Author Topic: โซนี่-พานาโซนิค “สาหัส” หุ้นดิ่งต่ำสุดรอบ 30 ปี  (Read 1046 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai




ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์แบรนด์ญี่ปุ่นอย่างโซนี่ (Sony) และพานาโซนิค (Panasonic) เข้าข่ายอาการสาหัส เพราะมูลค่าหุ้นกอดคอกันตกต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี หลังจากคาดว่าผลประกอบการของบริษัทอาจพลาดเป้าเพราะธุรกิจทีวีขาดทุนถล่มทลาย
       
       โซนี่เป็นผู้ผลิตโทรทัศน์อันดับ 3 ของโลกซึ่งมีชื่อทีวีบราเวีย (Bravia) และเครื่องเล่นเพลงวอล์กแมน (Walkman) การันตีความสำเร็จ ล่าสุดมูลค่าหุ้นโซนี่ลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่สิงหาคม 1980 ทำให้โซนี่มีมูลค่าตลาดราว 1.75 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับที่เคยมีมูลค่าตลาดสูงสุด 1 แสนล้านเหรียญในปี 2000
       
       ขณะที่พานาโซนิคซึ่งเป็นผู้ผลิตทีวีพลาสมารายใหญ่ที่สุดในโลกนั้น มูลค่าหุ้นตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่มกราคม 1978 ตามรายงานของสำนักบลูมเบิร์ก
       
       โซนี่และพานาโซนิคเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่ครองส่วนแบ่งตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคเบอร์ 1 ของญี่ปุ่น วิกฤตมูลค่าหุ้นตกต่ำของทั้งคู่เกิดขึ้นหลังจากธุรกิจทีวีต้องประสบภาวะขาดทุนเรื้อรังชนิดไม่มีทีท่าดีขึ้น ขณะเดียวกัน นักลงทุนจำนวนมากยังมองไม่เห็นโอกาสที่ธุรกิจทีวีจะฟื้นขึ้นมามีกำไรในปีนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการขาดผลิตภัณฑ์ที่ร้อนแรงในตลาด อย่างเช่นเครื่องเล่นแผ่นซีดี หรือ compact-disc player ที่ได้รับความนิยมมากในช่วงปี 80


วันนี้โซนี่และพานาโซนิคต้องเสียพื้นที่ในตลาดให้ผู้ผลิตจากเกาหลีใต้อย่างซัมซุง (Samsung Electronics) และแอลจี (LG Electronics) ซึ่งสามารถทำตลาดและความเชื่อมั่นได้ดีกว่าในตลาดทีวี ขณะเดียวกัน ตลาดเครื่องเล่นเพลงพกพาก็ถูกแอปเปิล (Apple) ที่ส่งเครื่องเล่นไอพอด (iPod) ลงสู่ตลาดจนสามารถโค่นผลิตภัณฑ์เครื่องเล่นรายอื่นได้อย่างราบคาบ
       
       ยูกิ ซากุระอิ ซีอีโอบริษัทวางแผนทางการเงินฟูกูกุ แคปปิตอล แมเนจเมนต์ (Fukoku Capital Management) วิเคราะห์ว่า วิกฤตที่เกิดขึ้นสะท้อนความจำเป็นของบริษัทญี่ปุ่นที่จะต้องพัฒนาสินค้าคุณภาพเยี่ยมที่มีเอกลักษณ์ให้ได้ จึงจะสามารถเติบโตในตลาดได้อย่างยั่งยืนในอนาคต ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีบริษัทญี่ปุ่นรายใดสามารถทำได้
       
       พานาโซนิคนั้นกำลังดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดและลดค่าใช้จ่ายด้วยการเลิกจ้างพนักงานกว่า 17,000 ตำแหน่งหลังจากประกาศภาวะขาดทุน 7 แสนล้านเยน (ราว 9.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เมื่อปีที่ผ่านมา ทั้งหมดนี้พานาโซนิคประเมินว่ายอดจำหน่ายโทรทัศน์ปีนี้อาจจะลดลง 11% เหลือ 15.5 ล้านเครื่อง ซึ่งจะทำให้ธุรกิจทีวีของบริษัทขาดทุนติดต่อกันเป็นปีที่ 5 ทั้งหมดนี้ทำให้ผลประกอบการโดยรวมของพานาโซนิคไม่เข้าเป้าที่ตั้งไว้
       
