Author Topic: ตรวจพบ ชานมไข่มุก มีสารก่อมะเร็ง  (Read 7265 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


นับเป็นข่าวร้ายสำหรับสาวกที่ชื่นชอบการบริโภคเครื่องดื่มประเภทชาไข่มุก ทั้งในแถบยุโรปรวมทั้งประเทศเยอรมนีหลังจากที่มีประกาศเตือนว่า เม็ดไข่มุกที่ใส่ในเครื่องดื่มชานมนั้น มีสารก่อมะเร็งเจือปน

นักวิจัยจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอาคอน ประเทศเยอรมนีได้กล่าวว่า การตรวจสอบเม็ดไข่มุกที่ใส่ในเครื่องดื่มประเภทชานมนั้น พบสารเคมีในกลุ่มโพลีคลอริเนต ไบฟีนิล (polychlorinated biphenyls: PCBs) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง


ตัวอย่างที่สุ่มตรวจพบสารก่อมะเร็งเป็นตัวอย่างจากร้านชาไข่มุกแห่งหนึ่ง เป็นสาขาจากประเทศไต้หวัน ที่มาเปิดที่เมือง Mönchengladbach ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเยอรมนี โดยตรวจพบสารเคมีประเภท โพลีคลอริเนต ไบฟีนิล ได้แก่ สไตรีน (Styrene) อะซีโตนฟีโนน (Acetophenone) และ สารประกอบของโบรมิเนต (Brominated Substances)

สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency -EPA) หรือ “อีพีเอ” ได้ระบุว่า สารในกลุ่ม PCBs เป็นสารเคมีอินทรีย์ที่ใช้กันในช่วงปี คศ. 1929 – 1979 แต่เนื่องจากเป็นสารที่ตกค้างและแพร่กระจายในธรรมชาติ สะสมในพืช ผัก ผลไม้ที่รับประทาน และเกิดการสะสมในผู้บริโภค จึงประกาศห้ามใช้ในที่สุด

พิษของสารในกลุ่ม PCBs นั้น ไม่มีแบบเฉียบพลัน แต่จะสะสมในร่างกายทีละเล็กน้อยเป็นเวลานานจนเกิดอาการเรื้อรังในที่สุด อาการเริ่มแรกของการเกิดพิษคือ เหนื่อยล้า เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และแขนขาเกิดอาการบวม อาการต่อมาที่รู้จักกันดีและเห็นได้ชัดคือ เกิดฝีและตุ่มเล็กๆ ที่ผิวหนัง ผิวหนังและเล็บคล้ำ เปลือกตาบวม นอกจากนี้ยังอาจทำลายระบบประสาท ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ และระบบภูมิคุ้มกัน และอาจทำให้เกิดเป็นมะเร็ง

อย่างไรก็ดี แม้จะมีการตรวจพบการเจือปนของโพลีคลอริเนต ไบฟีนิล แต่ก็ยังไม่มีรายงานถึงอุบัติเหตุหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากชาไข่มุกในประเทศเยอรมนีแต่อย่างใด

เมื่อมีผลงานวิจัยออกมาเช่นนี้ บรรดาสาวกชานมไข่มุกในประเทศไทยบางท่านอาจถอดใจเลิกกินไปเลยก็ได้ แต่เชื่อว่าคงมีอีกหลายท่านที่ยังติดใจในรสชาติความอร่อย และเลือกที่จะทานต่อไปก็ควรจะบริโภคต่อด้วยความระมัดระวัง         
 
ที่มา: vcharkarn, tlcthai


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)