ไอโฟนแตก จะไม่ใช่ฝันร้ายของสาวกแอปเปิลอีกต่อไป?แผนภาพแสดงจุดอ่อนแอแตกหักง่ายของสมาร์ทโฟนลักษณะการติดตั้งกลไก"พลิกเครื่องขณะร่วงหล่น" ในสมาร์ทโฟนจุดอ่อนแอแตกหักง่ายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแผนภูมิแสดงอันดับการประมวลผลของระบบสิทธิบัตรเทคโนโลยีใหม่ที่จะสามารถพลิกไอโฟน (iPhone) ที่กำลังร่วงหล่น ให้กระทบกับพื้นในจุดที่เสียหายน้อยที่สุด ได้เหมือนแมวเหมียวที่สามารถพลิกตัวเมื่อกระโดดลงจากที่สูง เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมากเมื่อแอปเปิล (Apple) ยื่นเรื่องขอจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีใหม่ที่จะสามารถพลิกไอโฟน (iPhone) ที่กำลังร่วงหล่น ให้กระทบกับพื้นในจุดที่เสียหายน้อยที่สุด ไม่ต่างจากแมวเหมียวที่สามารถพลิกตัวเมื่อกระโดดลงจากที่สูงได้อย่างปลอดภัย ขณะเดียวกันก็สามารถใช้ระบบไอพ่นเพื่อลดแรงกระแทกได้พร้อมกัน รายงานระบุว่า หมายเลขยื่นขอสิทธิบัตรในฝันคนซุ่มซ่ามของแอปเปิลคือ 20130257582 โดยชื่อสิทธิบัตรอย่างเป็นทางการคือเทคโนโลยีปกป้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือ “Protecting an electronic device” ประกอบด้วยเซ็นเซอร์จับความเคลื่อนไหว หน่วยประมวลผล และมอเตอร์ขับเคลื่อนหลายตัวที่ทำงานร่วมกัน
หลักการทำงานของสิทธิบัตรเทคโนโลยีนี้ คือการนำหน่วยประมวลผลมาวิเคราะห์ข้อมูลจากเซ็นเซอร์จับความเคลื่อนไหวที่แอปเปิลนำมาติดไว้ในอุปกรณ์ของตัวเองมานานหลายปี ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นสะพานเชื่อมให้มอเตอร์สำหรับการพลิกตัวทำงานตามสถานการณ์ที่ได้รับ ซึ่งจะสามารถปกป้องกระจกหรืออุปกรณ์ภายในเครื่องไม่ให้เสียหายจากการกระแทก
แอปเปิลอธิบายรายละเอียดของสิทธิบัตรเทคโนโลยีนี้ไว้ว่า เซ็นเซอร์จับความเคลื่อนไหวจะสามารถรับรู้ได้เมื่อเครื่องกำลังจะร่วงหล่น โดยภายในเวลาไม่กี่มิลลิวินาที เซ็นเซอร์จะสามารถตรวจสอบองศาการเอียงเครื่องผ่านเซ็นเซอร์เมื่อประเมินว่าแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนจะตกกระทบพื้นที่จุดอ่อนแอแตกหักง่ายที่สุดอย่างหน้าจอ หรือจะตกลงที่จุดอ่อนแออันดับที่ 2 อย่างฝาหลังเครื่อง ซึ่งมอเตอร์สำหรับพลิกเครื่องจะทำงานตามข้อมูลที่หน่วยประมวลผลประเมินได้ เพื่อให้เครื่องไม่ตกกระทบในพื้นที่อ่อนแอเสียหายง่าย
แอปเปิลเชื่อว่าการเปลี่ยนองศาเครื่องขณะร่วงหล่นจะเป็นการลดโอกาสที่จะทำให้เครื่องได้รับความเสียหายง่าย ซึ่งถือเป็นความฝันของเจ้าของอุปกรณ์ไอทีส่วนใหญ่
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายหลักของสิทธิบัตรนี้คือข้อจำกัดของเซ็นเซอร์ ที่มีโอกาสน้อยมากในการตรวจวัดระยะทางว่าเครื่องอยู่สูงจากพื้นมากน้อยเพียงใด รวมถึงการคำนวณรูปแบบการร่วงหล่นที่เป็นไปได้หลากหลาย ทั้งหมดนี้ นักวิเคราะห์เชื่อว่าไม่มีทางเป็นไปได้ที่กล้องดิจิตอลจะถูกเปิดเพื่อบันทึกภาพและตีความปัจจัยในการร่วงหล่นได้ทัน จุดนี้ทำให้ระบบพลิกตัวเครื่องเมื่อหล่นสามารถทำได้เพียงสร้างสมดุลย์ ในรูปแบบเดียวกับที่พาหนะขับเคลื่อน 2 ล้ออย่างเซกเวย์ (Segway) ทำได้ ซึ่งเซกเวย์จะไม่มีทางคว่ำแม้ว่าผู้ใช้จะยืนไม่สมดุลย์
นี่ไม่ใช่ความพยายามครั้งแรกของบริษัทไอทีในการปกป้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาให้รอดพ้นจากความเสียหายเพราะการตกหล่น ก่อนหน้านี้ เจฟ เบโซส์ (Jeff Bezos) ซีอีโออเมซอนดอทคอมหันมาจดสิทธิบัตรนวัตกรรมใหม่"ถุงลมนิรภัยสำหรับโทรศัพท์มือถือ"ช่วงปี 2011 โดยดึงระบบแอคเซเลโรมิเตอร์ (accelerometer) และไจโรสโคป (gyroscope) ในเครื่องมาตรวจจับว่าเครื่องกำลังร่วงหล่นหรือไม่ หากใช่ระบบจะปล่อย"ถุงลมจิ๋ว"ที่สามารถลดแรงกระแทกระหว่างเครื่องและพื้นได้
รายงานระบุว่า สิทธิบัตรสุดแจ๋วเพื่อคนหวงโทรศัพท์ของซีอีโออเมซอนมีชื่อว่าการปกป้องเครื่องจากความเสียหายเพราะแรงกระแทก (PROTECTING DEVICES FROM IMPACT DAMAGE) ซึ่งถูกยื่นเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรอเมริกันตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2011 แต่เพิ่งถูกเปิดเผยต่อสาธารณชนเมื่อสิงหาคม 2011
ที่มา: manager.co.th