Author Topic: กทค. ย้ำไม่มีซิมดับ แต่เจอปมโอนย้าย  (Read 634 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


กทค. ยอมรับซิมไม่ดับแต่เจอปัญหาการโอนย้าย พร้อมสั่งสำนักงานกสทช.ร่อนจดหมายฉบับที่ 5 ทวงคลื่นคืนจากกสท เร่งตั้งคณะทำงานคิดค่าต้นทุนผู้ประกอบการช่วงเยียวยาภายใน 3 สัปดาห์ ทรูยืนยันลูกค้าใช้งานตามปกติ
       
       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นวันแรกที่สิ้นสุดสัญญาสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 1800 MHz ซึ่งมีบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ผู้ให้สัมปทานสัมปทานกับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือดีพีซี ซึ่งมีผู้ใช้บริการรวมกันราว 18 ล้านเลขหมาย โดยผลสุดท้ายไม่ได้เกิดปัญหาซิมดับในช่วงเปลี่ยนผ่านแต่อย่างใด ซึ่งต่อจากนี้ทั้งหมดจะต้องมาอยู่ภายใต้ประกาศ กสทช.เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานหรือ สัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556
       
       แต่สิ่งที่ประสบปัญหากลับเป็นเรื่องการให้บริการคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ตบิลิตี) หรือ MNP ของผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายในตลาด เนื่องจากขีดความสามารถในการรองรับการใช้งาน (คาปาซิตี้) ของบริษัท ศูนย์ให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์ จำกัด หรือ เคลียร์ริ่งเฮาส์ ไม่เพียงพอต่อการโอนย้ายเลขหมายในปัจจุบัน ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่การโอนย้ายเลขหมายในระบบ 1800 MHz แต่เป็นปัญหากันในทุกโครงข่ายที่มีอยู่ในระบบ โดยในเบื้องต้นบอร์ดกทค.มีแนวทางที่จะพิจารณาปรับแก้ไขเงื่อนไข การโอนย้ายเลขหมายครั้งมากๆหรือการโอนย้ายยกล็อต
       
       ขณะที่ในปัจจุบันการโอนย้ายเลขหมายสามารถโอนย้ายได้ราว 300,000 เลขหมายต่อวัน ซึ่งเป็นการขยายขีดความสามารถของทั้งระบบ แต่ในความเป็นจริงผู้ให้บริการสามารถโอนย้ายได้เพียงแค่รายละ 60,000 เลขหมายต่อวันเท่านั้น ซึ่งจะทำให้สามารถโอนย้ายลูกค้าทั้งหมดในระยะเวลาโดยประมาณ 250 วัน ซึ่งก่อนหน้า กสทช.ไม่สามารถแก้ไขเงื่อนไข การโอนย้ายเลขหมายได้ เนื่องจากยังติดปัญหาการอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทาน
       
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขากสทช. กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย ได้แก่ กสท, ทรูมูฟ และดีพีซี ได้ส่งแผนการให้บริการภายใต้ ประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานหรือ สัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
       
       หลังจากนี้ สำนักงาน กสทช.จะนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอต่อที่ประชุม กทค. ต่อไปซึ่งบอร์ดกทค.ยังได้มีคำสั่งให้ทรูมูฟ และดีพีซี จะต้องส่งรายงานการโอนย้ายเลขหมายคงเหลือในระบบของผู้ใช้บริการว่าล่าสุดเหลือลูกค้าในระบบจำนวนเท่าไหร่ ในทุกวันที่ 7 ของเดือน
       
       รวมถึงยังมีคำสั่งให้ผู้ประกอบการห้ามทำการตลาดเพื่อเพิ่มลูกค้าในระบบ อีกทั้งสำนักงาน กสทช.จะดำเนินการส่งหนังสือเรียกคืนคลื่นความถี่ไปยัง กสท ภายในสัปดาห์นี้อีกหนึ่งครั้งด้วยซึ่งถือเป็นหนังสือฉบับที่ 5 แล้วที่ส่งไปทวงเรื่องการคืนคลื่น 1800 MHz
       
