Author Topic: GISTDA ใช้เงิน 540 ล้านบาท ซื้อเรดาร์ชายฝั่ง  (Read 585 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      'อานนท์' ยันราคาจัดซื้อโครงการระบบเรดาร์ชายฝั่งเตือนภัยทางบกและทางทะเล 540 ล้านบาท ไม่สูงเกินจริง ใกล้เคียงกับที่กรมอุตุฯ จัดซื้อ ซึ่งผลดีของโครงการนี้ช่วยเตือนภัย STORM SURGE และเป็นข้อมูลประกอบในการเตือนภัย พยากรณ์ทิศทางพายุและคลื่นลมแรง การค้นหาผู้ประสบภัยทางทะเล
       
       นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดทำโครงการระบบเรดาร์ชายฝั่งเพื่อการเตือนภัยทางบกและทางทะเล โดยได้มีการจัดซื้อจำนวน 18 จุดซึ่งมีมูลค่ารวมประมาณ 540 ล้านบาทและเบื้องต้นได้จ่ายเงินไปแล้วงวดแรก 35% ของมูลค่ารวมทั้งโครงการและยังมีรอเบิกอีกจำนวนหนึ่งในตอนนี้ ส่วนการดำเนินการโครงการดังกล่าวในตอนนี้ดำเนินการไปแล้วกว่า 70%
       
       'การจัดซื้อโครงการดังกล่าวเฉลี่ยแล้วราคา 60 ล้านบาทต่อเครื่อง โดยรวมค่าบำรุงรักษา 2 ปี และจะเน้นครอบคลุมชายฝั่งอ่าวไทย เพื่อตรวจวัดกระแสน้ำและคลื่นในลักษณะเรียลไทม์ในการบริหารจัดการน้ำเป็นระบบ ครอบคลุมรวมถึงชายฝั่ง ซึ่งในปัจจุบัน GISTDA ติดตั้งเรดาร์ไปแล้วจำนวน 9-10 จุด ซึ่งคาดว่าจะติดตั้งแล้วเสร็จทั้งหมดสิ้นปี 55'
       
       นายอานนท์ กล่าวว่า ราคาที่จัดซื้อดังกล่าวถือว่าไม่แพง เพราะเป็นราคาใกล้เคียงกับราคาที่กรมอุตุฯซื้อเช่นเดียวกันแต่เป็นคนละระบบ แต่ที่เห็นว่าเป็นราคาสูงเนื่องจากตัวซอฟต์แวร์มีราคาแพง
       
       สำหรับโครงการดังกล่าว ทำให้สามารถเตือนภัยจากกรณีการเกิดสตรอม เซิร์จ (STORM SURGE) หรือปรากฏการณ์คลื่นที่เกิดขึ้นพร้อมกับพายุหมุนโซนร้อนล่วงหน้าภายใน 1-2 วัน และยังเตือนภัยเหตุที่ไม่รุนแรง อาทิ สามารถ ช่วยวิเคราะห์ทิศทางการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมัน กรณีเกิดน้ำมันรั่วไหลในทะเล (Oil Spill) ใช้เป็นข้อมูลประกอบในการเตือนภัย พยากรณ์ทิศทางพายุและคลื่นลมแรง การค้นหาผู้ประสบภัยทางทะเล ตลอดจนประยุกต์ใช้ประโยชน์ร่วมกับข้อมูลอื่นๆ เช่น ศึกษาแหล่งทำประมงและบริเวณที่มีสัตว์น้ำชุกชุม เป็นต้น
       
       ทั้งนี้การดำเนินงานตามโครงการพัฒนาระบบเรดาร์ชายฝั่่งเพื่อการเตือนภัยทางบกและทางทะเลจะมีขั้นตอนดังนี้ 1. ติดตั้งสถานีเรดาร์ที่เหมาะสมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยจำนวน 13 สถานีหลัก และ 5 สถานีย่อย 2. ติดตั้งระบบติดตามและบันทึกข้อมูลเรดาร์ชายฝั่งภาคพื้นดิน โดยข้อมูลที่ตรวจวัดประกอบไปด้วยข้อมูลคลื่นและกระแสน้ำในลักษณะเรียลไทม์ 3. สร้างแผนที่ของคลื่นและกระแสน้ำเพื่อให้ทราบรูปแบบทิศทางการไหลของมวลน้ำที่แน่นอน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและแจ้งเตือนภัยพื้นที่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ สังคม และเกษตรกรรมชายฝั่งได้ 4. การนำข้อมูลที่ได้มาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานภูมิสารสนเทศของประเทศเพื่อสนับ สนุนกระบวนการบริหารจัดการการเตือนภัย และตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
       
       อนึ่งโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์อุทกภัยปี 2554 ซึ่งทำให้มวลน้ำจืดปริมาณมากไหลผ่านแม่น้ำลงสู่อ่าวไทย ก่อให้เกิดปัญหาคุณภาพน้ำที่เปลี่ยนแปลง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเพาะเลี้ยงและพื้นที่เกษตรชายฝั่ง ซึ่งการดำเนินงานบริหารจัดการพื้นที่ส่วนนี้ยังขาดข้อมูลพื้นฐานในการป้องกันและแจ้งเตือนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ GISTDA จึงได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการ โครงการพัฒนาระบบเรดาร์ชายฝั่งเพื่อการ เตือนภัยทางบกและทางทะเล เพื่อให้มีระบบตรวจวัดข้อมูลคลื่นและกระแสน้ำที่ครอบคลุมและต่อเนื่องและ ตลอดเวลา ครอบคลุมพื้นที่ปากแม่น้ำรวมถึงชายฝั่งทะเลอุทกภัยระยะเร่งด่วน
       
       Company Related Link :
       สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)