Author Topic: “กสทช.-ประวิทย์” ค้านร่างเยียวยา 1800 MHz ไม่ชอบด้วย กม.และขัดรัฐธรรมนูญ  (Read 710 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


หมูเขาจะหาม คานกี่อันก็มาสอดไม่ไหว จับตาวาระประชุม กสทช.วันที่ 19 มิ.ย.นี้ คาด “ร่างประกาศ กสทช.เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาณการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ....” หรือร่างเยียวยา 1800 MHz บอร์ด กสทช.จะลงมติผ่านรับร่างฯ เพื่อนำไปประชาพิจารณ์และนำไปปฏิบัติท่ามกลางข้อสงสัยเพียบว่าเอื้อประโยชน์เอกชนอีกแล้ว
       
       ในการประชุมคณะกรรมการ กสทช. ที่มี พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี เป็นประธาน ครั้งที่ 6/2556 วันที่ 19 มิ.ย.นี้ มีวาระน่าจับตามากคือวาระ 5.7 เรื่อง “ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ....” ตามที่คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ซึ่งบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (กสท) ให้สัมปทานกับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด กำลังจะสิ้นสุดอายุสัมปทานลงในวันที่ 15 กันยายน 2556
       
       กทค.มีมติเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการฯ ทั้งนี้ได้เสนอวาระต่อ กสทช.พิจารณาเห็นชอบก่อนนำร่างฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อไป
       
       โดยเนื้อหาหลักของร่างฯ ฉบับนี้เป็นการให้อำนาจ กสทช.กำหนดให้มีผู้ให้บริการทำหน้าที่ให้บริการต่อไปโดยใช้คลื่นความถี่ที่หมดอายุตามสัญญาสัมปทาน โดยไม่ต้องประมูลคลื่นความถี่ตาม ม.45 ของ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ซึ่ง นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ได้มีความเห็นแย้งต่อมติ กทค.ดังกล่าว เพราะเห็นว่า กสทช.สามารถกำหนดมาตรการรองรับด้วยวิธีการอื่นที่ยังสามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้โดยไม่ต้องออกร่างประกาศฉบับนี้ และ กสทช.เองไม่มีอำนาจออกร่างประกาศฯ ที่มีเนื้อหาในลักษณะดังกล่าวเพราะไม่มีฐานทางกฎหมายรองรับ
       
       รวมทั้งยังเป็นการอนุญาตให้ผู้ให้บริการสามารถใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคมได้โดยไม่ต้องประมูลคลื่นความถี่ ซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553
       
       ประกอบกับการที่ กสทช.จะพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่และการประกอบกิจการ รวมถึงการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมตามมาตราดังกล่าวได้จะต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายให้อำนาจ ซึ่ง ม.45 ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า การจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อใช้ในกิจการโทรคมนาคมจะต้องดำเนินการโดยวิธีการประมูลเท่านั้น
       
       ประกอบกับแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ไม่ได้กำหนดให้ กสทช.สามารถพิจารณาขยายระยะเวลาการใช้งานคลื่นความถี่ได้ ดังนั้น เมื่อระยะเวลาการใช้งานคลื่นความถี่ของ บริษัท กสท โทรคมนาคม สิ้นสุดลง กสทช.จึงไม่อาจพิจารณามอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบให้บริการเป็นการชั่วคราวโดยไม่ได้ดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ตาม ม.45 แม้จะอ้างว่าเป็นการกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก็ตาม
       
       ทั้งนี้ หากที่ประชุม กสทช.มีมติเห็นชอบตามร่างประกาศฉบับดังกล่าว จะทำให้มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการตามร่างประกาศจะใช้กับการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในทุกย่านความถี่ที่กำลังจะสิ้นสุดลง โดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) จะสิ้นสุดในปี 2558 และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะสิ้นสุดในปี 2561 ตามลำดับ
       
       ***เอื้อประโยชน์ใคร!?!
       
       ก่อนหน้านี้ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ซึ่งเป็นเสียงเดียวที่คอยคัดค้าน 4 กทค.ในฝันเอกชน ให้ความเห็นน่าฟังเป็นอย่างยิ่งว่า กรณีการหมดสัญญาสัมปทานย่านความถี่ 1800 MHz นอกจากประเด็นว่าใครจะได้สิทธิในการบริหารคลื่นความถี่และดูแลลูกค้าภายหลังหมดสัญญาแล้ว ยังมีอีกประเด็นที่สำคัญและน่าจับตามองคือ การจ่ายส่วนแบ่งรายได้ภายหลังหมดสัมปทาน ถึงแม้จะไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของ กสทช.โดยตรงที่จะเข้าไปดูแลเนื่องจากเรื่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องของผู้ประกอบการที่จะต้องไปตกลงกันเอง
       
       แต่เพราะรัฐเป็นคนกำหนดอัตราของสัญญาสัมปทานเป็นต้นแบบเอาไว้ว่าผู้ได้รับสัญญาสัมปทานจะต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐ 30% ดังนั้น ในประเด็นดังกล่าวอำนาจหน้าที่ควรจะเป็นของรัฐบาลหรือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) โดยเฉพาะ กสท ที่จะต้องกลับไปดูข้อกฎหมายว่าในเรื่องนี้เข้าข่ายข้อกฎหมายอะไรบ้าง อาทิ เข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ หรือไม่ และหากเกิดการเจรจาข้อตกลงในเรื่องส่วนแบ่งรายได้ขึ้นมาแล้วจะต้องมีหน่วยงานใดเข้ามาตรวจสอบหรือไม่
       
