Author Topic: กสทช.นัด 3 ค่ายมือถือถกความเร็ว/ค่าบริการ 3G 27 พ.ค.นี้  (Read 654 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


 กสทช. ผ่านร่างประกาศฯสูตรคิดค่าไอซี ก่อนนำไปประชาพิจารณ์คาด 2 เดือนจะแล้วเสร็จ 'ฐากร' เรียก 3 ค่ายมือถือ 3G 2.1 GHz ถกกรณีความเร็วต่ำกว่ามาตรฐานและความคืบหน้าการลดราคาค่าบริการ 15% 27 พ.ค.นี้ พร้อมเห็นชอบหลักเกณฑ์ประมูลทีวีดิจิตอลก่อนนำไปทำประชาพิจารณ์และประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดต.ค.นี้เปิดประมูลได้
       
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุมกสทช.เมื่อวันที่ 22 พ.ค.นี้มีมติเห็นชอบร่างประกาศ กสทช.เรื่องมาตรฐานการคำนวนอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม(ไอซี) ซึ่งขั้นตอนต่อไปจะนำร่างประกาศฯ ดังกล่าวไปเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(ประชาพิจารณ์) ก่อนนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้ซึ่งจะใช้เวลาในการดำเนินการทั้งหมดประมาณ 2 เดือน เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มาตรา 27(8) ซึ่งกำหนดให้ กสทช. มีอำนาจหน้าที่กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดอัตราค่าใช้หรือค่าเชื่อมต่อโครงข่ายในการประกอบกิจการโทรคมนาคม
       
       'คาดว่าร่างประกาศฯ สูตรคิดค่าไอซี จะเปิดประชาพิจารณ์ภายในสัปดาห์หน้า ก่อนนำกลับมาเสนอบอร์ดอีกครั้ง และนำไปประกาศเพื่อบังคับใช้ต่อไปโดยรวมคาดว่าจะใช้เวลาภายใน 2 เดือนนับจากนี้'
       
       ร่างประกาศฯดังกล่าว เป็นการนำเอาประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานการคำนวณอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2552 มาพัฒนาซึ่งได้มีการปรับปรุงรายละเอียดทางเทคนิคให้ทันสมัย เพื่อให้รองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป และยังได้ปรับปรุงรายละเอียดวิธีการคำนวณตามข้อมูลที่ได้รับจากการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะที่ผ่านมาเพื่อให้สามารถใช้ตรวจสอบอัตราตอบแทนที่ผู้รับใบอนุญาตเสนอมาในข้อเสนอการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       
       นอกจากนี้ร่างประกาศฯ ดังกล่าวยังสามารถนำไปใช้ในกรณีอื่นๆ ได้อีก เช่น ใช้คำนวณอัตราค่าตอบแทนชั่วคราว เพื่อใช้กำกับดูแลในกรณีที่การคำนวณอัตราค่าตอบแทนยังไม่แล้วเสร็จ หรือใช้คำนวณอัตราค่าตอบแทนอ้างอิงเพื่อนำไปใช้กรณีที่เกิดข้อพิพาทขึ้นระหว่างผู้รับใบอนุญาตหรือใช้คำนวณอัตราค่าตอบแทนกลางซึ่งเป็นอัตราเดียวกันหมดทั้งอุตสาหกรรม หรือนำไปใช้ในกรณีอื่นตามที่ กสทช. เห็นสมควร
       
       ด้านน.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า หลังจากประกาศเรื่องมาตรฐานการคำนวณอัตราค่าไอซีแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการคิดสูตรการคำนวณซึ่งคิดจากต้นทุน ค่าเสื่อมราคา การใช้งานต่อเลขหมายต่อเดือน การคิดค่าใช้งานโครงข่าย โดยที่ประชุมได้ว่าจ้างบริษัท ดีติคอน เป็นที่ปรึกษาการคำนวณต้นทุนค่าไอซีจากประเทศเยอรมัน ซึ่งหวังจะประกาศใช้เป็นอัตราเดียวกันทั้งอุตสาหกรรมทั้งระบบ 2G และ 3G คาดว่าจะอยู่ในอัตรา 0.45 บาท จากที่เดิมระบบ 2G ประกาศใช้อยู่ที่ 1.07 บาทต่อนาที
       
       นายฐากร กล่าวว่า ขณะเดียวกันสำนักงาน กสทช.ยังได้มอบหมายให้นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการกสทช. เข้ามาดูแลและตรวจสอบความเร็วการให้บริการ 3G ที่ต่ำกว่าข้อกำหนดที่กสทช.ประกาศเอาไว้ ในฐานะเป็นประธานคณะ ทำงานติดตามและกำกับดูแลค่าบริการ การประกอบกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่านความถี่ 2.1 GHz ในการติดตามตรวจสอบอัตราค่าบริการโทรศัพท์มือถือ 3G บนคลื่น 2.1GHzว่าผู้ประกอบการทั้ง3รายมีการลดราคาค่าบริการลง 15% ตามเงื่อนไขใบอนุญาตหรือไม่
       
       'คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะได้ข้อสรุปรายงานนัดแรกจากคณะทำงานชุดดังกล่าว จากนั้นจะนำข้อสรุปเข้าเสนอบอร์ดกทค.ต่อไปเพื่อให้รับทราบเรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้บริการ 3G'
       
       ทั้งนี้ในวันจันร์ที่ 27 พ.ค.นี้กสทช.จะเรียกผู้ประกอบการทั้ง 3 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เนทเวอร์ค ,บริษัท เรียลฟิวเจอร์ และบริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค ที่เปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1GHz เข้ามาชี้แจง พร้อมทั้งกำชับภายหลังคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้บริการกรณีความเร็วของการใช้งานดาต้าบน 3G โดยเมื่อผู้ใช้บริการใช้ความเร็วสูงสุดครบ ระบบจะทำการลดความเร็วลงอัตโนมัติตามกฎที่ผู้ประกอบการตั้งกันขึ้นมาโดยมีชื่อเรียกว่า Fair Usage Policy (FUP) ให้มาอยู่ที่ 64 - 128 Kbps ต่อวินาที ตามแต่ผู้ประกอบการจะกำหนด
       
       ทั้งที่ข้อกำหนดการเปิดให้บริการ3G บนคลื่น2.1GHz ให้ยึดเอาประกาศ กสทช. เรื่องมาตรฐานของคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทข้อมูลสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่กำหนดให้ความเร็วต่ำสุดต้องไม่ต่ำกว่า 345 kbps ต่อวินาที นอกจากนี้ยังมีประเด็นหารือในเรื่องการลดราคาค่าบริการ3G ลง15% ตามเงื่อนไขสัญญาแนบท้ายและในเรื่องอื่นๆที่มีการร้องเรียนเข้ามาเกี่ยวข้องกับการให้บริการ 3G ด้วย
       
       ที่ประชุมยังเห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. .... โดยขั้นตอนต่อจากนี้จะเป็นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะแล้วนำผลกลับมาให้ กสทช. พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนจะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา
       
       'ในที่ประชุมมีบอร์ดตั้งข้อสังเกตุต่างๆในเรื่องร่างประกาศดังกล่าว แต่ที่ประชุมไม่ได้นำมาพิจารณาแต่อย่างใดเนื่องจากเป็นการประชุมบอร์ดใหญ่ เรื่องที่จะเสนอควรผ่านบอร์ดกสท.มาก่อน แต่จะนำข้อสังเกตเหล่านั้นไปรวมกับข้อมูลที่ได้จากการไปประชาพิจารณ์ต่อไป ซึ่งที่ประชุมยังคาดว่าจะสามารถเปิดประมูลทีวีดิจิตอลได้ภายในต.ค.นี้'
       
       โดยที่ร่างประกาศฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้ 1.คลื่นความถี่ที่จะอนุญาตให้ใช้เป็นคลื่นความถี่ตามแผนความถี่วิทยุ โดยแบ่งหมวดหมู่การให้บริการ ได้แก่ 1.1 เด็ก เยาวชน และครอบครัว 1.2 ข่าวสารและสาระ 1.3 ทั่วไปแบบความคมชัดปกติและ 1.4 ทั่วไปแบบความคมชัดสูง 2. ผู้เข้าร่วมประมูลต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตาม (ร่าง) ประกาศฯ ผู้ขอรับใบอนุญาตมีสิทธิยื่นคำขอรับใบอนุญาตไม่เกินรายละหนึ่งใบอนุญาตของแต่ละหมวดหมู่ และมีสิทธิยื่นคำขอหมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดสูงหรือหมวดหมู่ข่าวสารและสาระ หมวดหมู่ใดหมวดหมู่หนึ่งเท่านั้น
       
       3. ราคาขั้นต่ำ ราคาเริ่มต้น และการเสนอเพิ่มราคา โดยให้เป็นไปตามผลการศึกษาการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสนอมา ซึ่งมีราคาตั้งต้นของการประมูล ดังนี้ 3.1 ช่องรายการทั่วไป HD (7) มูลค่าต่ำสุด 1,510 ล้านบาท 3.2ช่องรายการทั่วไป SD (7) มูลค่าต่ำสุด 380 ล้านบาท 3.3ช่องรายการข่าว SD (7) มูลค่าต่ำสุด 220 ล้านบาท และ3.4ช่องรายการเด็ก SD (3) มูลค่าต่ำสุด 140 ล้านบาท
       
