Author Topic: HP มุ่งมั่นเจาะตลาดการศึกษา-องค์กรขนาดเล็ก  (Read 859 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์


นายชยันต์ หิรัญพันธุ์ ขณะนำเครื่องพิมพ์มาทดสอบ


โชว์เอกสารที่หมึกพิมพ์กันน้ำ แม้จะเปียกน้ำหมึกพิมพ์ก็ไม่เปื้อน

เอชพี เร่งเดินหน้าลุยตลาดองค์กรขนาดเล็ก และภาคการศึกษา เล็งเห็นยังมีช่องว่างให้แทนที่ เครื่องพิมพ์หมึกแทงค์ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายแฝงสูงกว่าเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทปกติ พร้อมเผยผลการทดสอบร่วมกับโรงเรียนดาราวิทยาลัย ที่นำเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทไปใช้งานแทนที่เครื่องพิมพ์หมึกแทงค์
       
       นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงภาพรวมตลาดเครื่องพิมพ์ในปีนี้ว่า ทางไอดีซีให้ข้อมูลว่าตลาดเครื่องพิมพ์ยังมีอัตราการเติบโตอยู่ในระดับ ซิงเกิ้ลดิจิต ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าทางเอชพีก็จะมีการเติบโตในระดับใกล้เคียงกัน
       
       โดยปีนี้ทางเอชพี จะเน้นรุกไปในตลาดองค์กรธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก จำพวกโฮมออฟฟิศ และกลุ่มภาคการศึกษาให้มากขึ้น ผ่านผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทมัลติฟังก์ชันรุ่นใหม่ ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ค่าเฉลี่ยพิมพ์ต่อแผ่นราคาต่ำลง สามารถพิมพ์ได้ปริมาณมากขึ้นในตลับหมึกขนาดเดิม
       
       "เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทรุ่นใหม่ที่มีรหัสลงท้ายด้วย HC หรือ High Capacity เริ่มนำเข้ามาวางจำหน่ายในช่วงไตรมาส 4 ที่ผ่านมา ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะ พัฒนาขึ้นมาจากรุ่นเดิมที่เอชพี วางจำหน่ายตลับหมึกราคา 350 บาท แต่สามารถพิมพ์ได้ปริมาณมากขึ้นกว่าเดิม"
       
       ซึ่งแน่นอนว่าทางเอชพี ต้องการเข้าไปตีตลาดเครื่องพิมพ์หมึกแทงค์ ในปัจจุบัน เพราะมองว่าแม้คำนวนต้นทุนต่อแผ่นระหว่างหมึกตลับ และหมึกแทงค์จะแตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ข้อจำกัดเดิมๆของหมึกแทงค์อย่างหัวพิมพ์เสีย ต้องใช้งานต่อเนื่องทุกวัน เสียน้ำหมึกไปโดยเปล่าประโยชน์ในการล้างหัวพิมพ์ ทำให้ท้ายที่สุดแล้วมีค่าใช้จ่ายแฝงเพิ่มเข้ามา สุดท้ายระดับเงินที่เสียไปก็ไม่แตกต่างจากเครื่องพิมพ์ที่ใช้หมึกตลับของแท้



นายชยันต์ หิรัญพันธุ์ ผู้จัดการโรงเรียนดาราวิทยาลัย ซึ่งได้ทดลองนำเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทมัลติฟังก์ชันของเอชพี รุ่น HP Deskjet Ink Advantage 2520hc มาใช้งานธุรการภายในโรงเรียนดาราวิทยาวัย ช่วงเดือนธันวาคม และมกราคมที่ผ่านมา เปิดเผยผลการทดสอบใช้งานในเบื้องต้นไว้ว่า ประสิทธิภาพของเครื่องพิมพ์หมึกแท้นั้นดีกว่าหมึกแทงค์อย่างเห็นได้ชัด และไม่มีค่าใช้จ่ายแฝงในการใช้งาน
       