       ดังนั้นจะมาสรุปว่าจะใช้อัตราส่วนแบ่งรายได้เดิมที่เคยใช้มาหรืออัตราใหม่นั้นยังเร็วเกินไปตอนนี้ เพราะยังมีกระบวนการในการดำเนินการอยู่อีกหลายขั้นตอน
       
       ขณะที่การประชุมบอร์ด กทค.และการหารือกับผู้ประกอบการเมื่อวันที่ 4 มิ.ย.ที่ผ่านมาเป็นเพียงการออกร่างประกาศฯ กสทช.เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. .... เท่านั้น เนื่องจากยังไม่ได้มีการลงมติว่าจะให้คู่สัญญาคนไหนได้เป็นคนดูแลลูกค้าต่อไป
       
       ขณะเดียวกัน กระทรวงไอซีที กับ กสท ก็ระบุชัดเจนในที่ประชุมว่าพร้อมที่จะบริหารคลื่นความถี่ต่อไป ซึ่งหากมติบอร์ด กทค.ออกมาให้ กสท ดูแลลูกค้าต่อไปจริง กสท ก็จะเดินหน้าจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาช่วยซึ่งอาจจะจ้างดีพีซี หรือทรูมูฟก็เป็นได้ทั้งสองทาง แต่ กสท ก็ต้องไปทำข้อตกลงเรื่องราคาการว่าจ้างกับเอกชนก่อน ซึ่งเบื้องต้นทางดีพีซีไม่ขัดข้องหาก กสท จะเป็นผู้ให้บริการแล้วมาจ้างบริษัท แต่ในขณะที่ทรูมูฟยังคงต้องการความชัดเจนจากมติบอร์ด กทค.ก่อนว่าจะให้ใครเป็นคนบริหาร เนื่องจากทรูมูฟก็ต้องการบริหารคลื่นความถี่ดังกล่าวเช่นเดียวกันเพราะต้องการลูกค้าในนามของทรูมูฟ ไม่ใช่เพียงแค่ กสท มาจ้างทรูมูฟให้บริการเท่านั้น
       
       “ทรูมูฟต้องการเป็นผู้ให้บริการใช้ความถี่แล้วไปเช่า กสท ส่วนดีพีซีต้องการให้ กสท เป็นผู้ให้บริการหรือเป็นคนบริหารความถี่ต่อแล้วค่อยมาจ้างดีพีซีให้ดูแลลูกค้า ซึ่งทั้งหมดมีเรื่องของรายได้เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยถือว่าเป็นเรื่องของผลประโยชน์ระหว่างผู้ประกอบการ”
       
       นพ.ประวิทย์กล่าวว่า ท้ายที่สุดไม่ว่าใครจะเป็นคนเยียวยาลูกค้าต่อไปอีก 1 ปีแต่ความจริงแล้วต้นทุนในการขยายโครงข่ายไม่ต้องใช้แน่นอน เช่นเดียวกับเน็ตเวิร์กใหม่ก็ไม่ต้องลงทุนสร้าง ทำให้เรียกได้ว่าต้นทุนในการเยียวยา 1 ปีนั้นต่ำมาก ไม่เหมือนต้นทุนการเปิดบริการใหม่ที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก
       
       “ดังนั้น หากเอกชนได้เป็นผู้ให้บริการหรือดูแลลูกค้าต่อไปอีก 1 ปี ถ้าไม่มีการเพิ่มส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐมากขึ้นจากเดิมที่เคยส่งให้ 30% ก็ควรที่จะลดอัตราค่าบริการลง แต่หากใช้รายละเอียดหรือเงื่อนไขเดิม (สแตนด์สติล) ก็ไม่เห็นด้วย เพราะในเมื่อไม่ต้องลงทุนเพิ่มแล้วยังจะเอาส่วนแบ่งรายได้เท่าเดิมได้อย่างไร มันก็เหมือนกับการกินเปล่ามีแต่ได้กับได้อย่างเดียว”
       
       Company Relate Link :
       กสทช.

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
711 Views
Last post December 28, 2012, 03:51:20 PM
by Nick
0 Replies
683 Views
Last post February 07, 2013, 12:08:07 AM
by Nick
0 Replies
701 Views
Last post February 11, 2013, 05:48:40 PM
by Nick
0 Replies
683 Views
Last post February 12, 2013, 09:52:49 PM
by Nick
0 Replies
746 Views
Last post March 18, 2013, 06:05:53 PM
by Nick
0 Replies
649 Views
Last post May 03, 2013, 07:16:43 PM
by Nick
0 Replies
740 Views
Last post August 27, 2013, 06:49:36 PM
by Nick
0 Replies
726 Views
Last post September 08, 2013, 11:58:32 AM
by Nick
0 Replies
575 Views
Last post September 23, 2013, 06:53:13 PM
by Nick
0 Replies
55 Views
Last post April 20, 2023, 05:38:21 PM
by guupost