The Rocket ตัวแทนชิงออสการ์จากออสเตรเลีย ที่คนไทยคงจะเอาใจช่วยเป็นพิเศษเพราะมี "ป๋าเทพ" ร่วมแสดง สถาบันศิลปะและวิทยาการภาพยนตร์สรุปรายชื่อหนัง 76 เรื่องจาก 76 ประเทศ (และเขตปกครองพิเศษ) ที่จะชิงรางวัลออสการ์ในปี 2014 ออกมาแล้ว โดยประกอบไปด้วยผลงานของผู้กำกับคนดัง และนักแสดงชื่อดังจากทั่วโลกมากมาย นับเป็นสถิติใหม่ของสถาบันศิลปะและวิทยาการภาพยนตร์ ที่มีประเทศต่าง ๆ ส่งหนังเข้ามาประกวดกันถึง 76 เรื่อง โดยมีผลงานของผู้กำกับดัง ๆ ร่วมชิงรางวัลมากมาย อาทิ The Past ของ อัสการ์ ฟาร์ฮาดี ที่เคยคว้าออกสาร์สาขานี้มาแล้ว, The Hunt ของเดนมาร์กโดยผู้กำกับ โทมัส วินเตอร์เบิร์ก ส่วนฮ่องกงเลือก The Grandmaster ผลงานเรื่องล่าสุดของ หว่องกาไว ที่มี เหลียงเฉาเหว่ย รับบทเป็น ยิปมัน ยอดมวยหย่งชุน
โดยหนึ่งในหนังที่ได้รับความสนใจอีกเรื่องก็คือ The Good Road ตัวแทนของอินเดีย เป็นหนังที่เล่าเรื่องของการเดินทางของคน 3 คนบนถนนหลวงอันกันดาร โดย The Good Road ถือว่าเป็นหนังภาษาคุชราตเรื่องแรกจากอินเดียที่ได้เป็นตัวแทนในการชิงรางวัลออสการ์ และยังเป็นการเอาชนะคู่แข่งสุดหินในประเทศอย่างหนังขวัญใจมหาชน The Lunchbox ในโค้งสุดท้ายจนได้กลายเป็นตัวแทนของประเทศในท้ายที่สุดด้วย
สำหรับตัวแทนของประเทศไทย สมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์ ที่มีหน้าที่เป็นผู้คัดเลือกหนัง ได้ตัดสินใจมอบสิทธิ์ดังกล่าวให้ Countdown ผลงานแนวระทึกขวัญของ นัฐวุฒิ พูนพิริยะ ที่มี พชร จิราธิวัฒน์, ภัทรศยา เครือสุวรรณศิริ, จรินทร์พร จุนเกียรติ และ เดวิด อัศวนนท์ เป็นผู้แสดงนำ ให้เป็นตัวแทนของประเทศในการชิงออสการ์ครั้งต่อไป
โดยนับว่า Countdown เป็นหนังจาก GTH เรื่องที่ 3 แล้วที่ได้เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการชิงรางวัลออสการ์ หลังก่อนหน้านี้ สมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์ เคยเลือกให้ มหา’ลัย เหมืองแร่ และ ความจำสั้น แต่รักฉันยาว เป็นตัวแทนของประเทศมาแล้ว
นอกจากนั้นในปีนี้ยังมีผลงานที่มีนักแสดงไทยร่วมแสดงนำ ได้ลุ้นรางวัลออสการ์สาขาหนังต่างประเทศยอดเยี่ยมอีกเรื่อง นั่นก็คือ The Rocket ตัวแทนของออสเตรเลียนั่นเอง
หนังที่พูดภาษาลาวตลอดทั้งเรื่อง เล่าถึงเรื่องราวของเด็กชายชาวลาวที่พยายามสร้างบั้งไฟขนาดยักษ์ เพื่อเข้าแข่งขันในงานประเพณีบุญบั้งไฟของท้องถิ่น เพื่อพิสูจน์ว่าเขาไม่ได้เป็นตัวซวยอย่างที่ถูกตราหน้ามาตลอด
โดยหนังมีดาราเด็กชาวไทย สิทธิพล ดีเสมอ แสดงนำ ร่วมด้วยดาวตลกชื่อดัง เทพ โพธิ์งาม ในบทหนุ่มใหญ่ที่ปรากฏตัวพร้อมชุดสีม่วงแบบเดียวกับ “เจมส์ บราวน์” ผู้มีเบื้องหลังเป็นอดีตทหารของซีไอเอในช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งก่อนหน้านี้ The Rocket เคยคว้ารางวัลที่เทศกาลหนังระดับโลกทั้งที่เบอร์ลิน และ Tribeca มาแล้ว
โดยคณะกรรมการของสถาบันศิลปะและวิทยาการภาพยนตร์ฯ จะคัดเลือกหนังเป็นรอบ ๆ ก่อนจะเหลือเพียง 5 เรื่องสุดท้าย และจะประกาศผู้ได้รับรางวัลในงานมอบรางวัลออสการ์ครั้งที่ 86 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 2 มี.ค. 2014 ต่อไป
รายชื่อหนังชิงรางวัลออสการ์สาขาภาษาต่างประเทศประจำปี 2014
Afghanistan, “Wajma – An Afghan Love Story,” Barmak Akram
Albania, “Agon,” Robert Budina
Argentina, “The German Doctor,” Lucía Puenzo
Australia, “The Rocket,” Kim Mordaunt
Austria, “The Wall,” Julian Pölsler
Azerbaijan, “Steppe Man,” Shamil Aliyev
Bangladesh, “Television,” Mostofa Sarwar Farooki
Belgium, “The Broken Circle Breakdown,” Felix van Groeningen