       นักวิเคราะห์มองว่าวิกฤตขาดทุนของพานาโซนิคนั้นเกิดจากโครงสร้างราคาที่ไม่เหมาะสม และความต้องการในตลาดที่ยังไม่สูง ขณะเดียวกัน การตั้งเป้าหมายของพานาโซนิคก็ควรจะกำหนดให้อยู่ในระดับที่เป็นไปได้จริง ซึ่งทั้งหมดนี้ ฟูมิโอะ อัตซึบุ (Fumio Ohtsubo) ยอมรับกับสื่อมวลชนว่าบริษัทได้ทุ่มเงินทุนในการวิจัยและพัฒนาทีวีพลาสมาและแอลซีดีในระดับที่ “มากเกินไป” และบริษัทรู้สึกเสียใจต่อการตัดสินใจที่เกิดขึ้นไปแล้ว โดยกำลังแก้ไขให้ดีที่สุด
       
       ไม่เพียงพานาโซนิค โซนี่ก็กำลังอยู่ระหว่างการเลิกจ้างพนักงานกว่า 10,000 ตำแหน่ง คิดเป็น 6% ของพนักงานโซนี่ทั้งหมด เพื่อปรับโครงสร้างบริษัทให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
       
       วิกฤตที่เกิดขึ้นแก่ผู้ผลิตญี่ปุ่นนั้นสวนทางกับผู้ผลิตในเกาหลีใต้อย่างซัมซุง บริษัทซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่เมืองซูวอน ประเทศเกาหลีใต้ และมีตำแหน่งผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ, ชิป และโทรทัศน์รายใหญ่ที่สุดในขณะนี้ มูลค่าหุ้นของซัมซุงเพิ่มขึ้นถึง 23% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ส่งให้มูลค่าตลาดของซัมซุงสูงสุดที่ 1.67 แสนล้านเหรียญในช่วงปีนี้
       
       ขณะที่แอปเปิล ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่เมืองคูเปอร์ติโน รัฐแคลิฟอร์เนีย มูลค่าตลาดของแอปเปิลในขณะนี้คือราว 5.30 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 40% ในตลาดหุ้นนิวยอร์กช่วงปีนี้
       
       อย่างไรก็ตาม ภาวะขาดทุนในตลาดทีวีนี้เกิดขึ้นสอดคล้องกับยอดจัดส่งทีวีที่ลดลงทั่วโลก โดยการสำรวจพบว่ายอดจัดส่งทีวีในปีที่ผ่านมานั้นลดลงครั้งแรกในรอบ 6 ปี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการกักตุนสินค้าคงคลังที่มากเกินไปในสหรัฐอเมริกาและยุโรป รวมถึงการสิ้นสุดการสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งข้อมูลของบริษัทวิจัยดิสเพลย์เสิร์ช (DisplaySearch) ในเครือบริษัทวิจัยเอ็นพีดี (NPD Group) พบว่ายอดจัดส่งทีวีโลกนั้นลดลง 0.3% เบ็ดเสร็จคือ 247.7 ล้านเครื่องในปีที่ผ่านมา
       
       แน่นอนว่าทั้งพานาโซนิคและโซนี่ต่างไม่ยอมแพ้ และพยายามปรับทัพเพื่อพลิกฟื้นให้บริษัทสามารถทำกำไรขึ้นมาอีกครั้ง โดยทั้งคู่ได้เปลี่ยนตัวผู้บริหารระดับสูงแบบยกทีม ซึ่งคาดว่าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีในอนาคต
       
       Company Related Link :
       Sony
       Panasonic

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)