Author Topic: ระวัง! กรดทีซีเอ เสี่ยงเสียโฉมถาวร  (Read 6403 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


รองอธิบดีกรมการแพทย์ เตือนอันตรายวัยรุ่นที่นิยมซื้อ “กรดทีซีเอ”ใช้เองผ่านเว็บไซต์ เพื่อทาหน้าหวังให้ขาวใสเรียบเนียนเหมือนดาราเกาหลี เสี่ยงเสียโฉมถาวร จากฤทธิ์ของกรดกัดหน้าลึกลงไปถึงหนังแท้ กลายเป็นแผลเป็น ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเหมือนเดิมได้ ชี้กรดชนิดนี้มีความเข้มข้นสูง ทางการแพทย์ใช้รักษาผู้ป่วยโรคผิวหนัง ไม่สามารถนำมาผสมเป็นครีมทาหน้าทำให้หน้าขาวใสได้ แนะนำวิธีการดูแลผิวหน้าด้วยตนเอง หมั่นทาครีมบำรุงทุกคืน
       
       นายแพทย์จิโรจ สินธวานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง ให้สัมภาษณ์ว่า ปัจจุบันวัยรุ่น หนุ่มสาวไทย ให้ความสำคัญกับความสวยงามของผิวพรรณหน้าตาอย่างมาก และต้องการมีผิวขาวหน้าใสเรียบเนียนไร้สิวฝ้าตามกระแสนิยมเหมือนดาราเกาหลี และมีการใช้กรดทีซีเอ (TCA : Trichloroacetic Acid) มาใช้ลอกผิวหน้า หรือลบรอยหลุมสิว หรือใช้กรดชนิดนี้มาจี้ฝ้ากระเองอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่รู้ถึงอันตรายที่จะเกิดตามมา โดยวัยรุ่นสั่งซื้อกรดชนิดนี้มาจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีให้เลือกจำนวนมากและมีคำแนะนำในการใช้ รวมทั้งยังมีกระทู้ต่างๆถาม-ตอบเกี่ยวกับการใช้กรดชนิดนี้ด้วย ทำให้วัยรุ่นหลงเชื่อมากขึ้น 3
       
       นอกจากนี้ยังสามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าตามบู๊ธขายสินค้าที่ตั้งตามห้างสรรพสินค้า ที่ผ่านมามีวัยรุ่นหลายรายที่ซื้อครีมทาหน้าที่มีส่วนผสมของกรดทีซีเอจากอินเทอร์เน็ต อ้างสรรพคุณทำให้หน้าขาวใสรอยหลุมสิวได้เพียง 1 สัปดาห์ เมื่อนำไปใช้แล้วเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง ผิวหนังที่ใบหน้าบวม แดง มีน้ำเหลือง และกลายเป็นรอยไหม้ดำทั่วใบหน้า อาจไม่สามารถรักษาให้กลับมาเหมือนเดิมได้อีก
       นายแพทย์จิโรจกล่าวว่า กรดทีซีเอ มีลักษณะเป็นของเหลวใส มีความเข้มข้นแตกต่างกัน ตั้งแต่ 10เปอร์เซ็นต์ - 100เปอร์เซ็นต์ เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรงกว่ากรดเอเอชเอ (AHA)ที่ใช้ทำเป็นครีมหน้าขาวใส และสำนักงานคณะกรรมการอาหาหารและยาหรือ อย. ยังไม่อนุญาตให้นำกรดทีซีเอมาผสมเป็นครีมทาหน้าขาวใส นอกจากจะมีผู้ลักลอบนำมาผสมในครีมทาหน้าขายผ่านอินเทอร์เน็ต
       เนื่องจากกรดชนิดนี้มีความรุนแรงมาก เป็นกรดที่แพทย์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคผิวหนังได้เพียงอย่างเดียว เช่น หูด สิว ฝ้า กระ ริ้วรอย จุดด่างดำ ไฝ และติ่งเนื้อเล็กๆ ที่ขึ้นตามลำคอ เพื่อลอกผิวออกใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเท่านั้น ไม่ควรซื้อมาทำเองที่บ้านอย่างเด็ดขาด ซึ่งในการลอกผิวหน้า แพทย์จะทากรดทิ้งไว้แค่ 3-4 นาทีแล้วล้างออก หากทิ้งไว้นานกว่านี้ อาจทำให้เกิดอันตราย
       ต่อผิว ทำให้ผิวหน้าไหม้ และหากใช้กรดทีซีเอที่มีความเข้มข้นสูงจะมีฤทธิ์กัดทำลายผิวหนังถึงชั้นหนังแท้ อาจเกิดรอยแผลเป็นบนใบหน้า ไม่วิธีรักษาให้หายกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ และหลังจากลอกหน้าแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดด เพราะจะทำให้แสบหน้าเนื่องจากผิวหน้าที่โดนลอกนั้นจะบางลง ประการสำคัญห้ามใช้ลอกหน้าในผู้ที่เป็นเริม ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ผิวหนัง ลักษณะเป็นตุ่มใสเล็กๆ เนื่องจากจะทำเริมกระจายทั่วใบหน้าได้
       
       “ขอแนะนำวัยรุ่นว่า อย่าหลงเชื่อซื้อกรดชนิดนี้ผ่านอินเทอร์เน็ตมาใช้เองอย่างเด็ดขาด เพราะอาจทำให้หน้าเสียโฉมได้ หากมีปัญหาเกี่ยวกับผิวพรรณหรือใบหน้าขอให้ไปรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเท่านั้น แต่หากต้องการใช้ครีมทาหน้าขาวใส ควรเลือกใช้ครีมที่มีส่วนประกอบของเอเอชเอ ซึ่งเป็นกรดจากผลไม้ เช่น อ้อย ส้ม แต่ปริมาณเอเอชเอที่ผสมในครีมต้องไม่เกิน 4 เปอร์เซ็นต์จะปลอดภัยกว่า” นายแพทย์จิโรจกล่าว
       
       นายแพทย์จิโรจกล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับวิธีการดูแลรักษาผิวหน้าให้ขาวใส ไร้สิว ที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง คือการล้างหน้าบ่อยๆ ทาครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของสารกันแดดทุกเช้าก่อนออกจากบ้าน และทาครีมบำรุงตอนกลางคืนทุกคืน ในการนวดหน้าให้ใช้ครีมที่มีส่วนผสมของสารป้องกันแสงแดดและสารเอเอชเอ และควรทำเมื่ออายุ 18 ปีขึ้นไป จึงจะเหมาะสมและปลอดภัยที่สุด และขอให้เลือกซื้อเครื่องสำอาง และครีมบำรุงผิวหน้า ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ซึ่งจะมีการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้เกณฑ์มาตรฐาน เพื่อคุ้มครองสุขภาพแก่ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ได้ใช้สินค้าถูกต้องตามฉลากแนะนำ และปลอดภัย และหากมีปัญหาด้านโรคผิวหนังหรือปัญหาผิวพรรณ สามารถติดต่อหรือสอบถามได้ที่สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ โทร 023548036-40 หรือเว็บไซต์ www.inderm.go.th

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)