Bosnia and Herzegovina, “An Episode in the Life of an Iron Picker,” Danis Tanovic
Brazil, “Neighboring Sounds,” Kleber Mendonça Filho
Bulgaria, “The Color of the Chameleon,” Emil Hristov
Cambodia, “The Missing Picture,” Rithy Panh
Canada, “Gabrielle,” Louise Archambault
Chad, “GriGris,” Mahamat-Saleh Haroun
Chile, “Gloria,” Sebastián Lelio
China, “Back to 1942,” Feng Xiaogang
Colombia, “La Playa DC,” Juan Andrés Arango
Croatia, “Halima’s Path,” Arsen Anton Ostojic
Czech Republic, “The Don Juans,” Jiri Menzel
Denmark, “The Hunt,” Thomas Vinterberg
Dominican Republic, “Quien Manda?” Ronni Castillo
Ecuador, “The Porcelain Horse,” Javier Andrade
Egypt, “Winter of Discontent,” Ibrahim El Batout
Estonia, “Free Range,” Veiko Ounpuu
Finland, “Disciple,” Ulrika Bengts
France, “Renoir,” Gilles Bourdos
Georgia, “In Bloom,” Nana Ekvtimishvili and Simon Grosss
Germany, “Two Lives,” Georg Maas
Greece, “Boy Eating the Bird’s Food,” Ektoras Lygizos
Hong Kong, “The Grandmaster,” Wong Kar-wai
Hungary, “The Notebook,” Janos Szasz
Iceland, “Of Horses and Men,” Benedikt Erlingsson
India, “The Good Road,” Gyan Correa
Indonesia, “Sang Kiai,” Rako Prijanto
Iran, “The Past,” Asghar Farhadi
Israel, “Bethlehem,” Yuval Adler
Italy, “The Great Beauty,” Paolo Sorrentino
Japan, “The Great Passage,” Ishii Yuya
Kazakhstan, “Shal,” Yermek Tursunov
Latvia, “Mother, I Love You,” Janis Nords
Lebanon, “Blind Intersections,” Lara Saba
Lithuania, “Conversations on Serious Topics,” Giedre Beinoriute
Luxembourg, “Blind Spot,” Christophe Wagner
Mexico, “Heli,” Amat Escalante
Moldova, “All God’s Children,” Adrian Popovici
Montenegro, “Ace of Spades – Bad Destiny,” Drasko Djurovic
Morocco, “Horses of God,” Nabil Ayouch
Nepal, “Soongava: Dance of the Orchids,” Subarna Thapa
Netherlands, “Borgman,” Alex van Warmerdam
New Zealand, “White Lies,” Dana Rotberg
Norway, “I Am Yours,” Iram Haq
Pakistan, “Zinda Bhaag,” Meenu Gaur and Farjad Nabis
Palestine, “Omar,” Hany Abu-Assad
Peru, “The Cleaner,” Adrian Saba
Philippines, “Transit,” Hannah Espia
Poland, “Walesa. Man of Hope,” Andrzej Wajda
Portugal, “Lines of Wellington,” Valeria Sarmiento
Romania, “Child’s Pose,” Calin Peter Netzer
Russia, “Stalingrad,” Fedor Bondarchuk
Saudi Arabia, “Wadjda,” Haifaa Al Mansour
Serbia, “Circles,” Srdan Golubovic
Singapore, “Ilo Ilo,” Anthony Chen
Slovak Republic, “My Dog Killer,” Mira Fornay
Slovenia, “Class Enemy,” Rok Bicek
South Africa, “Four Corners,” Ian Gabriel
South Korea, “Juvenile Offender,” Kang Yi-kwan
Spain, “15 Years Plus a Day,” Gracia Querejeta
Sweden, “Eat Sleep Die,” Gabriela Pichler
Switzerland, “More than Honey,” Markus Imhoof
Taiwan, “Soul,” Chung Mong-Hong
Thailand, “Countdown,” Nattawut Poonpiriya
Turkey, “The Butterfly’s Dream,” Yilmaz Erdogan
Ukraine, “Paradjanov,” Serge Avedikian and Olena Fetisovas
United Kingdom, “Metro Manila,” Sean Ellis
Uruguay, “Anina,” Alfredo Soderguit
Venezuela, “Breach in the Silence,” Luis Alejandro Rodríguez and Andrés Eduardo Rodríguezs
ที่มา: manager.co.th