Author Topic: Wi-max นวัตกรรมใหม่ โทรคมนาคมไทย  (Read 1235 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

>> กทช.หนุนเต็มที่ตั้งเป้าแจ้งเกิดปี 52

ยุคโลกไร้พรมแดน การติดต่อสื่อสารกันทั้งโลกดูจะง่ายนิดเดียว เพราะอินเตอร์เน็ตแค่คลิกเดียวโลกทั้งใบก็อยู่ในมือเราและในเวลานี้สิ่งที่กำลังกล่าวถึงกันมากที่สุดคือ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สายหรือ WI-MAX ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นในเมืองไทยในระยะเวลาอันใกล้นี้ โดยคณะกรรมการกำกับ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ได้คาดหวังว่าในปี 2552 นี้จะต้องเกิดให้ได้ นั่นหมายความว่าเทคโนโลยีด้านการสื่อสารของไทยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง

>> ที่มาของบริการ Wi-max

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2551 สำนักงานคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช.มีความพยายามพัฒนาอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย หรือ Wi-max มาอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2551 มีการประชุมพิจารณาในเรื่องนี้ และทางคณะกรรมการ กทช.มีมติรับทราบ รายงานการศึกษาวิเคราะห์ผลการทดลอง ให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย หรือ Wi-MAX และคาดหวังว่าภายในปี 2552 การให้บริการ Wi-MAX จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

จากการรับทราบรายงานการศึกษา วิเคราะห์ผลการทดลองให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย หรือ Wi-MAX ซึ่งมีผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตทดลองระบบนี้รวม 16 บริษัท โดยคณะกรรมการประเมินผลการทดลอง หรือทดสอบ Wi-MAX ทั้ง 3 คณะ ได้สรุปภาพรวมว่า ผลการทดลองโดยเฉพาะย่านความถี่ 2.3 และ 2.4 กิโลเฮิรตซ์ สามารถให้บริการในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะเห็นว่าย่านความถี่ 2.3 และ 2.4 กิโลเฮิรตซ์ เป็นย่านความถี่ที่เหมาะสมที่จะนำไปเปิดให้บริการ Wi-MAX ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปจัดทำแผน การจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการให้บริการ Wi-MAX เฉพาะในย่าน 2.3 และ 2.4 กิโลเฮิรตซ์โดยเร่งด่วน

ขณะที่พลเอกชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้ออกมายืนยัน ผลการทดลอง wi-max โดยเฉพาะในย่านความถี่ 2.3 และ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ว่า สามารถให้บริการในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีคุณภาพพอสมควร โดยไม่มีการรบกวน จึงเห็นว่าเป็นย่านความถี่ที่เหมาะสมที่จะนำมาเปิดให้บริการ wi-max ส่วน ผลการทดลองในย่านความถี่ 2.5-2.6 กิกะเฮิรตซ์ พบว่ายังมีการรบกวนของสัญญาณที่จะต้องพิจารณาในรายละเอียด อีกครั้ง

ด้านนายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร เลขาธิการ กทช. กล่าวว่า แผนแม่บทฉบับที่ 2 เป็นแผนเชิงรุกที่จะนำเอากิจการโทรคมนาคมใหม่ๆ นำเอากิจกรรมใหม่ๆ เอา บริการใหม่ๆ ทำบริการต่างๆ ให้ทั่วถึง อันนี้ก็เป็นเรื่องที่เน้นกันอยู่ในแผนแม่บทฉบับที่ 2 เพราะฉะนั้นปี 2551 เป็นช่วงที่เราทำงานวิเคราะห์ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น การวิเคราะห์นโยบายใหม่ๆ เช่น นโยบาย เรื่องใบอนุญาตใหม่ทางด้านโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เราเรียกกันว่า 3G หรือแม้กระทั่งใบอนุญาตใหม่สำหรับเทคโนโลยีใหม่ทางด้าน Wi-Max ซึ่ง Wi-Max ก็คือ Wi-Fi แต่เป็น Wi-Fi ที่มีพื้นที่กว้างขวางกว่า อีกเรื่องหนึ่งคือ Number Portability เรื่องนี้เป็นการคืนสิทธิให้แก่ผู้บริโภค ให้ผู้บริโภคได้มีสิทธิเลือกใช้บริการ เลือกใช้โครงข่ายที่ตัวเองต้องการได้ ภาย ใต้สิ่งที่ผู้ให้บริการเสนอคือหมายเลขเดียว ใช้ได้ทุกโครงข่าย

>> ‘Wi-max’ เปลี่ยนโลกใบนี้อย่างไรบ้าง

เริ่มที่ผู้ให้บริการ wi-max ช่วยสร้างโอกาสการสร้างรายได้ใหม่ๆ ผ่านบริการใหม่ๆ และโดดเด่น ทั้งยังสนับสนุน บริการต่างๆ ให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น และขยายขอบเขตการใช้ข้อมูลความเร็วสูงในตลาดเดิมและตลาดใหม่ให้ครอบคลุม กว้างขวางมากขึ้น

