Author Topic: ราคาประมูลตั้งต้น “ทีวีดิจิตอล” ช่อง HD พุ่งแตะ 3,000 ล้านบาท  (Read 746 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


     บอร์ด กสท.เตรียมเคาะราคาตั้งต้นประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่องธุรกิจ 11 มี.ค.นี้ หลังคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ส่งผลศึกษาระบุช่อง HD พุ่งถึงระดับ 3,000 ล้านบาท ส่วนช่องมาตรฐาน (SD) ไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท
       
       นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ด้านเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ผลการศึกษาของราคาตั้งต้นในการประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอลประเภทของช่องธุรกิจ จำนวน 24 ช่องรายการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ราคาตั้งต้นแบ่งออกเป็นช่องรายการประเภทความละเอียดสูง (HD) จำนวน 4 ช่อง มีราคาตั้งต้นที่ 1,000-3,000 ล้านบาท ช่องความละเอียดมาตรฐาน(SD) จำนวน 20 ช่อง มีราคาไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยช่อง SD แบ่งออกเป็นช่องรายการทั่วไป 10 ช่อง ช่องประเภทข่าว จำนวน 5 ช่อง และช่องรายการประเภทเด็ก จำนวน 5 ช่องซึ่งราคาไม่เกิน 100 ล้านบาท
       
       “ราคาตั้งต้นดังกล่าวจะต้องเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายเล็ก และรายใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการประมูลครั้งนี้ เพื่อตอบสนองต่อเจตนารมณ์ การปฏิรูปสื่อ เพื่อสร้างความหลากหลายของเนื้อหาให้แก่ประชาชน”
       
       สำหรับราคาตั้งต้นดังกล่าวคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พิจารณาจากความสามารถในการหารายได้ มูลค่าอุตสาหกรรมทีวี และยึดจากกฎระเบียบของ กสทช. เช่น หลักเกณฑ์การนำพาช่องรายการโทรทัศน์ที่สามารถรับชมได้เป็นการทั่วไป (กฎมัสแครี รูล) และการกำหนดเพดานการถือครองช่องรายการทีวีดิจิตอล และค่าเช่าโครงข่าย เป็นต้น
       
       อย่างไรก็ตาม ราคาตั้งต้นทีวีดิจิตอล 24 ช่องธุรกิจดังกล่าว ยังไม่เป็นที่สิ้นสุดหรือนำมาใช้จริงในการประมูลทีวีดิจิตอลที่กำลังจะเกิดขึ้น เนื่องจากจะต้องนำผลการศึกษาดังกล่าวเข้าที่ประชุมบอร์ด กสท.ในวันจันทร์ที่ 11 มี.ค. 56 นี้ เพื่อพิจารณาเห็นชอบก่อน ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ หากตัวแปรที่ส่งผลกระทบต่อสมมุติฐานการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการกำหนดเพดานการถือครองช่องรายการทีวีดิจิตอล ซึ่งราคาตั้งต้นดังกล่าวคิดจากการถือครองช่องรายการสูงสุดได้ 2 ช่อง ขณะที่การกำหนดถือครองช่องจะมีข้อสรุปอีกครั้งในเดือน เม.ย. 2556 นี้
       
       “ประชุมบอร์ด กสท.ครั้งหน้ายังคงไม่มีวาระเรื่องราคาคูปองเงินสนับสนุนค่าเปลี่ยนผ่านอุปกรณ์จากทีวีแอนะล็อกสู่ทีวีดิจิตอลแก่คนไทยทั้ง 22 ล้านครัวเรือนแต่อย่างใด เพราะยังไม่มีการสรุปในส่วนของราคาคูปอง เนื่องจากเป็นการเสนอราคาตั้งต้นในรอบแรกเท่านั้น ซึ่งมีแนวโน้มอาจจะต้องมีการปรับในเรื่องของตัวเลขอีกไม่มากก็น้อย จากนั้นจึงสามารถคำนวณราคาคูปองได้ รวมไปถึงปัจจัยในการกำหนดเพดานถือครองช่องรายการก็จะถือเป็นตัวแปรในการเปลี่ยนแปลงราคาตั้งต้นได้เช่นกัน”
       
       ทั้งนี้ ผลการศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ้างอิงจากต่างประเทศ และสมมุติฐานในประเทศไทย โดยช่องรายการทั่วไป (SD) ราคาต่ำสุด 702 ล้านบาท ราคาสูงสุด 2,855 ล้านบาท ช่องรายการข่าว ราคาต่ำสุด 274 ล้านบาท สูงสุด 2,357 ล้านบาท และช่องรายการเด็ก ราคาต่ำสุด 40 ล้านบาท สูงสุด 2,192 ล้านบาท และช่องรายการ โดยช่องรายการประเภทความละเอียดสูง (HD) ราคาต่ำสุด 3,094 ล้านบาท สูงสุด 15,685 ล้านบาท
       
       น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า จากกรณีที่บอร์ดมีมติเรื่องการสนับสนุนให้โทรทัศน์ภาคพื้นดิน (ฟรีทีวี) 3, 5, 7, 9, 11 และไทยพีบีเอส ดำเนินการขออนุญาตการทดลองออกอากาศในระบบทีวีดิจิตอล ซึ่งกำหนดให้ช่องสาธารณะทดลองในคลื่นความถี่ย่านที่จัดสรรไว้เพื่อ ทีวีสาธารณะนั้น มติบอร์ดยังไม่ได้มีการสรุปว่าช่องในปัจจุบันอยู่ในประเภทใดบ้าง โดยเฉพาะช่อง 5 และ 11 ที่ยังไม่มีการสรุปว่าเป็นช่องสาธารณะหรือไม่
       
       “ความเห็นส่วนตัวมองว่าหากช่อง 5 และช่อง 11 ต้องการยื่นขอทดลองในประเภทช่องสาธารณะจริง ทั้ง 2 ช่องดังกล่าวคงต้องกลับไปแก้ไขเนื้อหา และผังรายการให้เหมาะสมกับการเป็นโทรทัศน์เพื่อสาธารณะอย่างแท้จริงก่อน”
       
       Company Relate Link :
       กสทช.

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)