Author Topic: ซีเอ เผย 5 เทรนด์ ไอทีรับปี 2014  (Read 1370 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


“ในปี 2014 ไอทีจะเป็นตัวผลักดันโมเดลใหม่ระหว่างธุรกิจและเซอร์วิสที่ผูกพันแนบชิดมากขึ้น” จอห์น ไมเคิลเส็น หัวหน้าผู้บริหารไอที บริษัท ซีเอ เทคโนโลยี กล่าวพร้อมเสริมว่า “ผู้บริหาร CIO จะเริ่มวางใจที่จะปล่อยวางการควบคุมและหันมาใช้เซอร์วิสอย่างครบวงจรมากขึ้น โดยจะทำงานเน้นการรวมส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อนำเสนอประสบการณ์ใช้งานที่ดีสำหรับผู้ใช้ และฝ่ายไอทีกำลังมีบทบาทใหม่ที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ทุกคนวางใจ และเป็นตัวแทนประสานงานเซอร์วิสในโลกใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเน้นที่งานนำเสนอเซอร์วิสการใช้งานผ่านโมไบล์ และบริหารจัดการแอพพ์อย่างมีประสิทธิภาพ”
       
       ทิศทางสำคัญขององค์กรไอทีในปี 2014 น่าจะเป็นไปตามคาดการณ์ดังนี้:
       
       1.   วิกฤติขาดแคลนทักษะฝีมือกำลังก่อตัว : ถึงแม้หลายบริษัทจะไวในการปรับเปลี่ยนมาเน้นลงทุนในด้านงานเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่พลิกโฉมหน้าบริษัท เช่น โซเชี่ยล โมบายล์ และคลาวด์ก็ตาม อย่างไรก็ตามจะให้บรรลุผลเต็มรูปแบบ จะต้องมีการปรับเปลี่ยนทั้งวัฒนธรรมการทำงานและทักษะนองค์กรควบคู่กันไปด้วยเช่นกัน
       
       งาน Big Data ต้องการผู้เชี่ยวชาญข้อมูลสายพันธุ์ใหม่ ส่วนเทคโนโลยีล้ำหน้าใหม่ๆ ล้ำยุคด้านโมบายล์ โซเชียล และแผนที่ ก็จะส่งผลให้มีการรื้อดีไซน์และโครงสร้างของทั้งแอปพลิเคชันและหน้าจอใช้งานของโปรแกรมตามติดมาด้วย ทั้งหมดนี้เป็นตำแหน่งงานที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะทางสูงที่หลายบริษัทยังขาดแคลนและแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะมีบริษัทไหนจะบรรจุตำแหน่งงานพวกนี้ได้ครบ
       
       ผู้เชี่ยวชาญหลายรายชี้ว่า มี 30 ตำแหน่งงานที่เติบโตเร็วสูงสุดในช่วงสิบปีข้างหน้า จะต้องใช้แรงงานที่มีฝีมือในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ แต่ปัญหาก็คือ ไม่มีแรงงานที่ทักษะสูงเหล่านี้มากพอ มีรายงานชิ้นหนึ่งระบุ ภายในปี 2018 ในสหรัฐฯจะขาดแรงงานที่มีคุณวุฒิทางเทคนิคที่อุตสาหกรรมต่างๆ ต้องการถึง 3 ล้านราย ซึ่งต้องรับมือด้วยการลงทุนด้านการศึกษาเฉพาะทางสำหรับแต่ละกลุ่มอายุผู้เรียน และสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้เยาวชนมีช่องทางสู่ความสำเร็จในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ เพื่อสร้างผู้นำและอนาคตนักสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาในอนาคตข้างหน้า
       
       บริษัทที่มองการณ์ไกลและเร่งรับมือปัญหาแรงงานฝีมือขาดแคลนเอาไว้ล่วงหน้า โดยเปิดกว้างในการใช้การพัฒนาระบบจากชุมชนผู้ใช้งานในระยะสั้น และรับมือระยะยาวด้วยการลงทุนด้านการศึกษาทางเทคนิคจะเป็นผู้ที่ชนะในการแข่งขันในที่สุด
       
       2.   งานไอทีที่เน้น แอปและกระแส API : การใช้งานคอมพิวเตอร์ระบบคลาวด์ โมบายล์ และเทคโนโลยีไฮเทคอื่นๆ ได้เกิดการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญในระดับพื้นฐานในการพัฒนาและใช้งานแอปพลิเคชัน
       