ผู้ใช้บริการ wi-max เป็นเทคโนโลยี ที่ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว มีความยืดหยุ่น และคุ้มค่าสูงสุด ทำให้ชุมชนต่างๆ สามารถ ใช้ระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย และถือเป็นทางเลือกใหม่ เพิ่มเติมจากระบบ dial-up ดีเอสแอล หรือเคเบิลโมเด็ม

หน่วยงานของรัฐ wi-max ช่วยให้ภาครัฐ เทศบาลหรือหน่วยรักษาความปลอดภัยในแต่ละพื้นที่สามารถสร้างความ คุ้มค่าสูงสุดและคุณประโยชน์นานัปการจากการเข้าใช้เครือข่าย WLAN อาทิ การ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของรัฐและระบบสาธารณูปโภค โดยสามารถย้ายสถานที่ทำงานไปไว้ในพื้นที่ต่างๆ ภายใต้ระบบรักษาความปลอดภัยที่มีเสถียรภาพ ในทุกจุดข้ามเครือข่าย ถ้าเป็นในเขตเมือง ประโยชน์ คือขยายขอบเขตการให้บริการ ของหน่วยงานของรัฐสนับสนุนการให้บริการของภาครัฐให้เข้าถึงพื้นที่ต่างๆ ได้มากขึ้น อำนวยความสะดวกในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ประจำในพื้นที่ ต่างๆ และช่วยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถ ให้บริการได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้นเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตผลในการดำเนินงานของภาครัฐแอพพลิเคชั่น อันทันสมัยต่างๆ อาทิ ระบบการอ่านมาตรวัดผ่านระบบไร้สายจะส่งข้อมูลที่อ่าน ได้กลับไปยังฝ่ายจัดทำบิลของระบบสาธารณูปโภคต่างๆ โดยตรง จึงช่วยประหยัดแรงงานในการออกไปอ่านและป้อนข้อมูล ด้านพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม

การติดตั้งระบบ wi-max ในเขตเมืองจะช่วยให้ชุมชนต่างๆ มีศักยภาพในการดึงดูดธุรกิจใหม่ๆ ประชากร และนักท่องเที่ยวให้เข้ามาใช้ชีวิตในชุมชนนั้นๆ ได้มากกว่าชุมชนที่ไม่ได้ติดตั้งเทคโนโลยีการสื่อสารแบบบรอดแบนด์ นอกจากนี้ wimax ยังทำให้ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่า กับระบบการสื่อสารแบบใช้สายในทุกที่ เพิ่มความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะและในบ้านโซลูชั่น wi-max จะทำให้แอพพลิเคชั่นดิจิตอล วิดีโอ มีความปลอดภัยในการใช้งานบนท้องถนนมากขึ้น โดยจะเชื่อมโยงการทำงานของกล้องวิดีโอ อุปกรณ์ตรวจจับคลื่น ศูนย์ปฏิบัติการในภาวะ เร่งด่วนและเจ้าหน้าที่ที่ออกไปทำงานในสนามเข้าไว้ด้วยกันอย่างราบรื่น รวมทั้งอำนวยความสะดวกในการเข้าใช้ข้อมูลทางด้านกระบวนการยุติธรรมในคดีความทางอาญา ระบบข้อมูลการเตือนภัย และ ระบบข้อมูลภาพเวลาจริง ในขณะเดินทาง จึงช่วยยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และรวดเร็วมากขึ้น ขจัดความเหลื่อมล้ำทางด้านเทคโนโลยี

โซลูชั่น wi-max ทำให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่เดิมไม่สามารถเข้าใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ หรือมีศักยภาพในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต บรอดแบนด์ในระดับต่ำ จะสามารถเข้าใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย และนำมาใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ หรือเพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือเพื่อเข้าใช้บริการอี-กัฟเวิร์นเมนต์และบริการทางสังคมอื่นๆ ได้ตามต้องการ

ทั้งหมดนี้ กทช.กำลังผลักดันอย่างเต็มที่ให้แล้วเสร็จภายในต้นปี 2552 เพื่อให้ประชาชนคนไทยสามารถใช้บริการได้ภายในปีนี้เช่นกัน ขณะที่ภาคเอกชนผู้ให้บริการก็กำลังรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ และ เตรียมที่จะพัฒนาเทคโนโลยีรองรับ พร้อม ทั้งการต่อยอดธุรกิจออกไป เพราะอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย หรือ wi-max เป็น นวัตกรรมใหม่ที่ท้าทายทั้งเอกชน ผู้ให้บริการ และประชาชนผู้ใช้บริการรวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ในการก้าวขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งของเทคโนโลยีโทรคมนาคมไทย


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)