Author Topic: กสท ฟ้องเรียกค่าเสียหาย กสทช.กว่า 2 แสนล้านบาท  (Read 685 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


กสท เตรียมฟ้องเรียกค่าเสียหาย กสทช. กรณีออกประกาศเยียวยา 1800 MHz ในเดือนต.ค.นี้ หลังบอร์ดอนุมัติวงเงินค่าธรรมเนียม280 ล้านบาท ทำให้คาดว่าตัวเลขความเสียหายที่กสทจะฟ้องครั้งนี้อาจสูงถึง 2.75 แสนล้านบาท โดยคำนวณจากรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายต่อเดือน คูณด้วยจำนวน 17 ล้านเลขหมายและคูณด้วยจำนวนปีที่ 3G My ของกสทที่ได้ใบอนุญาตถึงปี 2568
       
       นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกสท เมื่อวันที่ 9 ต.ค.มีมติอนุมัติค่าธรรมเนียมศาลมูลค่า 280 ล้านบาทเพื่อใช้ในการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับทางคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) หลังจากที่กสทช.ออกประกาศ กสทช.เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการกรณีสิ้นสุดสัมปทาน หรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ2556 (ประกาศเยียวยาคลื่น1800MHz) รวมทั้งขอให้เพิกถอนร่างประกาศฯกสทช.ดังกล่าวต่อศาลปกครอง เพราะประกาศฉบับนี้ส่งผลกระทบโดยตรงทำให้กสท เสียผลประโยชน์จากการที่ลูกค้าภายใต้สัญญาสัมปทานราว 17 ล้านรายแทนที่จะย้ายมาอยู่กับกสท แต่กลับย้ายไปอยู่กับผู้ประกอบการเอกชนรายอื่นแทน
       
       'เรื่องมูลค่าความเสียหายนั้นทางบอร์ดให้ฝ่ายจัดการไปพิจารณาอีกรอบหนึ่ง เพื่อพิจารณาด้วยความรอบคอบใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เนื่องจากจะส่งผลต่อค่าธรรมเนียมที่กสท ต้องจ่ายให้กับศาลด้วย โดยเบื้องต้นบอร์ดอนุมัติกรอบงบค่าธรรมเนียมสูงสุด ไว้ที่ 280 ล้านบาทสำหรับการฟ้องร้องในครั้งนี้แล้ว โดยคาดว่าภายในเดือนต.ค.นี้ กสท จะดำเนินการฟ้องร้องกสทช.ได้'
       
       สาเหตุหลักที่กสท ต้องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับกสทช.ในครั้งนี้เนื่องจากประกาศ เยียวยา 1800 MHz ขัดต่อกฏหมาย 3ประเด็น ประกอบด้วย1.ประกาศดังกล่าวกำหนดให้เจ้าของสัมปทานคือ กสท และผู้รับสัมปทานคือ ทรูมูฟ และดีพีซีเป็นผู้ให้บริการต่อไปในช่วงประกาศเยียวยา ทั้งๆที่ผู้รับสัมปทานมีข้อจำกัดของกฏหมายในการให้บริการตามมาตรา 80 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยสรุปสิทธิการบริหารจัดการของผู้รับสัมปทานต้องหมดลงตั้งแต่ในวันที่ 15 ก.ย. 2556 ที่ผ่านมาแล้ว2.ประเด็นการใช้คลื่นความถี่ที่จะไม่ขัดต่อมาตรา46 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) โดยระบุว่าผู้รับสัมปทานสามารถบริหารคลื่นความถี่ได้เฉพาะในช่วงที่อยู่ในสัมปทานเท่านั้น ดังนั้นการใช้คลื่นความถี่ภายหลังหมดสัญญาสัมปทานผู้รับสัมปทานคือทรูมูฟ และดีพีซีจึงไม่มีสิทธิในการนำคลื่นดังกล่าวมาบริหารจัดการแต่อย่างใด แต่กสท มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว เพราะเป็นผู้รับใบอนุญาต
       
