Author Topic: กสท. เคาะกรอบ ทีวีดิจิตอลสาธารณะ  (Read 756 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      บอร์ด กสท.เคาะกรอบทีวีดิจิตอลสาธารณะ ระบุแบ่งเป็น 3 กลุ่มจำนวน 12 ช่อง คาดเปิดยื่นข้อเสนอที่ใช้เกณฑ์บิวตี้ คอนเทสต์ ตัดสินในเดือน เม.ย-พ.ค. ก่อนสามารถออกไลเซนส์ได้ในเดือน มิ.ย. 2556
       
       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ในการประชุมบอร์ด กสท.เมื่อวันที่ 25 มี.ค. มีมติพิจารณากำหนดกรอบการอนุญาตให้บริการทีวีระบบดิจิตอล ประเภทกิจการสาธารณะ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มจำนวน 12 ช่องรายการ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ช่องรายการที่ 1-3 เป็นการออกอากาศคู่ขนาน (simulcast) โดยจะเป็นผู้ประกอบการรายเดิมในระบบอนาล็อก คือ กองทัพบก ช่อง 5 กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11 และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) โดยเนื้อหารายการจะเหมือนกับช่องรายการในระบบอนาล็อก
       
       ส่วนกลุ่มที่ 2 คือ ช่องรายการที่ 4 ซึ่งเป็นช่องไทยพีบีเอส ที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับ กสทช.แล้ว โดยจะเป็นช่องสำหรับเด็ก และกลุ่มที่ 3 คือ ช่องรายการที่ 5-7 เป็นกิจการสาธารณะประเภทที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ ด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม การเกษตร การส่งเสริมอาชีพ สุขภาพอนามัย กีฬา และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน และช่องรายการที่ 8-9 เป็นกิจการบริการสาธารณะประเภทที่ 2 หรือช่องรายการเพื่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยสาธารณะ รวมถึงช่องรายการที่ 10-12 จะเป็นช่องรายการเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชน และรัฐสภากับประชาชน เป็นการกระจายข้อมูลข่าวสาร เพื่อการส่งเสริมสนับสนุน การเผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
       
       “กสทช.จะเปิดให้ยื่นข้อเสนอเพื่อพิจารณาให้ใบอนุญาต (ไลเซนส์) ในกิจการประเภทสาธารณะโดยใช้การพิจารณาความเหมาะสมของข้อเสนอ หรือบิวตี้คอนเทสต์ได้ในราวเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556 และคาดว่าจะสามารถออกไลเซนส์ได้ในเดือนมิถุนายน 2556”
       
       สำหรับใบอนุญาตการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทสาธารณะสำหรับรายใหม่นั้น บอร์ด กสท.กำหนดให้มีอายุใบอนุญาตเพียง 4 ปีเท่านั้น ส่วนใบอนุญาตสำหรับผู้ให้บริการรายเดิมได้แก่ ช่อง 5, 11 จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาความจำเป็นการใช้คลื่นตามที่ พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 กำหนดไว้ ที่จะพิจารณาให้ใบอนุญาตอายุไม่เกิน 10 ปี ขณะที่ช่องไทยพีบีเอสมีเจตจำนงค์ว่าจะยุติการออกอากาศในระบบแอนะล็อกภายใน 3 ปี
       
       พ.อ.นทีกล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังพิจารณา ผลการวิเคราะห์ความเหมาะสม ของการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ สำหรับให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (กิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่) โดยที่ประชุมพิจารณาอนุมัติให้ไลเซนส์ช่องรายการ จำนวน 63 ช่องรายการ
       
       นอกจากนี้ ที่ประชุมยังพิจารณาอนุมัติให้ไลเซนส์ สำหรับการให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์สำหรับกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ จำนวน 8 ราย (8 ใบอนุญาต) พร้อมทั้งที่ประชุมยังได้กำหนดคำนิยามประเภทช่องรายการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลสำหรับกิจการประเภทธุรกิจ คือ 1. ช่องรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว หมายถึง ช่องรายการที่เน้นการนำเสนอรายการส่งเสริมการเรียนรู้ การศึกษาในวิทยาการสาขาต่างๆ รวมถึงรายการสาระที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน 2. ช่องรายการข่าวสาร และสาระ หมายถึง ช่องรายการที่เน้นการนำเสนอรายการที่เป็นการเผยแพร่ข่าวสารหรือสาระ 3. ช่องรายการทั่วไปแบบความชัดปกติ หมายถึง ช่องรายการที่นำเสนอรายการที่เป็นไปตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยผังรายการ 4. ช่องรายการทั่วไปแบบความคมชัดสูง หมายถึงช่องรายการที่นำเสนอรายการที่เป็นไปตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด
       
       Company Relate Link :
       กสทช.

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)