       โดยการทดสอบคุณสมบัติของตัวเครื่องตามที่ทางเอชพีเคลมว่าหมึกแท้ 1 ตลับ ในราคา 350 บาท จะสามารถพิมพ์งานสีดำได้ถึง 1,500 แผ่น และตลับหมึกสี 1 ตลับ สามารถพิมพ์เอกสารสีได้ 750 แผ่น ทางโรงเรียนดาราวิทยาสามารถนำมาใช้พิมพ์เอกสารสีดำได้ 1,149 แผ่น และสี 673 แผ่น ซึ่งหารเฉลี่ยแล้วตกแผ่นละ 30 สตางค์ และ 52 สตางค์ตามลำดับ ขณะที่เทียบกับการใช้งานหมึกแทงค์ค่าเฉลี่ยต่อแผ่นจะอยู่ที่ราว 7 - 13 สตางค์ก็ตาม
       
       "แม้ว่าราคาพิมพ์เฉลี่ยหมึกแทงค์จะสูงกว่า แต่ต้นทุนแฝงที่มากับการใช้งานหมึกแทงค์ ไม่ว่าจะเรื่องของการติดตั้ง เมื่อหัวอุดตันก็ต้องซื้อตลับหมึกแท้ใหม่ทั้งชุด ค่าเดินทางนำเครื่องไปซ่อม และอายุการใช้งานที่จะลดลงทำให้ต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่อยู่เสมอเป็นต้น"
       
       นอกจากนี้ยังสรุปผลการทดลองเครื่องพิมพ์ 2520hc ออกมาว่า เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็ก หรือสถานศึกษาที่ไม่ต้องการพิมพ์งานจำนวนมาก (ประมาณ 1,000 แผ่นต่อวัน) มีต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าอิงค์เจ็ทยี่ห้ออื่นๆ และเป็นหมึกกันน้ำ ไม่มีความยุ่งยากในการบำรุงรักษา สามารถปล่อยทิ้งไว้นานเป็นสัปดาห์แล้วกลับมาใช้งานใหม่ได้ปกติ


"การใช้งานเครื่องพิมพ์หมึกแทงค์เชื่อว่าทุกคนต้องเคยเจอปัญหาไม่หมึกอุดตัน ถาดรองน้ำหมึกเต็ม เพียงแต่เวลาเจอปัญหาเหล่านี้ก็จะคิดว่าที่ใช้งานไปคุ้มค่าแล้ว แต่ถ้านำเงินที่เสียไปมาคำนวนจริงๆแล้ว ยอมใช้งานหมึกแท้ดีกว่า ซึ่งทางโรงเรียนดาราวิทยาลัย ก็พร้อมที่จะลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์ใหม่แทนเครื่องหมึกแทงค์เดิมที่เสื่อมสภาพไป"
       
       ปัจจุบันในโรงเรียนดาราวิทยาลัย มีการใช้งานเครื่องพิมพ์ทั้งหมด 181 เครื่อง เป็นเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทราว 57% หรือ 102 เครื่อง โดยเป็นเครื่องของเอชพี 24 เครื่อง และเป็นเครื่องพิมพ์ติดแทงค์ 55 เครื่อง ส่วนที่เหลือเป็นเครื่องพิมพ์เลเซอร์ โดยแนวโน้มในอนาคตทางโรงเรียนจะเปลี่ยนเครื่องพิมพ์แบบติดแทงค์มาใช้งานเป็นเครื่องพิมพ์แบบประหยัดน้ำหมึกของเอชพีแทน
       
       "ในการดำเนินการของฝ่ายบริหารโรงเรียน ต้องคำนวนถึงการหารายได้เพิ่ม และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้นจากการนำเครื่องพิมพ์มาทดลองใช้งานในครั้งนี้ พบว่าสามารถลดต้นทุนทางด้านการพิมพ์เอกสารได้ราว 11-15% จึงเห็นว่าเป็นทิศทางที่ดี"
       
       นายวัตสัน กล่าวทิ้งท้ายว่า ในการเลือกเครื่องพิมพ์มาใช้งานในภาคธุรกิจ ควรคำนวนให้เหมาะสมกับขนาด และปริมาณการใช้งาน เนื่องจากเครื่องพิมพ์ขนาดเล็กในรุ่น Deskjet ก็จะโดดเด่นที่การประหยัดน้ำหมึก ขณะที่ในซีรีส์ OfficeJet ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพในการพิมพ์ได้รวดเร็วขึ้น สุดท้ายคือซีรีส์ LaserJet สำหรับการพิมพ์ปริมาณมากๆ
       
       Company Relate Link :
       HP

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)