       นอกจากนี้กทค. ยังมีคำสั่งให้สำนักงาน กสทช.เร่งจัดตั้งคณะทำงานกำหนดต้นทุน ค่าโครงข่าย และการบริการจัดการ สำหรับเงินรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงเยียวยา 1 ปี โดยขณะนี้ สำนักงานได้ส่งหนังสือเรียนเชิญ คณะทำงานประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ราย จาก ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและบัญชี 1 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ 1 คน โดยผู้แทนจากสำนักงาน กสทช.จะเป็นเลขานุการคณะทำงานคณะดังกล่าว โดยอาศัยข้อกฎหมายในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ในมาตรา 10, 2. พ.ร.บ.เงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และ 3. พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ.พ.ศ. 2502
       
       “เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถจัดตั้งคณะทำงานเพื่อสรุปค่าต้นทุนในช่วงประกาศเยียวยา 1800 MHz ของผู้ประกอบการทั้ง 2 รายคือทรูมูฟ และดีพีซีได้ภายใน 3 สัปดาห์ต่อจากนี้ โดยจะคิดคำนวนจากค่าเช่าโครงข่าย ค่าบริการต้นทุน และค่าธรรมเนียมเลขหมายก่อนนำเข้ากระทรวงการคลั่ง”
       
       ขณะเดียวกันในวันพรุ่งนี้ (17 ก.ย.) บอร์ดกทค.มีการประชุมบอร์ดโดยมีวาระการประชุมที่สำคัญในประเด็นที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) เข้าหารือในกรณีที่กสทช.เตรียมเดินหน้าจัดการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ภายในปลายปี2557 รวมไปถึงความเป็นไปได้ที่จะนำคลื่นความถี่ 900 MHz มาเปิดประมูลพร้อมกันด้วย
       
       ทางด้าน นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจโมบายล์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวภายหลังเข้าพบเลขากสทช.ว่า ทรูมูฟ ยืนยันว่าการให้บริการจะเป็นไปตามปกติอย่างต่อเนื่อง ตามประกาศกสทช. โดยผู้ใช้บริการรายใดที่เข้าสู่กระบวนการโอนย้ายด้วยความสมัครใจแล้วจะยังคงใช้บริการได้ต่อเนื่องไปจนกว่าจะได้รับข้อความ (SMS) ว่าให้ปิดเครื่องแล้วเปิดเครื่องใหม่ เพื่อเข้าสู่โครงข่ายใหม่
       
       ส่วนประเด็นที่เป็นปัญหาคือเรื่องการโอนย้ายของผู้ใช้บริการเนื่องจากตอนนี้มีเลขหมายรอคิวในการโอนย้ายมากกว่า 1-2 ล้านเลขหมาย เนื่องจากเป็นช่วงที่จะมีการโอนย้ายเลขหมายจาก 2G ไป 3G และการโอนย้ายจากผู้ใช้บริการบนคลื่น 1800 MHz ของ ทรูมูฟ และดีพีซี ที่สัญญาสิ้นสุด ไปยังผู้ให้บริการรายใหม่ ซึ่งการโอนย้ายเหล่านั้นต้องเป็นไปตามความสมัครใจของผู้ใช้บริการด้วย
       
       “ทรูมูฟกำลังประสบปัญหาเรื่องการโอนย้าย เนื่องจากมีเลขหมายรอคิวการโอนย้ายหลายล้านเลขหมาย จากเดิมใช้เวลาในการโอนย้าย 3-7 วัน แต่ปัจจุบันลูกค้าบางรายต้องใช้เวลาในการรอนานกว่าปกติ ฉะนั้นบริษัทจึงจะหารือกับกสทช.เพื่อหาช่องทางแก้ไขปัญหาการโอนย้ายเลขหมายต่อไป”
       
       Company Relate Link :
       กสทช.

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)