Author Topic: ฟูจิตสึประกาศความสำเร็จ พัฒนาเทคโนโลยีวัดคลื่นหัวใจแบบเรียลไทม์จากหน้าคน  (Read 645 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ตรวจระดับการเต้นของหัวใจภายใน 5 วินาที


การวิเคราะห์สีหน้าเพื่อบ่งบอกระดับการเต้นของหัวใจ


ระดับการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรม

“ฟูจิตสึ” พัฒนาเทคโนโลยีตรวจวัดคลื่นหัวใจจากใบหน้า ด้วยกล้องเว็บแคมพื้นฐาน พร้อมประมวลผลอาการได้ภายใน 5 วินาที สร้างฐานข้อมูลด้านการแพทย์ภายในองค์กร เล็งสร้างศูนย์กลางการรักษาออนไลน์แบบอัจฉริยะ
       
       ฟูจิตสึ (Fujitsu) เผยผลงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีตรวจวัดคลื่นหัวใจผ่านใบหน้าได้เป็นผลสำเร็จ โดยใช้การเปรียบเทียบสีของใบหน้าเพื่อวิเคราะห์หาระดับการไหลเวียนของเลือดที่มีอยู่ในร่างกาย ด้วยการอ้างอิงจากคุณลักษณะของฮีโมโกลบิล (Hemoglobin) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเม็ดเลือดแดง ภายหลังดูดซับแสงสีเขียว

       เทคโนโลยีดังกล่าวไม่ต้องต่ออุปกรณ์ใดๆ เพิ่มเติมเป็นพิเศษ ใช้เพียงกล้องที่ติดตั้งมากับเครื่องพีซี แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนปกติ ด้วยการหันหน้ากล้องไปที่ใบหน้าผู้ที่ต้องการวัด เพียงแค่ 5 วินาที ระบบจะทำการบันทึกช่วงเวลาของใบหน้านั้นๆ แล้วส่งข้อมูลขึ้นสู่ระบบคลาวด์ เพื่อทำการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของสีหน้าออกมาเป็นข้อมูลที่ต้องการ
       
       แนวความคิดดังเกิดจากความต้องการเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตให้กับบุคลากรในองค์กร มากกว่าการมองหาพนักงานใหม่ การติดตามดูแลสุขภาพของพนักงานทุกที่ทุกเวลา จึงทำให้เกิดระบบดังกล่าว

       โดยระบบของการดูแลสุขภาพสามารถปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการของสุขภาพพนักงานแต่ละคน ฟูจิตสึมุ่งหวังที่จะสร้างระบบติดตามการดูแลสุขภาพของแต่ละคน และเก็บประวัติของสุขภาพนั้นๆ ขึ้นสู่ระบบคลาวด์เพื่อการวิเคราะห์อาการได้อย่างอัตโนมัติ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยสร้างความเข้าใจด้านสุขภาพของพนักงานทั้งหมด เพื่อวางแผนการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
       
       ฟูจิตสึคาดหวังว่าจะสามารถสร้างแพลตฟอร์ม “ศูนย์กลางการรักษาสุขภาพอัจฉริยะ” สำหรับใช้บนเครื่องพีซี แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนได้ทุกรูปแบบ เพื่อให้การติดตามสุขภาพของพนักงานได้ข้อมูลที่ถูกต้อง พร้อมส่งขึ้นสู่ระบบคลาวด์และวิเคราะห์ปัญหาได้ทันทีที่พนักงานนั้นๆต้องการ
       
       ทั้งนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถต่อยอดไปสู่การติดตามการรักษา หรือแม้กระทั่งสร้างระบบรักษาความปลอดภัยได้

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)