Author Topic: กทค. เห็นชอบแนวทางคิดค่าบริการเฉลี่ย 3G ลดลง 15%  (Read 682 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


     บอร์ด กทค.เห็นชอบแนวทางคิดอัตราค่าเฉลี่ยบริการ 3G ความถี่ 2.1 GHz ตามประกาศที่ต้องลดลง 15% แต่ไม่สามารถเปิดเผยตัวเลข ได้แต่ขู่หากเอกชนไม่ปรับตามประกาศยึดใบอนุญาติ ส่วนกรณี 1800 MHz ยังเงียบ
       
       นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่าที่ประชุมบอร์ด กทค.เมื่อวันที่ 13 มี.ค. มีมติเห็นชอบแนวทางการคิดคำนวณอัตราค่าเฉลี่ยการให้บริการโทรศัพท์มือถือระบบ 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ของสำนักงาน กสทช. โดยได้คิดคำนวณจากฐานตัวเลขเฉลี่ยทุกบริการ ได้แก่ 1. บริการด้านเสียง (วอยซ์) 2. บริการข้อความสั้น (SMS) 3. บริการรับส่งข้อความ ภาพ และ 4. บริการสื่อสารข้อมูล (ดาต้า)
       
       ทั้งนี้ การคิดค่าเฉลี่ยดังกล่าว สำนักงาน กสทช.คิดค่าเฉลี่ยจากผู้ให้บริการทุกรายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส (เอไอเอส), บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และบริษัท ทรูมูฟ ณ วันที่ 7 ธ.ค. 55 นับจากวันที่ได้ใบอนุญาติซึ่งการคิดคำนวณอัตราเฉลี่ยดังกล่าวนั้นถือเป็นการคิดค่าเฉลี่ยสำหรับผู้บริโภค ซึ่งผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่ได้รับไลเซนส์ 3G จะต้องมีการปรับลดตามเงื่อนไขที่ กสทช.ประกาศไว้ว่าจะต้องมีการลดค่าบริการไม่ต่ำกว่า 15%
       
       “ในเบื้องต้นยังไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขได้ในตอนนี้ เนื่องจากจะทำให้ผู้ให้บริการแต่ละรายฉวยโอกาสได้ แต่ กสทช.จะติดตามตรวจสอบว่าผู้ให้บริการมีการปรับลดราคาตามประกาศหรือไม่ หากไม่ปรับลดตามประกาศดังกล่าว สำนักงาน กสทช.จะดำเนินการส่งหนังสือเตือน และหากยังไม่ปรับลดก็จะดำเนินการปรับ ไปจนถึงการเพิกถอนใบอนุญาตต่อไป”
       
       ขณะที่กรณีผู้ประกอบการยืนยันว่าจะเปิดให้บริการ 3G ได้ภายในเดือน เม.ย. 56 นั้น ล่าสุดยังไม่มีผู้ให้บริการรายใดส่งสัญญาให้บริการตามกฏหมายมายัง กสทช. เพื่อลงมติเห็นชอบก่อนเปิดให้บริการ ตามมาตรา 51 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งระบุว่าผู้ประกอบการจะต้องส่งสัญญาให้บริการก่อนเปิดให้บริการ ดังนั้น หากผู้ให้บริการมั่นใจจะเปิดบริการเดือนเม.ย.นี้ จะต้องส่งสัญญาภายในสิ้นเดือน มี.ค.นี้
       
       นพ.ประวิทย์กล่าวถึงความคืบหน้าในเรื่องสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 MHzระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม กับบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ที่จะสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 15 ก.ย. 2556 นั้น ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปใดๆ ว่า ใครจะบริหารคลื่นความถี่ต่อหลังวันสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน แล้วลูกค้าควรจะทำอย่างไรในช่วงการเปลี่ยนผ่าน (ทรานซิชัน พีเรียด) จากบอร์ด กทค.ที่เคยออกมาพูดว่าจะให้ กสท เป็นผู้ดูแลลูกค้าต่อหลังวันหมดสัญญาในวันที่ 15 ก.ย. 56 อีก 1 ปี
       
       “ที่ประชุมได้ส่งเรื่องให้สำนักงาน กสทช.กลับไปดูรายละเอียดในประเด็นข้อกฎหมาย และในแง่การให้บริการ ว่า กสท จะสามารถเป็นผู้ให้บริการได้หรือไม่ และเลขหมายที่กสทมีอยู่ราว 17 ล้านเลขหมาย จะต้องคืนไปที่ใคร”
       
       อย่างไรก็ตาม บอร์ดยังเป็นกังวลว่าหากกทค.ขยายระยะเวลาให้ กสท เป็นผู้ดูแลต่ออีก 1 ปี จะผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งกสท เองก็ต้องการให้บริการต่อไป อีก 13 ปี อย่างแน่นอน โดยก่อนหน้านี้คณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของ กสทช. ก็เคยออกมาชี้ชัดแล้วว่าเมื่อสัมปทานสิ้นสุดลง สิทธิในการใช้งานคลื่นความถี่ก็ถือว่าสิ้นสุดลงด้วย และสิทธิในการใช้งานคลื่นความถี่ย่อมต้องกลับคืนไปยังสาธารณะ โดย กสทช. หรือ กทค. มีหน้าที่ในการเข้าไปบริหารจัดการคลื่นความถี่ดังกล่าว
       
       Company Relate Link :
       กสทช.

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)