       หมดยุคเก่าที่ใช้งานระบบแพล็ตฟอร์มเดียว แอปพลิเคชันสมัยปัจจุบันสามารถประกอบสร้างขึ้นได้อย่างรวดเร็วจากคอมโพเนนท์ที่มีอยู่ภายในบริษัท หรือสร้างขึ้นโดยบริษัทผู้ให้บริการ ซึ่งสามารถติดตั้งได้ทั้งในเซิร์ฟเวอร์ ไม่ว่าแพลตฟอร์มใด หรือ ในคลาวด์ หรือได้ทั้งสองแบบพร้อมๆ กัน ในการใช้งานแบบนี้ ผู้บริหารระดับ CIO ที่ได้ยกระดับการทำงานมาเน้นที่งานบริหารจัดการแอปและเซอร์วิสต่างๆ จะมีส่วนสำคัญในการผลักดันบริษัทให้รุดหน้าสู่ความสำเร็จต่อไป
       
       ที่เห็นและเป็นไปในขณะนี้ก็คือ ฝ่ายไอทีกำลังจะกลายบทบาทเปลี่ยนเป็นผู้ประกอบรวมแอปพลิเคชัน และเป็นนายหน้าโบรกเกอร์งานเซอร์วิสทางธุรกิจมากกว่าอะไรอื่น โดยการใช้งานทั้งด้าน SaaS, PaaS และ IaaS ที่มีแพร่หลายได้ช่วยให้มีเซอร์วิสงานระบบคอมพิวเตอร์ที่พร้อมใช้งาน โดยงานทางฝ่ายไอทีจะเปลี่ยนมามองที่การประกอบประสานแอปพลิเคชันทางธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้บรรลุเป้าทั้งด้านความเร็ว นวัตกรรม ประสิทธิภาพ และต้นทุนความเสียงที่ต้องการ แทนที่จะเป็นรูปแบบงาน ซื้อหรือสร้างแอพพลิเชั่น แล้วจัดการดูแลแบบเดิมที่เคยเป็นมา ซึ่งทั้งหมดนี้ CIO รายใดที่จะบริหารการเปลี่ยนแปลงนี้ได้สำเร็จจะต้องเพิ่มระดับการใช้งานเซอร์วิสต่างๆ ที่มี และใช้งาน APIs (Application Performance Interfaces) ตลอดจนควบคุมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
       
       3.   ประสบการณ์ใช้งานมีความสำคัญสูงสุด : ปัจจุบันทั้งลูกค้าและพนักงานหันมาใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ เร็วกว่าตัวธุรกิจเองเสียอีก และองค์กรธุรกิจทุกวันนี้ก็ควบคุมแบรนด์ตัวเองไม่ได้อีกต่อไป
       
       ทุกวันนี้งานไอทีเซอร์วิสเป็นเรื่องของผู้บริโภค ซึ่งตรงนี้มีผลเปลี่ยนแปลงสำคัญต่อวิธีการพัฒนาแอปพลิเคชันขึ้นมา ซึ่งนำไปสู่ดีไซน์ใหม่ที่เน้นด้านประสบการณ์ใช้งาน รวมทั้งการพัฒนาแบบ DevOps ที่เป็นวิธีใหม่ที่พนักงานฝ่ายปฏิบัติงานและไอทีทำงานร่วมกันเพื่อร่นระยะเวลาการนำเสนอเซอร์วิสธุรกิจใหม่ๆ
       
       จะมีการใช้เทคโนโลยีการรับรู้ทางไกลมากขึ้นเรื่อยๆ ในเครื่องโมบายล์สมัยใหม่ และอุปกรณ์พกพาติดตัวไฮเทคอื่นๆ จากแนวคิดในการพัฒนาที่เน้น โมบายล์ หรือการใช้งานแบบนอกสถานที่อย่างเดิม มาเน้นใหม่ที่ตรงประสบการณ์ในการใช้งาน แบบหลายช่องทางที่จะใช้ผ่านหลายอุปกรณ์เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต สมาร์ททีวี วิดีโอเกม คอมพิวเตอร์พกพา หรืออุปกรณ์ใดก็ตามที่ผู้บริโภคจะใช้งานในขณะที่ต้องการ
       
       การบริหารจัดการไอทีในด้านโมบายล์และโซเชียล จะเน้นหนักน้อยลงในเรื่องการดูแลและรักษาความปลอดภัยให้กับตัวอุปกรณ์ แต่จะเน้นไปที่ การดูแลและรักษาความปลอดภัยให้กับแอปพลิเคชันโมบายล์ และข้อมูลในระบบโมบายล์แทน ทั้งหมดนี้เพื่อนำเสนอประสบการณ์การใช้งานที่ประทับใจแก่ผู้ใช้งานระบบนั่นเอง
       
       4. ซอฟต์แวร์ต้องพัฒนาเร็ว : ตอนนี้เรากำลังอยู่ในยุคสมัยใหม่ที่มีผู้บริโภคที่นิยมแชร์ประสบการณ์และข้อมูลผ่านโซเชียลมีเดีย ทั้งผู้บริโภคและพนักงานในบริษัทต่างเรียกร้องต้องการประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีขึ้นมากขึ้น และจะเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกนาน รวมถึงการใช้งานเทคโลยีการรับรู้ระยะไกล การใช้แอปพลิเคชันที่ใช้งานได้หลากหลายช่องทางการเชื่อมต่อ ในขณะที่ที่ข้อจำกัดในการแข่งขันเดิมได้หมดไป และมีคู่แข่งมาจากทุกทาง
       