       สำหรับการกำหนดจำนวนเงินสำหรับการเสนอเพิ่มราคานั้น มีรายละเอียดดังนี้1.หมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว กำหนดให้การเสนอเพิ่มราคาครั้งละ 1 ล้านบาท 2.หมวดหมู่ข่าวสารและสาระ กำหนดให้การเสนอเพิ่มราคาครั้งละ 2 ล้านบาท 3.หมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดปกติ กำหนดให้การเสนอเพิ่มราคาครั้งละ 5 ล้านบาท และ 4.หมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดสูง กำหนดให้การเสนอเพิ่มราคาครั้งละ 10 ล้านบาท
       
       4.การเข้าร่วมประมูล เป็นการดำเนินการเพื่อรับสิทธิ ดังต่อไปนี้ 4.1การใช้คลื่นความถี่ร่วมกัน เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ 4.2การเลือกหมายเลขลำดับการให้บริการในแต่ละหมวดหมู่ โดยเรียงลำดับผู้ชนะการประมูล ในกรณีที่ชนะการประมูลด้วยราคาเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลาก 4.3การเลือกใช้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ให้เลือกโดยผู้ชนะการประมูลที่มีราคาสูงสุดเรียงตามลำดับของทุกหมวดหมู่รวมกัน ในกรณีที่ชนะการประมูลด้วยราคาเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลาก
       
       5. การประมูลจะแยกตามหมวดหมู่ที่กำหนด โดยแต่ละคราวมีระยะเวลา 60 นาที เมื่อเริ่มการประมูลผู้เข้าร่วมจะต้องเสนอราคาครั้งแรกภายใน 5 นาที มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิแลถูกริบหลักประกัน โดยในระหว่างการประมูล ผู้เข้าร่วมจะทราบสถานะและลำดับการมีสิทธิเป็นผู้ชนะ รวมถึงราคาต่ำสุดของกลุ่มผู้มีสิทธิเป็นผู้ชนะการประมูล แลเมื่อการประมูลสิ้นสุดลง ถ้ามีผู้ชนะการประมูลเสนอราคาเท่ากันเกินกว่าจำนวนใบอนุญาตให้ขยายเวลาการประมูลออกไปอีกครั้งละ 5 นาที ซึ่งในกรณีที่ขยายระยะเวลาแล้วและไม่มีการเสนอราคาเพิ่มขึ้นให้ดำเนินการหาผู้ชนะด้วยวิธีจับสลาก
       
       6. การชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกจะเป็นเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในส่วนของราคาขั้นต่ำ ให้แบ่งชำระเป็น 4 งวด และส่วนที่สองจะเป็นเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในส่วนที่เกินกว่าราคาขั้นต่ำ ให้แบ่งชำระเป็น 6 งวด ซึ่งผู้ชนะการประมูลแต่ละราย จะต้องชำระค่าธรรมเนียมเท่ากับราคาที่ตนชนะการประมูล
       
       7. ผู้ชนะการประมูลที่ได้รับสิทธิให้เป็นผู้รับใบอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ตามเงื่อนไขให้ครบถ้วนก่อนจึงจะได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ คือ 7.1ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่งวดที่หนึ่ง 7.2ดำเนินการขอใช้บริการโครงข่ายโทรทัศน์กับผู้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่าย โทรทัศน์ในระบบดิจิตอลให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการเป็นผู้ชนะการประมูล 7.3ดำเนินการตามประกาศ กสทช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการเป็นผู้ชนะการประมูล หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ถือว่าสละสิทธิ์การขอรับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่
       
       8 ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลมีอายุ 15 ปี
       
       นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2556 โดยหลังจากนี้จะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้ต่อไป อีกทั้งยังเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การแพร่เสียงแพร่ภาพรายการกีฬาที่สำคัญ พ.ศ. .... ฉบับปรับปรุงแก้ไขหลังการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยหลังจากนี้จะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ซึ่งร่างดังกล่าวมีสาระสำคัญ คือรายการสำคัญ 7 รายการ
       
       ได้แก่ 1. รายการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก 2.รายการแข่งขันคอนเฟเดอเรชั่นคัพ 3.รายการแข่งขันเอเชี่ยนคัพนัดสุดท้าย และนัดที่มีทีมชาติไทยเข้าร่วมแข่งขัน 4.รายการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก และฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 5.รายการแข่งขันเซปักตะกร้อชิงแชมป์โลก 6.รายการวอลเล่ย์บอล ระดับชิงแชมป์โลก 7.รายการแข่งขันเทนนิสเดวิสคัพ นัดที่มีตัวแทนจากชาติไทยเข้าร่วมแข่งขัน โดยผู้ประกอบกิจการที่ได้สิทธิในการแพร่ภาพรายการทั้งหมด จะต้องจัดทำข้อเสนอบริการเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการรายอื่นสามารถเลือกที่จะ เข้าเจรจาเพื่อนำสิทธิในการแพร่เสียงแพร่ภาพของรายการดังกล่าวไปให้บริการประชาชนสามารถรับชมได้อย่างแพร่หลายได้ด้วย
       
       Company Relate Link :
       กสทช.

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)