Author Topic: ไซแมนเทคแนะจับตา 4 ภัยคุกคามหลัก  (Read 907 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      ไซแมนเทคเผยแนวโน้มภัยคุกคามเริ่มกระจายเข้าสู่องค์กรขนาดเล็ก รวมถึงอุปกรณ์พกพาสูญหายทำให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูล และมัลแวร์ผ่านเครือข่ายสังคมที่ใช้ความน่าเชื่อถือของเพื่อนในแวดวงเป็นจุดเผยแพร่ภัยคุกคาม
       
       ประมุท ศรีวิเชียร ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงภาพรวมภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตในช่วงปี 2554 ที่ผ่านมาว่ามีแนวโน้มการโจมตีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยทางไซแมนเทคได้มีการปิดกั้นการโจมตีที่เป็นอันตราย 5.5 พันล้านครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้น 81% เทียบกับปีก่อนหน้า
       
       ขณะเดียวกันยังพบว่าภัยคุกคามในรูปแบบมัลแวร์เพิ่มขึ้น 403 ล้านรูปแบบ การโจมตีเว็บไซต์เพิ่มขึ้น 4,597 ครั้ง หรือคิดเป็น 36% ต่อวัน อย่างไรก็ตาม ยังพบว่าการโจมตีรูปแบบใหม่ๆช่องโหว่ของระบบมีอัตราลดลง 20% เช่นเดียวกับจำนวนสแปมที่มีจำนวนลดลง 34%
       
       “แนวโน้มการโจมตีขั้นสูงแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมายจะกระจายตัวสู่องค์กรทุกขนาด ไม่เฉพาะภาครัฐ ภาคการเงิน หรือภาคอุตสาหกรรม มาเป็นการโจมตีองค์กรขนาดเล็กมากขึ้น โดยพบว่ามีถึง 18% ที่พุ่งโจมตีไปยังองค์กรที่มีพนักงานไม่ถึง 250 คน และยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”
       
       หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้การโจมตีองค์กรธุรกิจมีมากขึ้นคือการนำอุปกรณ์พกพามาใช้ในงานธุรกิจ ส่งผลให้เกิดภัยคุกคาม และมีช่องโหว่ที่เพิ่มขึ้นถึง 93% โดยปัญหาข้อมูลรั่วไหลทั้งปี 2554 มีข้อมูลรั่วไหล 232 ล้านรายการ ซึ่งจากจำนวนดังกล่าวมีการนำข้อมูลถึง 187 ล้านรายการมาเปิดเผย ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากอุปกรณ์พกพาสูญหายมากกว่า 80%
       
       ทั้งนี้ สถิติกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงภัยคุกคามจาก 251 ประเทศ 10 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐฯ จีน อินเดีย บราซิล เยอรมนี รัสเซีย อังกฤษ ไต้หวัน อิตาลี และอินโดนีเซีย ตามลำดับ โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 30 ซึ่งจากสถิติพบว่าประเทศไทยมีการโจมตีด้านฟิชชิ่ง (เว็บไซต์หลอกลวง) สูงขึ้น เช่นเดียวกับการโจมตีเครือข่าย และมัลแวร์ ในขณะที่การโจมตีรูปแบบอื่นอย่างการโจมตีผ่านหน้าเว็บไซต์ บอท สแปมมีอัตราลดลง
       
       ส่วนแนวโน้มรูปแบบการโจมตีผ่านมัลแวร์จะเปลี่ยนรูปแบบไปยังโซเชียลเน็ตเวิร์กมากขึ้น ซึ่งผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะไม่ค่อยให้ความระมัดระวังในการใช้งาน เนื่องจากมองว่าเป็นระบบที่ปลอดภัย และความน่าเชื่อถือของเพื่อนที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน
       
       เช่นเดียวกับการโจมตีผ่านอุปกรณ์พกพาที่เริ่มมีการโจมตีมากขึ้น ทั้งในส่วนของการแฝงตัวเข้ามาเพื่อสมัครใช้บริการข้อความสั้นทำให้เกิดรายได้จากผู้บริโภคจำนวนมาก รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว รวมถึงบัตรเครดิตที่อยู่ในบัญชีผู้ใช้ภายในสมาร์ทโฟน
       
       Company Relate Link :
       Symentec

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)