       ในสถานการณ์ความเป็นจริงแบบที่เห็นนี้ แนวคิดโมบายล์ โซเชียล คลาวด์ และการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ DevOps ได้รวมประสานเป็นหนึ่งเดียว จะมีการผลักดันความต้องการในการยืดหยุ่นในการใช้งานจากทุกๆ ธุรกิจ ที่นำไปสู่การใช้ ระบบ DevOps แทนที่ระบบพัฒนาแบบเดิมอย่างเช่น ITIL (Information Technology Infrastructure Library) และกลั่นกรองไอเดียสำคัญๆ มาใช้งานและปรับใช้ในงานพัฒนาระบบสมัยใหม่ที่เน้นยืดหยุ่นสูง
       
       5.   งานรักษาความปลอดภัยคือเรื่องสำคัญที่สุดของทั้งไอทีและธุรกิจ : การใช้งานโมบายล์ โซเชียล คลาวด์ และ DevOps ที่แพร่หลาย ได้เปิดช่องทางต่างๆ มากมายเข้าสู่ตัวบริษัท และเพิ่มความเสี่ยงให้กับการดำเนินธุรกิจด้วยเช่นกัน การประสานงานข้ามสายและสถานที่ได้ลดขีดความสามารถในการควบคุมดูแลจากฝ่ายไอทีลงมา และทั้ง CIO และ CSO จะต้องหาจุดสมดุลระหว่างการทำงานที่สะดวกกับการปกป้องตัวธุรกิจให้ได้
       
       งานรักษาความปลอดภัยจะต้องจัดการดูแลได้อย่างสะดวก เน้นระบอัตโนมัติ ทำงานอยู่เบื้อหลังในระดับแบ็คเอ็นด์ ในขณะที่ยูสเซอร์ยังใช้งานได้สะดวกและรักษาระดับประสิทธิภาพในการทำธุรกิจไว้ นอกจากนี้ฝ่ายไอทีอาจจะเสริมทัพรักษาความปลอดภัยได้ด้วย การป้องกันและเตรียมตัวแบบคาดการณ์สถานการณ์ไว้ล่วงหน้า เพื่อรับมือการคุกคาม ซึ่งจะทำให้งานรักษาความปลอดภัยที่เน้นสมดุลระหว่างความสะดวกใช้ และวางใจด้านความปลอดภัยเป็นไปได้ราบรื่นในอนาคต
       
       ระบบคลาวด์เป็นเรื่องธรรมดาๆ ไปแล้ว
       
       ความฮือฮาของระบบคลาวด์จะเสื่อมมนต์ขลังลงในปี 2014 เพราะทุกคนจะเริ่มตระหนักและเข้าใจว่า คลาวด์ก็เป็นเพียงแค่วิธีในการดำเนินธุรกิจนั่นเอง และคลาวด์คือเครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่การใช้งานเทคโนโลยีล้ำหน้าอื่นๆ ในด้านโซเชี่ยลและโมไบล์ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์ระบบคลาวด์ จะเริ่มกลายมาเป็นการใช้งานกระแสหลักที่แพร่หลาย แต่ยังมีบริษัทธุรกิจมากมายที่ที่ยังคงดำเนินการอยู่ในขั้นเริ่มต้นใช้งาน และบริษัทเหล่านี้จะได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติแรงงานฝีมือขาดแคลน ซึ่งตรงนี้น่าจะนำไปสู่กระแสการใช้งานคลาวด์ทั้งในแบบส่วนตัวและสาธารณะจากทางบริษัทผู้ให้บริการมากขึ้น
       
       Company Relate Link :
       CA

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
1549 Views
Last post June 14, 2010, 01:27:15 PM
by Nick
0 Replies
1298 Views
Last post March 05, 2013, 12:48:28 AM
by Nick
0 Replies
1647 Views
Last post March 26, 2013, 04:13:08 PM
by Nick
0 Replies
1573 Views
Last post April 30, 2013, 01:02:13 AM
by Nick
0 Replies
1256 Views
Last post October 29, 2013, 01:16:55 PM
by Nick
0 Replies
1278 Views
Last post November 06, 2013, 01:13:50 PM
by Nick
0 Replies
1396 Views
Last post December 03, 2013, 05:22:50 PM
by Nick
0 Replies
1117 Views
Last post December 23, 2013, 01:48:21 PM
by Nick
0 Replies
1634 Views
Last post December 26, 2013, 08:26:15 PM
by Nick
0 Replies
3863 Views
Last post October 26, 2014, 10:19:39 AM
by Nick