       3.กรณีประกาศดังกล่าวมีการเร่งรัดให้เกิดการโอนย้ายออกจากระบบนั้น ถือเป็นการทำให้กสท เป็นผู้เสียหายโดยตรง เนื่องจากลูกค้าทั้งหมดภายใต้สัญญาสัมปทานราว 17 ล้านเลขหมายจะต้องย้ายมาอยู่ในระบบ 3G My ของกสทแทน และยังไม่เป็นไปตามประกาศ MNP (Mobile Number Portability หรือ บริการคงสิทธิเลขหมาย) ที่ระบุให้มีการโอนย้ายแบบยินยอมสมัครใจเท่านั้น จึงส่งผลทำให้ลูกค้าของกสท ที่ควรจะมีราว 17 ล้านรายดังกล่าวย้ายออกจากระบบทรูมูฟและดีพีซีทั้งหมด เนื่องจากกสท มองว่าลูกค้าของทรูมูฟ และดีพีซีทั้งหมดควรที่จะย้ายเข้ามาอยู่ในระบบ 3G My ภายหลังหมดสัญญาสัมปทาน
       
       ข้อมูลจากกสทระบุว่าค่าเสียหายที่จะฟ้องร้องจากกสทช.นั้น กสท คิดจากรายได้จากค่าบริการเฉลี่ยต่อเลขหมายต่อเดือน (ARPU) คูณด้วยจำนวนผู้ใช้บริการ 17 ล้านเลขหมาย และ คูณด้วยจำนวนปีที่กสทสามารถให้บริการ 3G My จนสิ้นสุดใบอนุญาตในปี 2568หรือประมาณ 12 ปี ซึ่งอาจจะทำให้มูลค่าความเสียหายสูงถึง 2.75 แสนล้านบาท
       
       นาย กิตติศักดิ์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังมีมติให้ปรับโครงสร้างภายในกสท เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการปรับต่อจากที่วางแผนเมื่อปี 2555 โดยจะมี 3 ประเด็นหลัก 1. การบริหารจัดการโครงข่าย และบรอดแบนด์ นำมาไว้ในที่เดียวกันเพื่อทำให้การบริหารจัดการไม่มีรอยต่อ และช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้การใช้งบประมาทการจัดซื้อน้อยลง 2.ย้ายกลุ่มภูมิภาคทั้งหมดมาอยู่กับโครงข่าย โดยต้องการให้เน็ตเวิร์ก และบรอดแบนด์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และทำให้เกิดการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จ และ3.การย้ายกลุ่มผลิตภัณฑ์องค์กรให้ไปอยู่กับสายงานตลาด และการขาย เพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
       
       นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติเรื่องการจ่ายเงินปันผลงวดครึ่งปี 2556 (ม.ค.-มิ.ย.) โดย กสท มีรายได้ 25,000 ล้านบาท กำไร 8,240 ล้านบาทซึ่งรวมรายได้จากสัมปทานด้วย ทำให้มีเงินปันผลราว 2,412 ล้านบาท โดยจะนำเงินดังกล่าวส่งให้กระทรวงการคลังภายในเดือนต.ค.2556 ต่อไป ส่วนรายได้กสท ช่วง8 เดือน( ม.ค.-ส.ค.) มีราย 34,000 ล้านบาท กำไร 10,900 ล้านบาท
       
       โดยคาดว่าในปีนี้ถือเป็นปีแรกในรอบ 5 ปีที่กสท จะไม่ติดลบเรื่องของรายได้ภายหลังจากตลอด 4 ปีที่ผ่านมา กสท ขาดทุนมาโดยตลอด ส่วนในอีก 3-4ปีข้างหน้า กสท จะมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด ซึ่งในปี 2557 กสท ตั้งเป้ารายได้ 46,000 ล้านบาท กำไรประมาณ 1,200 ล้านบาท และในปี 2558 จะโตถึง 25% หรือมีกำไรราว 2,700 ล้านบาท
       
       ขณะที่ในส่วนของรายได้จากธุรกิจไวร์เลสโดยเฉพาะรายได้จากการทำธุรกิจกับบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) ในปีนี้จะมีรายได้รวมทั้งโครงการ 24,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีกำไร 4,000 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2557 จะมีกำไรราว 6,000-7,000 ล้านบาท
       
       Company Relate Link :
       CAT

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)