัญเพื่อใช้ประเมินอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเราว่า เป็นผลมาจากระดับฮอร์โมนหรือไม่ เพื่อจะได้วางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมต่อไป
ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อระดับฮอร์โมนไม่ปกติ
- อัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกายลดลง ปริมาณไขมันสะสมในร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดโรคอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจขาดเลือดได้อีกด้วย
- มวลกล้ามเนื้อลดลง
- ผิวแห้งกร้าน เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นได้ง่าย ทำให้แลดูแก่ก่อนวัย
- การนอนหลับที่ผิดปกติ ทำให้นอนหลับยากขึ้น หรือนอนหลับไม่สนิท
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย อาจเกิดภาวะซึมเศร้า ความจำเสื่อม
- ระดับความต้องการทางเพศลดลง
สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่า ควร
ตรวจฮอร์โมน- ประจำเดือนมาผิดปกติ โดยทั่วไปประจำเดือนจะมาทุก 21-35 วัน แต่หากประจำเดือนของคุณมาไม่ตรงกันทุกเดือน หรือข้ามเดือน อาจเป็นผลมาจากฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือโปสเจสเตอโรนผิดปกติ อย่างไรก็ตาม หากคุณอายุ 40-50 ปี อาการที่เกิดขึ้นอาจมีสาเหตุว่า คุณกำลังเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน
- นอนไม่หลับ ตามปกติฮอร์โมนเมลาโทนินจะมีส่วนช่วยในการนอนหลับทำให้ร่างกายผ่อนคลาย ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายลง ส่งผลให้สามารถนอนหลับได้ดี ถ้าระดับของเมลาโทนินต่ำเกินไป อาจเกิดอาการร้อนวูบวาบและมีเหงื่อออกตอนกลางคืน ซึ่งทำให้นอนหลับยากขึ้น
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย เครียด ซึมเศร้า เมื่อฮอร์โมนลดลง หรือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาจทำให้เรารู้สึกหงุดหงิด หรือมีอารมณ์แปรปรวนได้ โดยฮอร์โมนเอสโตรเจน นับว่าเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ส่งผลต่อสารเคมีในสมองอย่างเซโรโทนิน โดพามีน และนอร์อิพิเนฟริน ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับอารมณ์
- น้ำหนักเพิ่ม เนื่องจากฮอร์โมนไทรอยด์ หรือต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือด ดังนั้นหากระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงก็อาจส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นผิดปกติได้
- เป็นสิวมากกว่าปกติ ตามปกติผิวหนังของคนเราจะมีความชุ่มชื้น เนื่องจากต่อมใต้ผิวหนังผลิตซีบัมซึ่งเป็นของเหลวที่มีน้ำมันและขี้ผึ้งปนกันแล้วส่งผ่านท่อเล็กๆ ขึ้นมาหล่อเลี้ยง สิวจะเกิดขึ้นเมื่อท่อเล็กๆ เหล่านี้อุดตัน โดยฮอร์โมนที่ผิดปกติจะไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตไขมันมากขึ้น ดังนั้นโอกาสที่ท่อส่งไขมันจะอุดตันจนทำให้เกิดสิวก็เพิ่มขึ้นด้วย
- ผิวพรรณแห้งกร้าน เกิดริ้วรอยก่อนวัย ฮอร์โมนเอสโทรเจนเป็นฮอร์โมนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผิวพรรณและริ้วรอยต่างๆ หากฮอร์โมนประเภทนี้ลดลงจะส่งผลต่อผิวพรรณทำให้ไม่เปล่งปลั่งเช่นเดิม หรือมีริ้วรอยก่อนวัย
เข้าไปอ่านเนื้อหาเรื่อง ตรวจฮอร์โมน ฉบับเต็มได้ที่ Website :
https://www.honestdocs.co/check-hormone